คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ประมวลจากผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม และอนุมัติมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมระยะเร่งด่วน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ได้มีการประชุม 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 13 และ 20 มีนาคม 2550 เพื่อรับฟังความเห็นและการวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและในช่วงระยะเวลาที่เหลือของรัฐบาลประมาณ 7 เดือน โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมการ ได้นำความเห็นและการวิเคราะห์ของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ประมวลเข้าเป็นภาพรวมเศรษฐกิจและข้อเสนอแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ดังต่อไปนี้
1. ภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจปัจจุบัน
1.1 พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงมีความเข้มแข็ง เช่น เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP และ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ลดต่ำลงจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจอย่างมาก เป็นต้น
1.2 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการขับเคลื่อนโดยการส่งออกเป็นหลัก ในขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ในอนาคตการส่งออกอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายประการ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น หากปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่องก็จะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจส่วนรวมได้ โดยเฉพาะในกรณีที่การส่งออกได้รับผลกระทบ และไม่เป็นไปตามที่ทางการได้ตั้งเป้าหมายไว้ ในกรณีดังกล่าว เศรษฐกิจของประเทศก็มีโอกาสจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
1.3 ปัจจัยภายในประเทศที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มอ่อนตัว โดยเห็นได้ชัดจากภาวะการลงทุนของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การนำเข้าสินค้ามีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลง และเริ่มมีส่วนทำให้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้มีอุปทานของเงินตราต่างประเทศมากกว่าอุปสงค์ และนำไปสู่แรงกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น นอกจากนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะสามารถออกกฎหมายงบประมาณประจำปี 2551 ได้ทันวันที่ 1 มกราคม 2550 และอัตราการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณเริ่มเร่งตัวขึ้น หากแต่เม็ดเงินงบประมาณยังไม่สามารถกระจายลงไปหล่อเลี้ยงภาคธุรกิจและประชาชน นอกจากนั้น เม็ดเงินงบประมาณที่ตรงไปสู่ภาคเศรษฐกิจระดับฐานรากโดยตรงได้ลดลงมากเมื่อเทียบกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
1.4 โดยสรุป สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่จะกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2550 มาจาก 3 ปัจจัยที่มีความเชื่อมโยงเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน คือ (1) ค่าเงินบาท (2) การชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ และ (3) ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งใน ระยะนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนที่จะขับเคลื่อนการใช้จ่ายภายในประเทศ
2. แนวทางการขัดเคลื่อนเศรษฐกิจรวมระยะเร่งด่วน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยรักษาการขยายตัวได้ อย่างเหมาะสมและมีเสถียรภาพภายใต้ข้อจำกัดของเศรษฐกิจส่วนโลกที่ชะลอลงในปี 2550 จึงมีความจำเป็นจะต้องมีมาตรการเศรษฐกิจที่สำคัญในการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนในการลงทุนโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมีมาตรการสำคัญเร่งด่วน ดังนี้
มาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบ
2.1 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้าหมายรวม สำนักงบประมาณ
ร้อยละ 85 โดย (1) ให้ทุกกระทรวงที่มีงบประมาณในหมวดที่ดิน กระทรวงการคลัง
และสิ่งก่อสร้าง เร่งการประมูลงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ภายใน
วันที่ 30 มิถุนายน 2550 (2) เร่งรัดการใช้จ่ายจริงตามโครงการ
ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดที่ได้จัดสรรงบประมาณให้แล้วจำนวน
5,000 ล้านบาท (3) เร่งรัดการจ่ายเงินตามโครงการลงทุน
ทางด้านโลจิสติกส์ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2550 ไปแล้ว
จำนวน 4,500 ล้านบาท และเพื่อให้การเร่งรัดเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการ
ใช้จ่ายภาครัฐขึ้น โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
เป็นประธาน และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นเลขานุการ
2.2 พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับโครงการยุทธศาสตร์ สำนักงบประมาณ
อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดอีก 5,000 ล้านบาท จากเดิมที่จัดสรรให้เพียง
5,000 ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 10,000 ล้านบาท
2.3 เร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้เป้าหมายการเบิกจ่าย ทุกกระทรวง และรัฐวิสาหกิจในสังกัด
รวมร้อยละ 90 โดยเฉพาะการลงทุนของ ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ
ที่มีวงเงินลงทุนสูงถึง 58,000 ล้านบาท
2.4 เนื่องจากการลงทุนที่มีความพร้อมของภาคเอกชนในอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปิโตรเคมี ซึ่งมีวงเงินลงทุนสูงถึง 210,000 ล้านบาท มีความจำเป็น สำนักงบประมาณ
ต้องตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งขณะนี้ได้มีการ
จัดทำแผนปฏิบัติการ 3 ฝ่าย ในพื้นที่ได้แก่ ชุมชน อุตสาหกรรม และ
หน่วยราชการ เพื่อลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามแผน
ปฏิบัติดังกล่าว จึงอนุมัติงบประมาณประจำปี 2551 จำนวน 1,000 ล้านบาท
เพื่อจัดสรรให้กับโครงการที่เสนอโดยชุมชนและส่วนราชการภายใต้
แผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ร่วมกับสำนักงบประมาณพิจารณา
รายละเอียด
