แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
นายกรัฐมนตรี
โรงแรมคอนราด
มหาวิทยาลัย
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานฯ ดังนี้
1.เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ โดยปรับเปลี่ยนจากการให้การสนับสนุนในรูป “ทุนการศึกษา” เป็นการสนับสนุน “หลักสูตรการศึกษา” ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. กำหนดระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ ขั้นต้นเป็นเวลา 5 ปี และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประเมินผลโครงการฯ เมื่อสิ้นปีที่ 3 เพื่อนำผลการประเมินที่ได้มาประกอบการพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มค่าในการพัฒนา ปรับปรุง ขยาย หรือยุติโครงการฯ รวมทั้งอาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงการจากการพัฒนาหลักสูตรพิเศษมาเป็นการนำเอาประสบการณ์ที่ได้จากโครงการฯ นี้ มาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยทั่วไป
3. หลังจากการประเมิน หากพิจารณาเห็นควรให้มีการปรับปรุงรูปแบบของโครงการนี้ให้เหมาะสมมากขึ้นก็ให้สำนักงบประมาณให้การสนับสนุนงบประมาณต่อไป
4. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปประกอบการดำเนินโครงการฯ ต่อไปด้วย
โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย มีสาระสำคัญดังนี้
วัตถุประสงค์
1. สนับสนุนการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยร่วมมือกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
2. สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และขยายฐานการศึกษาออกไปในวงกว้าง
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แนวทางการดำเนินงาน
1. สนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยนำร่อง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการเป็นผู้สนับสนุนจัดตั้งและดูแลห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก รวมทั้งกำหนดนโยบาย รูปแบบ และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน โดยมีคณะกรรมการกลางดูแลนโยบายในภาพรวม และคณะหรือภาควิชาที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยนั้นให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่ การอบรมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรผู้สอนของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ร่วมพัฒนาหลักสูตร ร่วมจัดการเรียนการสอน ร่วมจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งผู้เรียนและผู้สอนกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งเป็นต้นแบบของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของประเทศ และสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ เป็นต้น โดยในปีแรกกำหนดให้โรงเรียนแต่ละแห่งมี 1 ห้องเรียนและจะทยอยเพิ่มจำนวนห้องเรียนจนครบ 5 ห้องภายใน 7 ปี โดยมีนักเรียน 30 คนต่อห้อง ทั้งนี้ จำนวนนักเรียนต่อห้องจะน้อยกว่าห้องเรียนทั่วไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียน การสอน และผู้เรียนมีโอกาสได้ศึกษาด้านปฏิบัติการทดลองจริงอย่างทั่วถึง (โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีนักเรียนต่อห้องจำนวน 24 คน) โดยนักเรียนรุ่นแรกจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ณ สิ้นปีที่ 7 จำนวน 120 คน)
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้การสนับสนุนในรูปของทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบ่งทุนเป็น 2 ระดับ คือ ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและทุนศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศ เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดกำลังคนจากฐานห้องเรียนวิทยาศาสตร์ดังกล่าวให้ไปสู่การสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบวิจัยและพัฒนาของประเทศตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมส่งเสริม/ทักษะความสามารถด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ และโครงการวิจัย เป็นต้น
ระยะเวลาดำเนินงาน
โครงการนี้จะให้การสนับสนุนการผลิตนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด จำนวน 7 รุ่น ระยะเวลาดำเนินการรวมทั้งสิ้น 13 ปี ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 — 2563 โดยในระยะแรกจะดำเนินการนำร่องตามช่วงระยะเวลาของการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และจะมีการประเมินผลเพื่อทบทวนโครงการ ทั้งนี้ หากประสบผลสำเร็จก็จะขยายจำนวนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ หรือเพิ่มการสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี หรือเพิ่มโอกาสให้มหาวิทยาลัยอื่นเข้าร่วมโครงการด้วย เพื่อให้เกิดความหลากหลายในแขนงวิชาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
1.เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ โดยปรับเปลี่ยนจากการให้การสนับสนุนในรูป “ทุนการศึกษา” เป็นการสนับสนุน “หลักสูตรการศึกษา” ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. กำหนดระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ ขั้นต้นเป็นเวลา 5 ปี และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประเมินผลโครงการฯ เมื่อสิ้นปีที่ 3 เพื่อนำผลการประเมินที่ได้มาประกอบการพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มค่าในการพัฒนา ปรับปรุง ขยาย หรือยุติโครงการฯ รวมทั้งอาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงการจากการพัฒนาหลักสูตรพิเศษมาเป็นการนำเอาประสบการณ์ที่ได้จากโครงการฯ นี้ มาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยทั่วไป
3. หลังจากการประเมิน หากพิจารณาเห็นควรให้มีการปรับปรุงรูปแบบของโครงการนี้ให้เหมาะสมมากขึ้นก็ให้สำนักงบประมาณให้การสนับสนุนงบประมาณต่อไป
4. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปประกอบการดำเนินโครงการฯ ต่อไปด้วย
โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย มีสาระสำคัญดังนี้
วัตถุประสงค์
1. สนับสนุนการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยร่วมมือกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
2. สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และขยายฐานการศึกษาออกไปในวงกว้าง
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แนวทางการดำเนินงาน
1. สนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยนำร่อง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการเป็นผู้สนับสนุนจัดตั้งและดูแลห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก รวมทั้งกำหนดนโยบาย รูปแบบ และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน โดยมีคณะกรรมการกลางดูแลนโยบายในภาพรวม และคณะหรือภาควิชาที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยนั้นให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่ การอบรมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรผู้สอนของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ร่วมพัฒนาหลักสูตร ร่วมจัดการเรียนการสอน ร่วมจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งผู้เรียนและผู้สอนกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งเป็นต้นแบบของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของประเทศ และสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ เป็นต้น โดยในปีแรกกำหนดให้โรงเรียนแต่ละแห่งมี 1 ห้องเรียนและจะทยอยเพิ่มจำนวนห้องเรียนจนครบ 5 ห้องภายใน 7 ปี โดยมีนักเรียน 30 คนต่อห้อง ทั้งนี้ จำนวนนักเรียนต่อห้องจะน้อยกว่าห้องเรียนทั่วไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียน การสอน และผู้เรียนมีโอกาสได้ศึกษาด้านปฏิบัติการทดลองจริงอย่างทั่วถึง (โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีนักเรียนต่อห้องจำนวน 24 คน) โดยนักเรียนรุ่นแรกจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ณ สิ้นปีที่ 7 จำนวน 120 คน)
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้การสนับสนุนในรูปของทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบ่งทุนเป็น 2 ระดับ คือ ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและทุนศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศ เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดกำลังคนจากฐานห้องเรียนวิทยาศาสตร์ดังกล่าวให้ไปสู่การสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบวิจัยและพัฒนาของประเทศตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมส่งเสริม/ทักษะความสามารถด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ และโครงการวิจัย เป็นต้น
ระยะเวลาดำเนินงาน
โครงการนี้จะให้การสนับสนุนการผลิตนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด จำนวน 7 รุ่น ระยะเวลาดำเนินการรวมทั้งสิ้น 13 ปี ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 — 2563 โดยในระยะแรกจะดำเนินการนำร่องตามช่วงระยะเวลาของการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และจะมีการประเมินผลเพื่อทบทวนโครงการ ทั้งนี้ หากประสบผลสำเร็จก็จะขยายจำนวนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ หรือเพิ่มการสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี หรือเพิ่มโอกาสให้มหาวิทยาลัยอื่นเข้าร่วมโครงการด้วย เพื่อให้เกิดความหลากหลายในแขนงวิชาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--