แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
การประปาส่วนภูมิภาค
มหาวิทยาลัยบูรพา
กระทรวงมหาดไทย
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับอัตราค่าน้ำที่สำนักงานประปาภูเก็ต ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. กำหนดอัตราค่าน้ำเฉลี่ยของสำนักงานประปาภูเก็ต ณ ปี 2549 เท่ากับ 19.99 บาท/ลบ.ม. และปรับอัตราค่าน้ำทุก 5 ปี เพื่อทำให้มีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) เท่ากับร้อยละ 3 ในช่วง 15 ปี
2. ปรับโครงสร้างอัตราค่าน้ำที่ทำให้อัตราค่าน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 19.99 บาท/ลบ.ม. คือ
2.1 ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 (ที่อยู่อาศัย) ไม่ปรับราคา และให้ใช้น้ำไม่เกิน 100 ลบ.ม./เดือน
2.2 ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 (ราชการ และธุรกิจขนาดเล็ก) ไม่ปรับราคาสำหรับการใช้น้ำที่ใช้น้ำไม่เกิน 100 ลบ.ม./เดือน และปรับราคาใหม่สำหรับการใช้น้ำมากกว่า 100 ลบ.ม./เดือน ประเภทนี้จะให้ใช้น้ำไม่เกิน 300 ลบ.ม./เดือน
อัตราค่าน้ำต่ำสุด 09.00 บาท/ลบ.ม.
อัตราค่าน้ำสูงสุด 22.25 บาท/ลบ.ม.
2.3 ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 3 (รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม และธุรกิจขนาดใหญ่) ปรับใหม่
อัตราค่าน้ำต่ำสุด 13.00 บาท/ลบ.ม.
อัตราค่าน้ำสูงสุด 32.25 บาท/ลบ.ม.
กระทรวงมหาดไทย (การประปาส่วนภูมิภาค) รายงานว่า
1. ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่อำเภอถลาง จ.ภูเก็ต เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวของชุมชนประมาณร้อยละ 9.5 ประกอบกับกรมชลประทานกำลังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาเป็นอ่างเก็บน้ำที่ 2 ของเกาะภูเก็ตด้วย ดังนั้นในปี 2549 กปภ. จึงดำเนินโครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาขนาดกำลังการผลิต 12,000 ลบ.ม./วัน ขึ้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำที่กรมชลประทานกำลังก่อสร้างใหม่ใช้วงเงินลงทุน 142 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้เงินงบประมาณร้อยละ 75 และเงินรายได้ร้อยละ 25 มีระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี
2. ปัจจุบันสำนักงานประปาภูเก็ตมีกำลังการผลิตรวม 34,000 ลบ.ม./วัน เป็นระบบผลิตของ กปภ. ขนาด 24,000 ลบ.ม./วัน ใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำบางวาดร่วมกับการประปาของเทศบาลเมืองภูเก็ตในสัดส่วน 50:50 และรับซื้อน้ำตามสัญญาจากบริษัท R.E.Q. Water Service Co.,Ltd. 10,000 ลบ.ม./วัน
3. ในปี 2548 สำนักงานประปาภูเก็ต มีจำนวนผู้ใช้น้ำรวม 22,085 ราย ปริมาณน้ำจำหน่าย เท่ากับ 9.80 ล้าน ลบ.ม. หรือ 26,850 ลบ.ม./วัน ปริมาณน้ำผลิตเท่ากับ 12.73 ล้าน ลบ.ม./ หรือ 34,880 ลบ.ม./วัน อัตราน้ำสูญเสียร้อยละ 23.04
สำหรับต้นทุนค่าน้ำของสำนักงานประปาภูเก็ต ปี 2548 เฉลี่ยเท่ากับ 10.34 บาท/ลบ.ม. และมีรายได้ค่าน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 14.38 บาท/ลบ.ม. และเมื่อรวมรายได้ค่าบริการ รายได้ค่าติดตั้ง และอื่น ๆ ด้วย จะทำให้รายได้รวมเฉลี่ยของสำนักงานประปาภูเก็ตเท่ากับ 16.00 บาท / ลบ.ม. ในปี 2548 สำนักงานประปาภูเก็ตมีกำไรสุทธิเท่ากับ 55.47 ล้านบาท หรือเท่ากับ 5.66 บาท/ลบ.ม. กำไรของสำนักงานประปาภูเก็ตถูกนำไปชดเชยในพื้นที่ของสำนักงานประปาที่ขาดทุนจากการขายน้ำต่ำกว่าต้นทุน
4. กปภ. ได้วิเคราะห์ว่า สำนักงานประปาภูเก็ตจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างระบบผลิตเพิ่มขึ้น มีการลงทุนเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำโดยการลงทุนวางท่อส่งน้ำดิบ มีการรับซื้อน้ำประปาระบบผิวดินจากเอกชนเพิ่มขึ้นจาก 10,000 เป็น 16,000 ลบ.ม./วัน และรับซื้อน้ำระบบ RO 12,000 ลบ.ม./วัน ในอัตรา ลบ.ม. ละ 10.17 บาท และ 39.80 บาท ตามลำดับ (ราคา ณ ปี 2549 และปรับเพิ่มตามอัตราเงินเฟ้อทุกปี) ส่วนการประมาณการค่าใช้จ่ายอื่น (ค่าบุคลากร ค่าไฟฟ้า ค่าวัสดุ ดำเนินการและอื่นๆ) จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นและตามอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนค่าน้ำในปี 2549 ของสำนักงานประปาภูเก็ตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การที่ กปภ. รับซื้อน้ำจากเอกชนเพิ่มขึ้นตามสัญญาในช่วง 15 ปี โดยยังคงจำหน่ายน้ำตามอัตราค่าน้ำปัจจุบันซึ่งมีโครงสร้างอัตราค่าน้ำประปาระหว่าง 7.75-21.75 บาท/ลบ.ม. จะทำให้มีรายได้ค่าน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 14.38 บาท/ลบ.ม. ส่งผลให้สำนักงานประปาภูเก็ตมีกำไรสุทธิในปี 2549 ประมาณ 12 ล้านบาท และในปี 2550 จะขาดทุนประมาณ 120 ล้านบาท และจะขาดทุนในช่วง 15 ปี ประมาณ 979 ล้านบาท (มูลค่า ณ ปี 2549) หากไม่มีการปรับค่าน้ำ
