สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง วาตภัย แผ่นดินไหว และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 16, 2010 16:49 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยแล้ง วาตภัย แผ่นดินไหว และการให้ความช่วยเหลือ(ข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2553) ของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง วาตภัย แผ่นดินไหว และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 — 14 มิถุนายน 2553)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 12 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 8-14 มิถุนายน 2553) ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก ลำปาง ลำพูน กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด และจังหวัดศรีสะเกษ รวม 83 อำเภอ 583 ตำบล 5,568 หมู่บ้าน แยกเป็น

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 8-14 มิถุนายน 2553)

ที่                             พื้นที่ประสบภัย                                                   ราษฎรประสบภัย
   ภาค       จังหวัด     อำเภอ     ตำบล      หมู่บ้าน     รายชื่อจังหวัด                           คน      ครัวเรือน
1  เหนือ          5        30      177      1,452     เชียงราย เชียงใหม่ ตาก             494,643      153,221
                                                     ลำปาง ลำพูน
2  ตะวันออก       7        53      406      4,116     กาฬสินธุ์ นครราชสีมา มหาสารคาม    1,177,481      326,304
   เฉียงเหนือ                                          บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ
รวมทั้งประเทศ     12        83      583      5,568                                   1,672,124      479,525

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค       จำนวนหมู่บ้าน    11-24 พ.ค.2553      25-31 พ.ค. 2553       1-7 มิ.ย. 2553        7-14 มิ.ย. 2553
            ทั้งหมด          หมู่      + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม        หมู่      + เพิ่ม
                           บ้าน      - ลด       บ้าน       - ลด       บ้าน       - ลด       บ้าน       - ลด
1 เหนือ       16,590      2,871         0     2,871          0     2,139       -732     1,452       -687
2 ตะวันออก    33,099      9,055         0     9,055          0     4,592     -4,463     4,116       -476
  เฉียงเหนือ
  รวม        74,944     11,926         0    11,926          0     6,731     -5,195     5,568     -1,163

เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2553-14 มิถุนายน 2553 ซึ่งมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 12 จังหวัด 102 อำเภอ 726 ตำบล 6,731 หมู่บ้าน แต่เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ลดลง 1,163 หมู่บ้าน

หมายเหตุ สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ช่วงระยะเวลาที่มีสถานการณ์ภัยแล้งสูงสุดอยู่ในห้วงระหว่างวันที่ 12-19 เมษายน 2553 มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 60 จังหวัด 463 อำเภอ 3,005 ตำบล 24,248 หมู่บ้าน

1.2 ความเสียหาย

พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 1,922,651 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 1,322,783 ไร่ นาข้าว 165,154 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 434,714 ไร่ โดยมีพื้นที่เกษตรกรเสียหายแล้ว จำนวน 145,284 ไร่ ในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ชัยภูมิ นครพนม หนองคาย ร้อยเอ็ด เลย กาญจนบุรี ราชบุรี กระบี่ และจังหวัดตรัง

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 479 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 70,542,224 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 1,352 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 166 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 253,882,043 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 24,689,228 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 228,147,149 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 1,045,666 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 629 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 45 จังหวัด โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 196 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 235 เครื่อง ภาคกลาง 60 เครื่อง ภาคตะวันออก 64 เครื่อง และภาคใต้ 74 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 33 คัน 3,628 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 21,768,000 ลิตร

6) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 3,292 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 21,363,000 ลิตร

7) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 3,699 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 24,918,000 ลิตร

8) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 836 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 5,154,096 ลิตร

9) การประปาส่วนภูมิภาค ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย โดยไม่คิดมูลค่าเป็นจำนวน 359.059 ล้านลิตร และคิดเป็นยอดเงินรวม จำนวน 5,839,969 บาท

10) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้จัดรถบรรทุกน้ำ 30 คัน เพื่อแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 33,350,000 ลิตร

11) กรมทรัพยากรน้ำ ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 1,346,000 ลิตร

12) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล แจกน้ำจากจุดจ่ายน้ำถาวร 100 แห่ง ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 81.40 ล้านลิตร

13) กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 236,000 ลิตร

14) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการ 83 วัน จำนวน 2,196 เที่ยว ในพื้นที่ 70 จังหวัด

2. สถานการณ์วาตภัย

2.1 พื้นที่ประสบภัย ในช่วงวันที่ 11 มิถุนายน 2553 ได้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ในหลายพื้นที่ และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ทำให้ได้รับความเสียหายในจังหวัดนครพนม อำเภอเมือง ตำบลขามเฒ่า (หมู่ที่ 1,3,7,10) บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย ประมาณ 63 หลังคาเรือน และทำให้ไฟฟ้าดับทั้ง 4 หมู่บ้าน

2.2 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น และเร่งสำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงิน ทดรองราชการฯ ต่อไป

3. สถานการณ์แผ่นดินไหว

1) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2553 เวลาประมาณ 02.26 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 7.7 ริกเตอร์ บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ห่างจากชายฝั่งอันดามันของไทยประมาณ 694 กิโลเมตร ความลึกใต้ผิวโลก 5 กิโลเมตร หรือละติจูด 7.70 องศาเหนือ ลองจิจูด 91.97 องศาตะวันออก ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

2) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2553 เวลาประมาณ 5.54 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 5.4 ริกเตอร์ บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ห่างจากชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตประมาณ 680 กิโลเมตร ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

3) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2553 เวลาประมาณ 09.50 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 5.0 ริกเตอร์ บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ห่างจากชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตประมาณ 658 กิโลเมตร ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

4) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2553 เวลาประมาณ 14.05 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 5.1 ริกเตอร์ บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ห่างจากชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตประมาณ 680 กิโลเมตร ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

4. สิ่งของพระราชทาน

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำหน่วยรถผลิตน้ำดื่มไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี รวมจ่ายน้ำให้กับประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 1,816,000 ลิตร

5. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 14-18 มิถุนายน 2553

5.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในวันที่ 14 มิถุนายน 2553มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันยังคงมีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 มิถุนายน 2553 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศพม่า ลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันยังคงมีกำลังปานกลาง หลังจากนั้น ในช่วงวันที่ 17-18 มิถุนายน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น

5.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มิถุนายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