แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล
สำนักงานประกันสังคม
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานกรรมการที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณารวมเป็นร่างฉบับเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. .... แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ฐานความรู้และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างแท้จริง ซึ่งประเทศไทย ยังขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสูงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญจำเป็นต้องเร่งสร้างทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีองค์ความรู้ใหม่และความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตและบริการของประเทศอันจะได้จากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งภาคการผลิตและบริการในการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดองค์กรที่ทำหน้าที่หลักในการประสานงานเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือ และสร้างความเชื่อมั่นในระดับสากล อันมีผลกระทบต่อแรงจูงใจของสถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศในการเข้ามาร่วมมือกับสถาบันในประเทศ จึงจำเป็นต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเพื่อเอื้ออำนวยให้สถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศร่วมมือกันโดยเข้าร่วมเป็นกลุ่มสถาบันเครือข่ายเพื่อจัดการวิจัยและพัฒนาร่วมกับการศึกษาในโครงการหรือหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของประเทศภายใต้การควบคุมมาตรฐานและการสนับสนุนจากองค์กรศูนย์กลางนี้ ทั้งนี้ ภายใต้การบริหารจัดการของคณะบริหารในกลุ่มสถาบันเครือข่ายโดยองค์กรศูนย์กลางจะไม่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาหรือจัดการเรียนการสอนเอง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูง พ.ศ. ....มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า “การวิจัยและพัฒนา” “สถาบัน” “คณะกรรมการ” “คณะกรรมการวิชาการ” “สถาบันเครือข่าย” “กลุ่มสถาบันเครือข่าย” และ “สถาบันวิจัย” (ร่างมาตรา 3)
2. ให้จัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูงขึ้นเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานในการเอื้ออำนวยและประสานงานให้สถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศทำความร่วมมือหรือความตกลงกัน เพื่อดำเนินการวิจัยหรือพัฒนาหรือจัดการศึกษาขั้นสูงร่วมกัน โดยมีประสงค์ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 5)
3. กิจการของสถาบันไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของสถาบันต้องได้รับความคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว (ร่างมาตรา 6)
4. กำหนดให้สถาบันมีอำนาจและหน้าที่กระทำการทั้งปวงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 7)
5. สถาบันอาจมีรายได้จากทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี และเงินอุดหนุนจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น รายได้ของสถาบันไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และให้ทรัพย์สินของสถาบันที่ใช้เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาการศึกษา และการบริการทางวิชาการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การบังคับทางการปกครอง และจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ และรายได้และทรัพย์สินของสถาบันต้องจัดการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามมาตรา 5 (ร่างมาตรา 8 ถึงร่างมาตรา 10)
6. ให้มีคณะกรรมการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูงประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอื่นรวมไม่เกินเก้าคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากการสรรหา จากผู้ทรงคุณวุฒิตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 11 ถึงร่างมาตรา 14)
7. ให้สถาบันมีคณะกรรมการวิชาการ ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีผลงานทางวิชาการหรือทางการวิจัยและพัฒนาตามข้อบังคับของสถาบัน ที่คณะกรรมการกำหนดและให้ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูงเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 15 ถึงร่างมาตรา 19)
8.ให้มีกลุ่มสถาบันหรือเครือข่าย โดยมีคณะบริหารและผู้อำนวยการกลุ่ม ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อรับผิดชอบงานของกลุ่มสถาบันเครือข่าย (ร่างมาตรา 20)
9. ให้สถาบันจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสม โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี และให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 21 ถึงร่างมาตรา 23)
10. กำหนดบทเฉพาะกาลให้รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ เพื่อจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการสถาบันให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 24)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ฐานความรู้และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างแท้จริง ซึ่งประเทศไทย ยังขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสูงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญจำเป็นต้องเร่งสร้างทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีองค์ความรู้ใหม่และความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตและบริการของประเทศอันจะได้จากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งภาคการผลิตและบริการในการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดองค์กรที่ทำหน้าที่หลักในการประสานงานเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือ และสร้างความเชื่อมั่นในระดับสากล อันมีผลกระทบต่อแรงจูงใจของสถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศในการเข้ามาร่วมมือกับสถาบันในประเทศ จึงจำเป็นต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเพื่อเอื้ออำนวยให้สถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศร่วมมือกันโดยเข้าร่วมเป็นกลุ่มสถาบันเครือข่ายเพื่อจัดการวิจัยและพัฒนาร่วมกับการศึกษาในโครงการหรือหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของประเทศภายใต้การควบคุมมาตรฐานและการสนับสนุนจากองค์กรศูนย์กลางนี้ ทั้งนี้ ภายใต้การบริหารจัดการของคณะบริหารในกลุ่มสถาบันเครือข่ายโดยองค์กรศูนย์กลางจะไม่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาหรือจัดการเรียนการสอนเอง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูง พ.ศ. ....มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า “การวิจัยและพัฒนา” “สถาบัน” “คณะกรรมการ” “คณะกรรมการวิชาการ” “สถาบันเครือข่าย” “กลุ่มสถาบันเครือข่าย” และ “สถาบันวิจัย” (ร่างมาตรา 3)
2. ให้จัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูงขึ้นเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานในการเอื้ออำนวยและประสานงานให้สถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศทำความร่วมมือหรือความตกลงกัน เพื่อดำเนินการวิจัยหรือพัฒนาหรือจัดการศึกษาขั้นสูงร่วมกัน โดยมีประสงค์ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 5)
3. กิจการของสถาบันไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของสถาบันต้องได้รับความคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว (ร่างมาตรา 6)
4. กำหนดให้สถาบันมีอำนาจและหน้าที่กระทำการทั้งปวงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 7)
5. สถาบันอาจมีรายได้จากทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี และเงินอุดหนุนจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น รายได้ของสถาบันไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และให้ทรัพย์สินของสถาบันที่ใช้เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาการศึกษา และการบริการทางวิชาการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การบังคับทางการปกครอง และจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ และรายได้และทรัพย์สินของสถาบันต้องจัดการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามมาตรา 5 (ร่างมาตรา 8 ถึงร่างมาตรา 10)
6. ให้มีคณะกรรมการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูงประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอื่นรวมไม่เกินเก้าคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากการสรรหา จากผู้ทรงคุณวุฒิตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 11 ถึงร่างมาตรา 14)
7. ให้สถาบันมีคณะกรรมการวิชาการ ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีผลงานทางวิชาการหรือทางการวิจัยและพัฒนาตามข้อบังคับของสถาบัน ที่คณะกรรมการกำหนดและให้ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูงเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 15 ถึงร่างมาตรา 19)
8.ให้มีกลุ่มสถาบันหรือเครือข่าย โดยมีคณะบริหารและผู้อำนวยการกลุ่ม ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อรับผิดชอบงานของกลุ่มสถาบันเครือข่าย (ร่างมาตรา 20)
9. ให้สถาบันจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสม โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี และให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 21 ถึงร่างมาตรา 23)
10. กำหนดบทเฉพาะกาลให้รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ เพื่อจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการสถาบันให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 24)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--