5. คณะกรรมการ กปภ. ในการประชุม เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 ได้มีมติอนุมัติให้ กปภ. ปรับอัตราค่าน้ำของสำนักงานประปาภูเก็ตเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนตามข้อเสนอ
6. สำนักงานประปาภูเก็ตมีผู้ใช้น้ำปี 2548 จำนวน 24,224 ราย การปรับอัตราค่าน้ำจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำของสำนักงานประปาภูเก็ตเพียง 4,209 ราย คิดเป็นร้อยละ 17 ของผู้ใช้น้ำทั้งหมด สรุปได้ดังนี้
ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าน้ำ
ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 ที่ใช้น้ำมากกว่า 100 ลบ.ม./เดือน มีจำนวน 356 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 ทั้งหมด จำนวน 2,197 ราย
ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 3 ทุกราย จำนวน 3,853 ราย
7. กปภ. ได้วิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบผู้ใช้น้ำที่ประกอบธุรกิจโรงแรม บังกะโล หรือ รีสอร์ท จากข้อมูลระยะเวลาเฉลี่ยในการพักแรม จำนวนนักท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวัน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปี 2547 พบว่าค่าน้ำที่สถานพักแรมจ่ายต่อแห่งต่อเดือนตามอัตราค่าน้ำปัจจุบันของ กปภ. เฉลี่ยประมาณ 52,752 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.04 ของรายได้ค่าที่พักของสถานพักแรม และหาก กปภ. ปรับอัตราค่าน้ำจะทำให้สถานที่พักแรมต้องจ่ายค่าน้ำเพิ่มขึ้นต่อเดือนเป็น 78,219 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.03 ของรายได้ค่าที่พักของสถานพักแรม หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาสถานที่พักแรมมีการซื้อน้ำดิบจากรถบรรทุกน้ำในราคา ลบ.ม. ละ 100 -200 บาท เพื่อนำไปผลิตน้ำประปาบริการนักท่องเที่ยวในช่วงขาดแคลนน้ำอีกด้วย
8. กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบการปรับอัตราค่าน้ำของสำนักงานประปาภูเก็ตแล้ว และได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549 แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ กปภ. ชุดใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิการยน 2549 กระทรวงมหาดไทยจึงให้คณะกรรมการ กปภ. ชุดใหม่พิจารณาทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง ซึ่งคณะกรรมการ กปภ. ชุดใหม่ มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ให้ กปภ. ติดตามการปรับอัตราค่าน้ำเฉลี่ยของสำนักงานประปาภูเก็ตเท่ากับ 19.99 บาท/ลบ.ม. และให้ กปภ. เสนอการปรับอัตราค่าน้ำของสำนักงานประปาภูเก็ตตามมติคณะกรรมการ กปภ. ชุดเก่า โดยให้เสนอพร้อมกับการปรับอัตราค่าน้ำของสำนักงานประปา 226 แห่ง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา 2 เรื่องพร้อมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. กำหนดอัตราค่าน้ำเฉลี่ยของสำนักงานประปาภูเก็ต ณ ปี 2549 เท่ากับ 19.99 บาท/ลบ.ม. และปรับอัตราค่าน้ำทุก 5 ปี เพื่อทำให้มีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) เท่ากับร้อยละ 3 ในช่วง 15 ปี
2. ปรับโครงสร้างอัตราค่าน้ำที่ทำให้อัตราค่าน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 19.99 บาท/ลบ.ม. คือ
2.1 ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 (ที่อยู่อาศัย) ไม่ปรับราคา และให้ใช้น้ำไม่เกิน 100 ลบ.ม./เดือน
2.2 ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 (ราชการ และธุรกิจขนาดเล็ก) ไม่ปรับราคาสำหรับการใช้น้ำที่ใช้น้ำไม่เกิน 100 ลบ.ม./เดือน และปรับราคาใหม่สำหรับการใช้น้ำมากกว่า 100 ลบ.ม./เดือน ประเภทนี้จะให้ใช้น้ำไม่เกิน 300 ลบ.ม./เดือน
อัตราค่าน้ำต่ำสุด 09.00 บาท/ลบ.ม.