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ติดตามความก้าวหน้าและรายงานผลต่อนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุกเดือนด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ได้มีการประชุม 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 13 และ 20 มีนาคม 2550 เพื่อรับฟังความเห็นและการวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและในช่วงระยะเวลาที่เหลือของรัฐบาลประมาณ 7 เดือน โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมการ ได้นำความเห็นและการวิเคราะห์ของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ประมวลเข้าเป็นภาพรวมเศรษฐกิจและข้อเสนอแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ดังต่อไปนี้
1. ภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจปัจจุบัน
1.1 พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงมีความเข้มแข็ง เช่น เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP และ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ลดต่ำลงจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจอย่างมาก เป็นต้น
1.2 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการขับเคลื่อนโดยการส่งออกเป็นหลัก ในขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ในอนาคตการส่งออกอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายประการ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น หากปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่องก็จะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจส่วนรวมได้ โดยเฉพาะในกรณีที่การส่งออกได้รับผลกระทบ และไม่เป็นไปตามที่ทางการได้ตั้งเป้าหมายไว้ ในกรณีดังกล่าว เศรษฐกิจของประเทศก็มีโอกาสจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
1.3 ปัจจัยภายในประเทศที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มอ่อนตัว โดยเห็นได้ชัดจากภาวะการลงทุนของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การนำเข้าสินค้ามีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลง และเริ่มมีส่วนทำให้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้มีอุปทานของเงินตราต่างประเทศมากกว่าอุปสงค์ และนำไปสู่แรงกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น นอกจากนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะสามารถออกกฎหมายงบประมาณประจำปี 2551 ได้ทันวันที่ 1 มกราคม 2550 และอัตราการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณเริ่มเร่งตัวขึ้น หากแต่เม็ดเงินงบประมาณยังไม่สามารถกระจายลงไปหล่อเลี้ยงภาคธุรกิจและประชาชน นอกจากนั้น เม็ดเงินงบประมาณที่ตรงไปสู่ภาคเศรษฐกิจระดับฐานรากโดยตรงได้ลดลงมากเมื่อเทียบกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
1.4 โดยสรุป สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่จะกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2550 มาจาก 3 ปัจจัยที่มีความเชื่อมโยงเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน คือ (1) ค่าเงินบาท (2) การชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ และ (3) ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งใน ระยะนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนที่จะขับเคลื่อนการใช้จ่ายภายในประเทศ
2. แนวทางการขัดเคลื่อนเศรษฐกิจรวมระยะเร่งด่วน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยรักษาการขยายตัวได้ อย่างเหมาะสมและมีเสถียรภาพภายใต้ข้อจำกัดของเศรษฐกิจส่วนโลกที่ชะลอลงในปี 2550 จึงมีความจำเป็นจะต้องมีมาตรการเศรษฐกิจที่สำคัญในการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนในการลงทุนโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมีมาตรการสำคัญเร่งด่วน ดังนี้
มาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบ
2.1 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้าหมายรวม สำนักงบประมาณ
ร้อยละ 85 โดย (1) ให้ทุกกระทรวงที่มีงบประมาณในหมวดที่ดิน กระทรวงการคลัง
และสิ่งก่อสร้าง เร่งการประมูลงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ภายใน
วันที่ 30 มิถุนายน 2550 (2) เร่งรัดการใช้จ่ายจริงตามโครงการ
ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดที่ได้จัดสรรงบประมาณให้แล้วจำนวน
5,000 ล้านบาท (3) เร่งรัดการจ่ายเงินตามโครงการลงทุน
ทางด้านโลจิสติกส์ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2550 ไปแล้ว
จำนวน 4,500 ล้านบาท และเพื่อให้การเร่งรัดเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการ
ใช้จ่ายภาครัฐขึ้น โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
เป็นประธาน และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นเลขานุการ
2.2 พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับโครงการยุทธศาสตร์ สำนักงบประมาณ
อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดอีก 5,000 ล้านบาท จากเดิมที่จัดสรรให้เพียง
5,000 ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 10,000 ล้านบาท
2.3 เร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้เป้าหมายการเบิกจ่าย ทุกกระทรวง และรัฐวิสาหกิจในสังกัด
รวมร้อยละ 90 โดยเฉพาะการลงทุนของ ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ
ที่มีวงเงินลงทุนสูงถึง 58,000 ล้านบาท
2.4 เนื่องจากการลงทุนที่มีความพร้อมของภาคเอกชนในอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปิโตรเคมี ซึ่งมีวงเงินลงทุนสูงถึง 210,000 ล้านบาท มีความจำเป็น สำนักงบประมาณ
ต้องตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งขณะนี้ได้มีการ
จัดทำแผนปฏิบัติการ 3 ฝ่าย ในพื้นที่ได้แก่ ชุมชน อุตสาหกรรม และ
หน่วยราชการ เพื่อลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามแผน
ปฏิบัติดังกล่าว จึงอนุมัติงบประมาณประจำปี 2551 จำนวน 1,000 ล้านบาท
เพื่อจัดสรรให้กับโครงการที่เสนอโดยชุมชนและส่วนราชการภายใต้
แผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ร่วมกับสำนักงบประมาณพิจารณา
รายละเอียด
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ติดตามความก้าวหน้าและรายงานผลต่อนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุกเดือนด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--