แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยบูรพา
โครงการรถไฟฟ้า
กระทรวงคมนาคม
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง และเห็นชอบนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแผนการดำเนินงานโครงการ และการพิจารณารายละเอียดประเด็นด้านการเงิน การลงทุนและกฎหมาย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. การรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชน
กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับไปดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สนข. ได้แต่งตั้ง “คณะทำงานดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง” โดยมีผู้แทนโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมเป็นองค์ประกอบคณะทำงาน โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตร่วมดำเนินการ ตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและรับฟังความเห็น ได้ดำเนินการให้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ และขอความร่วมมือประชาชนส่งความคิดเห็นผ่านทางแหล่งต่าง ๆ มีประชาชนส่งความเห็นและผลการดำเนินการโดยสรุป ดังนี้
(1) ความเห็นผ่านตู้ ปณ.7 ทำเนียบรัฐบาล จำนวน 187 ราย
- เห็นด้วยจำนวน 178 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.2
- ไม่เห็นด้วยจำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.8
(2) ความเห็นผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ (เว็บไซท์) ของหน่วยงาน ได้แก่
- สนข. (www.otp.go.th และ www.bangkokmasstransit.com)
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (http://skynet.dusit.ac.th/poll/page/index.php)
- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (www.publicconsultation.opm.go.th)
มีประชาชนส่งความเห็นจำนวน 246 ราย
- เห็นด้วยจำนวน 221 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.8
- ไม่เห็นด้วยจำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.2
1.2 ทำการสำรวจความต้องการของประชาชนที่มีต่อโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายทางดำเนินการโดยสัมภาษณ์รายบุคคลในกลุ่มประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนโดยทั่วไป จำนวน 14,975 คน สรุปได้ดังนี้
(1) ประชาชน (ประมาณร้อยละ 91) โดยทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายทาง ที่รัฐบาลนี้จะดำเนินการ
(2) ประชาชนส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 96) เห็นด้วยกับการสร้างรถไฟฟ้า
(3) ประชาชนส่วนมาก (ประมาณร้อยละ 80) เห็นว่าควรเริ่มการก่อสร้างในปี 2550 และปี 2551
(4) ประชาชนประมาณร้อยละ 48 จะใช้บริการรถไฟฟ้า 5 สายทาง แน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 47 ตอบว่าอาจจะมีโอกาสใช้ในอนาคตถ้ามีหลายสายทาง
(5) การคิดราคาค่าโดยสาร ประมาณ 2 ใน 3 เห็นควรติดตามระยะทาง โดยราคาค่าโดยสารต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 13 บาท และมีราคาสูงสุดประมาณ 36 บาท ในขณะที่ 1 ใน 3 เห็นว่าควรมีค่าโดยสารคงที่ประมาณ 24 บาท
(6) สายสีแดง (รังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน) เป็นสายทางที่ประชาชนสนับสนุนให้สร้างก่อน ในลำดับรองลงมาคือสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ร้อยละ 21 17 16 16 และ 15 ตามลำดับ)
1.3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อวันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2549 โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 600 คน สรุปว่า
(1) ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ แต่ขอให้ได้รับค่าเวนคืนที่เป็นธรรม
(2) ประชาชนชาวเตาปูน และชุมชนวัดมังกรฯ ขอให้ดำเนินงานก่อสร้างแบบใต้ดิน ซึ่งเชื่อว่าจะเวนคืนที่ดินน้อยลง และจะสามารถค้าขายได้เป็นปกติ
(3) ประชาชนขอให้ดำเนินโครงการอย่างประหยัด และสามารถตรวจสอบได้ โดยขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
(4) ประชาชนขอให้การก่อสร้างคำนึงถึงวิถีชีวิตของชุมชนเดิม ไม่ต้องการให้เวนคืนที่ดินเป็นจำนวนมากเพื่อดำเนินโครงการ เป็นต้น
1.4 ผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยรวม
(1) มีประชาชนร้อยละ 96 จากประชาชนรวม 16,000 ราย/ความคิดเห็น ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน โดยมีเหตุผลที่เห็นว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหาด้านการจราจรและทำให้มีการพัฒนาประเทศชาติ โดยคาดหวังว่าจะมีการขยายเส้นทางออกไปรอบเมืองและออกไปนอกเมือง เชื่อมต่อกันได้ทุกทิศทาง รวมถึงการเชื่อมต่อไปตามเส้นทางชานเมือง
(2) ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการมีประเด็นสรุปได้ดังนี้
1) ประเด็นผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
2) ประเด็นชาวชุมชนวัดมังกรฯ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย) ต้องการให้ย้ายสถานีวัดมังกรฯ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพ ภูมิทัศน์ และส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่มีมาช้านาน
3) ประเด็นความโปร่งใสของโครงการตั้งแต่การประกวดราคาก่อสร้าง การดำเนินการก่อสร้าง การคำนวณราคาค่าโดยสาร
4) ประเด็นการขอให้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น
2. นโยบายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กระทรวงคมนาคมโดย สนข. รฟท. และ รฟม. ได้ร่วมหารือกับ กทม. และกระทรวงการคลัง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 ได้มีข้อสรุปร่วมกันในการปรับชื่อโครงการ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจแนวทางดำเนินงานโครงการขนส่งมวลชนระบบรางที่ชัดเจน สะท้อนพื้นที่ และรูปแบบการให้บริการของระบบรถไฟด้วย จึงเห็นควรให้ปรับชื่อเป็น “โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล” โดยเห็นควรกำหนดนโยบายให้มีศูนย์กลางเชื่อมต่อในการเดินทาง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (บริเวณบางซื่อ) และ 2) ศูนย์คมนาคมมักกะสัน (บริเวณมักกะสัน) เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางจากพื้นที่ปริมณฑลและพื้นที่เมืองบริวารโดยระบบรถไฟชานเมือง และการเดินรถด้วยระบบรางเดียวกันจากเมืองในภูมิภาคโดยรถไฟทางไกลเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งให้บริการเป็นโครงข่ายระบบขนส่งในเมืองกรุงเทพมหานครให้เกิดความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน โดยมีองค์ประกอบการดำเนินงาน 2 ส่วน ดังนี้