อัตราค่าน้ำสูงสุด 22.25 บาท/ลบ.ม.
2.3 ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 3 (รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม และธุรกิจขนาดใหญ่) ปรับใหม่
อัตราค่าน้ำต่ำสุด 13.00 บาท/ลบ.ม.
อัตราค่าน้ำสูงสุด 32.25 บาท/ลบ.ม.
กระทรวงมหาดไทย (การประปาส่วนภูมิภาค) รายงานว่า
1. ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่อำเภอถลาง จ.ภูเก็ต เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวของชุมชนประมาณร้อยละ 9.5 ประกอบกับกรมชลประทานกำลังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาเป็นอ่างเก็บน้ำที่ 2 ของเกาะภูเก็ตด้วย ดังนั้นในปี 2549 กปภ. จึงดำเนินโครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาขนาดกำลังการผลิต 12,000 ลบ.ม./วัน ขึ้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำที่กรมชลประทานกำลังก่อสร้างใหม่ใช้วงเงินลงทุน 142 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้เงินงบประมาณร้อยละ 75 และเงินรายได้ร้อยละ 25 มีระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี
2. ปัจจุบันสำนักงานประปาภูเก็ตมีกำลังการผลิตรวม 34,000 ลบ.ม./วัน เป็นระบบผลิตของ กปภ. ขนาด 24,000 ลบ.ม./วัน ใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำบางวาดร่วมกับการประปาของเทศบาลเมืองภูเก็ตในสัดส่วน 50:50 และรับซื้อน้ำตามสัญญาจากบริษัท R.E.Q. Water Service Co.,Ltd. 10,000 ลบ.ม./วัน
3. ในปี 2548 สำนักงานประปาภูเก็ต มีจำนวนผู้ใช้น้ำรวม 22,085 ราย ปริมาณน้ำจำหน่าย เท่ากับ 9.80 ล้าน ลบ.ม. หรือ 26,850 ลบ.ม./วัน ปริมาณน้ำผลิตเท่ากับ 12.73 ล้าน ลบ.ม./ หรือ 34,880 ลบ.ม./วัน อัตราน้ำสูญเสียร้อยละ 23.04
สำหรับต้นทุนค่าน้ำของสำนักงานประปาภูเก็ต ปี 2548 เฉลี่ยเท่ากับ 10.34 บาท/ลบ.ม. และมีรายได้ค่าน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 14.38 บาท/ลบ.ม. และเมื่อรวมรายได้ค่าบริการ รายได้ค่าติดตั้ง และอื่น ๆ ด้วย จะทำให้รายได้รวมเฉลี่ยของสำนักงานประปาภูเก็ตเท่ากับ 16.00 บาท / ลบ.ม. ในปี 2548 สำนักงานประปาภูเก็ตมีกำไรสุทธิเท่ากับ 55.47 ล้านบาท หรือเท่ากับ 5.66 บาท/ลบ.ม. กำไรของสำนักงานประปาภูเก็ตถูกนำไปชดเชยในพื้นที่ของสำนักงานประปาที่ขาดทุนจากการขายน้ำต่ำกว่าต้นทุน
4. กปภ. ได้วิเคราะห์ว่า สำนักงานประปาภูเก็ตจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างระบบผลิตเพิ่มขึ้น มีการลงทุนเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำโดยการลงทุนวางท่อส่งน้ำดิบ มีการรับซื้อน้ำประปาระบบผิวดินจากเอกชนเพิ่มขึ้นจาก 10,000 เป็น 16,000 ลบ.ม./วัน และรับซื้อน้ำระบบ RO 12,000 ลบ.ม./วัน ในอัตรา ลบ.ม. ละ 10.17 บาท และ 39.80 บาท ตามลำดับ (ราคา ณ ปี 2549 และปรับเพิ่มตามอัตราเงินเฟ้อทุกปี) ส่วนการประมาณการค่าใช้จ่ายอื่น (ค่าบุคลากร ค่าไฟฟ้า ค่าวัสดุ ดำเนินการและอื่นๆ) จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นและตามอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนค่าน้ำในปี 2549 ของสำนักงานประปาภูเก็ตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การที่ กปภ. รับซื้อน้ำจากเอกชนเพิ่มขึ้นตามสัญญาในช่วง 15 ปี โดยยังคงจำหน่ายน้ำตามอัตราค่าน้ำปัจจุบันซึ่งมีโครงสร้างอัตราค่าน้ำประปาระหว่าง 7.75-21.75 บาท/ลบ.ม. จะทำให้มีรายได้ค่าน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 14.38 บาท/ลบ.ม. ส่งผลให้สำนักงานประปาภูเก็ตมีกำไรสุทธิในปี 2549 ประมาณ 12 ล้านบาท และในปี 2550 จะขาดทุนประมาณ 120 ล้านบาท และจะขาดทุนในช่วง 15 ปี ประมาณ 979 ล้านบาท (มูลค่า ณ ปี 2549) หากไม่มีการปรับค่าน้ำ
