คณะรัฐมนตรีอนุมัติการลงนามบันทึกความเข้าใจในการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ณ จุดผ่านแดน แดนสะหวัน-ลาวบาว และจุดผ่านแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงบันทึกความเข้าใจดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญก่อนลงนามและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ก็ให้กระทรวงคมนาคมสามารถดำเนินการได้ โดยประสานงานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และ อนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม) เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมสำหรับการลงนามดังกล่าว
กระทรวงคมนาคม รายงานว่า ในการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา - แม่โขง เพื่อทบทวนกลางรอบอย่างไม่เป็นทางการ (ACMECS Leaders’ Midterm Review) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ไทยได้เสนอให้จัดตั้ง one-stop service centers ตามจุดยุทธศาสตร์ของเส้นทางในแผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) และเสนอให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ไทย-ลาว-เวียดนาม เพื่อผลักดันการดำเนินการดังกล่าว
เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสามฝ่ายไทย-ลาว-เวียดนาม ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2550 ณ กรุงฮานอย เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีสามฝ่าย ไทย-ลาว-เวียดนาม โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม พร้อมด้วยผู้แทนกรมศุลกากร กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง และสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมที่ประชุมได้พิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจในการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความ ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ณ จุดผ่านแดน แดนสะหวัน-ลาวบาว และจุดผ่านแดน มุกดาหาร-สะหวันนะเขต ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดในการดำเนินการต่างๆ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนสิทธิการจราจรระหว่างประเทศ การอำนวยความสะดวกพิธีการข้ามแดน การข้ามแดนของบุคคล การขนส่งสินค้าข้ามแดน การยอมรับรถ ตลอดจนการจัดตั้งคณะทำงานร่วม ลาว-ไทย-เวียดนาม ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างสุดท้ายของบันทึกความเข้าใจฯ และเห็นควรให้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีสามฝ่าย ไทย-ลาว-เวียดนาม ซึ่ง สปป.ลาว จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2550 ณ แขวงสะหวันนะเขต
ทั้งนี้ การจัดทำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวข้างต้นเป็นการดำเนินงานต่อเนื่อง ภายหลังจากที่ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่าง ไทย-ลาว-เวียดนาม ในระหว่างที่แต่ละประเทศยังไม่สามารถให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลง GMS ที่ได้ลงนามไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
กระทรวงคมนาคม รายงานว่า ในการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา - แม่โขง เพื่อทบทวนกลางรอบอย่างไม่เป็นทางการ (ACMECS Leaders’ Midterm Review) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ไทยได้เสนอให้จัดตั้ง one-stop service centers ตามจุดยุทธศาสตร์ของเส้นทางในแผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) และเสนอให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ไทย-ลาว-เวียดนาม เพื่อผลักดันการดำเนินการดังกล่าว
เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสามฝ่ายไทย-ลาว-เวียดนาม ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2550 ณ กรุงฮานอย เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีสามฝ่าย ไทย-ลาว-เวียดนาม โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม พร้อมด้วยผู้แทนกรมศุลกากร กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง และสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมที่ประชุมได้พิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจในการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความ ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ณ จุดผ่านแดน แดนสะหวัน-ลาวบาว และจุดผ่านแดน มุกดาหาร-สะหวันนะเขต ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดในการดำเนินการต่างๆ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนสิทธิการจราจรระหว่างประเทศ การอำนวยความสะดวกพิธีการข้ามแดน การข้ามแดนของบุคคล การขนส่งสินค้าข้ามแดน การยอมรับรถ ตลอดจนการจัดตั้งคณะทำงานร่วม ลาว-ไทย-เวียดนาม ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างสุดท้ายของบันทึกความเข้าใจฯ และเห็นควรให้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีสามฝ่าย ไทย-ลาว-เวียดนาม ซึ่ง สปป.ลาว จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2550 ณ แขวงสะหวันนะเขต
ทั้งนี้ การจัดทำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวข้างต้นเป็นการดำเนินงานต่อเนื่อง ภายหลังจากที่ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่าง ไทย-ลาว-เวียดนาม ในระหว่างที่แต่ละประเทศยังไม่สามารถให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลง GMS ที่ได้ลงนามไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--