แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่างพระราชบัญญัติ
สุขภัณฑ์กะรัต
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ปรับปรุงแก้ไขจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป โดยมีข้อสังเกตในบทนิยามคำว่า “จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค” โดยเห็นควรให้ตัดข้อความว่า “และให้หมายความรวมถึงจุลินทรีย์ที่ทำลายจุลินทรีย์อื่นไม่ว่าด้วยประการใด ๆ” ออก คงเหลือนิยาม คำว่า “จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค หมายความว่า จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์ สัตว์ หรือพืช” เท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี (biological control) มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางแล้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้ตัดข้อความดังกล่าวออกด้วยแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ปรับปรุงบทนิยามเพื่อให้ความชัดเจนในการควบคุมปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ (ร่างมาตรา 3)
2. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการปุ๋ย” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์หนึ่งคน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดินหนึ่งคน ผู้แทนกรมวิชาการเกษตรสองคน ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์บริการหนึ่งคน ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตรหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยอย่างน้อยสามคนต้องเป็นเกษตรกร เป็นกรรมการ และให้ผู้แทนกรมวิชาการเกษตรคนหนึ่งเป็นเลขานุการ (ร่างมาตรา 4)
3. ให้คณะกรรมการปุ๋ยมีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นชอบแก่รัฐมนตรี หรืออธิบดี แล้วแต่กรณี ในเรื่อง
3.1 การอนุญาตการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า การขายปุ๋ย การนำเข้าปุ๋ย การส่งออกปุ๋ย การนำผ่านปุ๋ย การขึ้นทะเบียนปุ๋ย และการเพิกถอนทะเบียนปุ๋ย ตลอดจนการพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
3.2 การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า การขายปุ๋ย การนำเข้าปุ๋ย การส่งออกปุ๋ย การนำผ่านปุ๋ย การนำปุ๋ยมาเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ กรรมวิธีการตรวจสอบหรือการวิเคราะห์ปุ๋ย การตรวจสอบสถานที่ผลิตปุ๋ย สถานที่ขายปุ๋ย สถานที่นำเข้าปุ๋ย สถานที่ส่งออกปุ๋ย และสถานที่เก็บปุ๋ย และการกำหนดห้องทดลองปุ๋ย (ร่างมาตรา 6) ฯลฯ
4. ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อการค้า ขาย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านปุ๋ยเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 7)
5. กำหนดให้การประกอบกิจการเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรัพย์อยู่ในระบบการอนุญาต และแก้ไขเพิ่มเติมการอนุญาตประเภทและอายุของใบอนุญาต รวมทั้งหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 7 ถึงร่างมาตรา 15)
6. กำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับปุ๋ย โดยห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตผลิตหรือขายปุ๋ยนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต หรือผลิตหรือนำเข้าปุ๋ยไม่ตรงตามใบสำคัญการขึ้นทะเบียน (ร่างมาตรา 12)
7. ปรับปรุงการควบคุมคุณภาพปุ๋ยให้ครอบคลุมถึงปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ โดยกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อการค้า ขาย หรือนำเข้าปุ๋ย ดังต่อไปนี้
(1) ปุ๋ยปลอม
(2) ปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน
(3) ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ เว้นแต่กรณีตามมาตรา 13
(4) ปุ๋ยชีวภาพต่ำกว่าเกณฑ์ หรือปุ๋ยอินทรีย์ต่ำกว่าเกณฑ์
(5) ปุ๋ยที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้
(6) ปุ๋ยที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียน
(7) ปุ๋ยที่มีสารเป็นพิษเกินกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
และกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพไว้ในครอบครองต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และหากประสงค์จะต้องขายต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (ร่างมาตรา 18)
8. ปรับปรุงประกาศ การขึ้นทะเบียน และการโฆษณาเกี่ยวกับปุ๋ยให้ครอบคลุมถึงปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์โดยกำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการปุ๋ยมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยกำหนดห้ามการส่งออกปุ๋ยชนิดใด ๆ ได้ ในกรณีที่ในประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยชนิดนั้น (ร่างมาตรา 23)
9. แก้ไขใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยจากเดิมที่กำหนดให้มีแต่เฉพาะในปุ๋ยเคมีเป็นให้ครอบคลุมถึงปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ และกำหนดให้สามารถต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยได้ครั้งละห้าปี (ร่างมาตรา 28)
10. เพิ่มบทเฉพาะกาลโดยกำหนดให้คณะกรรมการปุ๋ยตามกฎหมายว่าด้วยปุ๋ยเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการปุ๋ยชุดใหม่ แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 38) และกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์เดิมยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขึ้นทะเบียนปุ๋ยภายในระยะเวลาที่กำหนด และให้ประกอบกิจการเดิมต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งให้ทราบถึงการไม่อนุญาตหรือการไม่รับขึ้นทะเบียน (ร่างมาตรา 40)
11. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 42)
12. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขาย ผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่านปุ๋ย รวมทั้งใบแทน และใบสำคัญไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป โดยมีข้อสังเกตในบทนิยามคำว่า “จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค” โดยเห็นควรให้ตัดข้อความว่า “และให้หมายความรวมถึงจุลินทรีย์ที่ทำลายจุลินทรีย์อื่นไม่ว่าด้วยประการใด ๆ” ออก คงเหลือนิยาม คำว่า “จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค หมายความว่า จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์ สัตว์ หรือพืช” เท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี (biological control) มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางแล้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้ตัดข้อความดังกล่าวออกด้วยแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ปรับปรุงบทนิยามเพื่อให้ความชัดเจนในการควบคุมปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ (ร่างมาตรา 3)
2. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการปุ๋ย” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์หนึ่งคน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดินหนึ่งคน ผู้แทนกรมวิชาการเกษตรสองคน ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์บริการหนึ่งคน ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตรหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยอย่างน้อยสามคนต้องเป็นเกษตรกร เป็นกรรมการ และให้ผู้แทนกรมวิชาการเกษตรคนหนึ่งเป็นเลขานุการ (ร่างมาตรา 4)
3. ให้คณะกรรมการปุ๋ยมีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นชอบแก่รัฐมนตรี หรืออธิบดี แล้วแต่กรณี ในเรื่อง
3.1 การอนุญาตการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า การขายปุ๋ย การนำเข้าปุ๋ย การส่งออกปุ๋ย การนำผ่านปุ๋ย การขึ้นทะเบียนปุ๋ย และการเพิกถอนทะเบียนปุ๋ย ตลอดจนการพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
3.2 การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า การขายปุ๋ย การนำเข้าปุ๋ย การส่งออกปุ๋ย การนำผ่านปุ๋ย การนำปุ๋ยมาเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ กรรมวิธีการตรวจสอบหรือการวิเคราะห์ปุ๋ย การตรวจสอบสถานที่ผลิตปุ๋ย สถานที่ขายปุ๋ย สถานที่นำเข้าปุ๋ย สถานที่ส่งออกปุ๋ย และสถานที่เก็บปุ๋ย และการกำหนดห้องทดลองปุ๋ย (ร่างมาตรา 6) ฯลฯ
4. ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อการค้า ขาย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านปุ๋ยเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 7)
5. กำหนดให้การประกอบกิจการเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรัพย์อยู่ในระบบการอนุญาต และแก้ไขเพิ่มเติมการอนุญาตประเภทและอายุของใบอนุญาต รวมทั้งหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 7 ถึงร่างมาตรา 15)
6. กำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับปุ๋ย โดยห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตผลิตหรือขายปุ๋ยนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต หรือผลิตหรือนำเข้าปุ๋ยไม่ตรงตามใบสำคัญการขึ้นทะเบียน (ร่างมาตรา 12)
7. ปรับปรุงการควบคุมคุณภาพปุ๋ยให้ครอบคลุมถึงปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ โดยกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อการค้า ขาย หรือนำเข้าปุ๋ย ดังต่อไปนี้
(1) ปุ๋ยปลอม
(2) ปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน
(3) ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ เว้นแต่กรณีตามมาตรา 13
(4) ปุ๋ยชีวภาพต่ำกว่าเกณฑ์ หรือปุ๋ยอินทรีย์ต่ำกว่าเกณฑ์
(5) ปุ๋ยที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้
(6) ปุ๋ยที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียน
(7) ปุ๋ยที่มีสารเป็นพิษเกินกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
และกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพไว้ในครอบครองต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และหากประสงค์จะต้องขายต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (ร่างมาตรา 18)
8. ปรับปรุงประกาศ การขึ้นทะเบียน และการโฆษณาเกี่ยวกับปุ๋ยให้ครอบคลุมถึงปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์โดยกำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการปุ๋ยมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยกำหนดห้ามการส่งออกปุ๋ยชนิดใด ๆ ได้ ในกรณีที่ในประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยชนิดนั้น (ร่างมาตรา 23)
9. แก้ไขใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยจากเดิมที่กำหนดให้มีแต่เฉพาะในปุ๋ยเคมีเป็นให้ครอบคลุมถึงปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ และกำหนดให้สามารถต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยได้ครั้งละห้าปี (ร่างมาตรา 28)
10. เพิ่มบทเฉพาะกาลโดยกำหนดให้คณะกรรมการปุ๋ยตามกฎหมายว่าด้วยปุ๋ยเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการปุ๋ยชุดใหม่ แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 38) และกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์เดิมยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขึ้นทะเบียนปุ๋ยภายในระยะเวลาที่กำหนด และให้ประกอบกิจการเดิมต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งให้ทราบถึงการไม่อนุญาตหรือการไม่รับขึ้นทะเบียน (ร่างมาตรา 40)
11. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 42)
12. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขาย ผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่านปุ๋ย รวมทั้งใบแทน และใบสำคัญไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--