5. คณะกรรมการ กปภ. ในการประชุม เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 ได้มีมติอนุมัติให้ กปภ. ปรับอัตราค่าน้ำของสำนักงานประปาภูเก็ตเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนตามข้อเสนอ
6. สำนักงานประปาภูเก็ตมีผู้ใช้น้ำปี 2548 จำนวน 24,224 ราย การปรับอัตราค่าน้ำจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำของสำนักงานประปาภูเก็ตเพียง 4,209 ราย คิดเป็นร้อยละ 17 ของผู้ใช้น้ำทั้งหมด สรุปได้ดังนี้
ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าน้ำ
ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 ที่ใช้น้ำมากกว่า 100 ลบ.ม./เดือน มีจำนวน 356 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 ทั้งหมด จำนวน 2,197 ราย
ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 3 ทุกราย จำนวน 3,853 ราย
7. กปภ. ได้วิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบผู้ใช้น้ำที่ประกอบธุรกิจโรงแรม บังกะโล หรือ รีสอร์ท จากข้อมูลระยะเวลาเฉลี่ยในการพักแรม จำนวนนักท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวัน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปี 2547 พบว่าค่าน้ำที่สถานพักแรมจ่ายต่อแห่งต่อเดือนตามอัตราค่าน้ำปัจจุบันของ กปภ. เฉลี่ยประมาณ 52,752 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.04 ของรายได้ค่าที่พักของสถานพักแรม และหาก กปภ. ปรับอัตราค่าน้ำจะทำให้สถานที่พักแรมต้องจ่ายค่าน้ำเพิ่มขึ้นต่อเดือนเป็น 78,219 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.03 ของรายได้ค่าที่พักของสถานพักแรม หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาสถานที่พักแรมมีการซื้อน้ำดิบจากรถบรรทุกน้ำในราคา ลบ.ม. ละ 100 -200 บาท เพื่อนำไปผลิตน้ำประปาบริการนักท่องเที่ยวในช่วงขาดแคลนน้ำอีกด้วย
8. กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบการปรับอัตราค่าน้ำของสำนักงานประปาภูเก็ตแล้ว และได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549 แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ กปภ. ชุดใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิการยน 2549 กระทรวงมหาดไทยจึงให้คณะกรรมการ กปภ. ชุดใหม่พิจารณาทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง ซึ่งคณะกรรมการ กปภ. ชุดใหม่ มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ให้ กปภ. ติดตามการปรับอัตราค่าน้ำเฉลี่ยของสำนักงานประปาภูเก็ตเท่ากับ 19.99 บาท/ลบ.ม. และให้ กปภ. เสนอการปรับอัตราค่าน้ำของสำนักงานประปาภูเก็ตตามมติคณะกรรมการ กปภ. ชุดเก่า โดยให้เสนอพร้อมกับการปรับอัตราค่าน้ำของสำนักงานประปา 226 แห่ง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา 2 เรื่องพร้อมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--