2.1 ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เป็นการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของ รฟท. ดำเนินงานรถไฟสายสีแดงทำหน้าที่ในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เดินทางโดยระบบรางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเมืองบริวารในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยยุทธศาสตร์การให้บริการทางรางด้วยระบบรถไฟชานเมือง จะควบคุมการกระจายตัวของเมืองเป็นหลัก ลดปัญหาด้านการจราจรในพื้นที่หนาแน่นในส่วนกลางของกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระบบรถไฟชานเมืองที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดระยะเวลาการเดินทาง ไม่มีปัญหาด้านจุดตัดการจราจรในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งจะทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนบริเวณศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ) และศูนย์คมนาคมมักกะสัน (บริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางแทนสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน โดยมีโครงการที่จะสร้างทางรถไฟสายสีแดงในระยะแรก 3 ช่วง รวมระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ได้แก่
(1) ช่วงบางซื่อ — ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร
(2) ช่วงบางซื่อ — รังสิต ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร
(3) ช่วงบางซื่อ — มักกะสัน — หัวหมาก (เชื่อมต่อหัวลำโพง) ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร
2.2 ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของ รฟม. และ กทม. ระยะทางที่จะดำเนินการในระยะแรก ประมาณ 77 กิโลเมตร ให้เกิดการเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายร่วมกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน 44 กิโลเมตร (โครงการระบบขนส่งกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้า มหานครสายเฉลิมรัชมงคล) และอยู่ระหว่างการก่อสร้างประมาณ 41 กิโลเมตร (โครงการระบบขนส่งกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย สายเพชรเกษม และอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร และโครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร) ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งหมดจะเป็นระบบ ขนส่งมวลชนทางรางที่ครอบคลุมพื้นที่ชั้นใน และเชื่อมต่อกับพื้นที่เมืองในปริมณฑลที่มีความหนาแน่นของประชาชน ต่อเนื่องกับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ที่กระจายการเดินทางในเมืองให้เกิดเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อมีความคล่องตัวสูง มีความสะดวกในการเดินทาง และมีโครงข่ายที่เพียงพอต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนในระบบรถยนต์ส่วนบุคคลให้ปรับมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยมีโครงการ ดังนี้
(1) รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่ — บางซื่อ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร
(2) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ — ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง — บางแค ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร
(3) รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต — สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง — สมุทรปราการ ระยะทาง ประมาณ 27 กิโลเมตร
3. แผนการดำเนินงานโครงการและการพิจารณารายละเอียดประเด็นด้านการเงิน การลงทุน และกฎหมาย
เพื่อให้ได้ความชัดเจนด้านการเงิน การคลัง ความพร้อมและความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละสายทางวงเงินลงทุน ประโยชน์และผลที่ประชาชนได้รับจากโครงการในการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคมได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง” โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ ได้แก่ กระทรวงการคลัง (สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ : สบน. และสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ : สคร.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : สผ.) กระทรวงมหาดไทย (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ (สงป.)สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) รฟท. และ รฟม. มี สนข. เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งได้ประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยพิจารณาจากความพร้อมของแบบรายละเอียด เอกสารประกวดราคา แหล่งเงินลงทุน และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535) รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนี้
3.1 แผนการดำเนินงาน
ที่ โครงการ EIA ออกแบบ/ปรับปรุง ประกวดราคา เริ่มก่อสร้าง
เอกสารประกวดราคา
1 สายสีแดง ผ่านแล้ว ดำเนินการแล้ว เมษายน-50 ตุลาคม-50
ช่วงบางซื่อ-
ตลิ่งชัน
2 สายสีม่วง อยู่ระหว่าง มีแบบรายละเอียด / พฤษภาคม-50 ธันวาคม-50
ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ การพิจารณา ต้องปรับเอกสาร
ของ สผ.
3 สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ ออกแบบรายละเอียด กันยายน-50 เมษายน-51
ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ รอ สผ.พิจารณา/ แล้วเสร็จประมาณ
และหัวลำโพง-บางแค หัวลำโพง-บางแค มิถุนายน-50
ผ่านแล้ว
4 สายสีแดง ผ่านแล้ว/ มีแบบรายละเอียด/ ตุลาคม-50 เมษายน-51
ช่วงบางซื่อ-รังสิต ต้องปรับปรุง ต้องปรับแบบสถานีรถไฟบางซื่อ
เพิ่มเติม
5 สายสีเขียว อยู่ระหว่างการ ออกแบบรายละเอียด ธันวาคม-50 มิถุนายน-51
ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ พิจารณาของ สผ. แล้วเสร็จประมาณ
และแบริ่ง-สมุทรปราการ พฤศจิกายน-50
6 สายสีแดง อยู่ระหว่างการ ออกแบบรายละเอียด ธันวาคม-50 มิถุนายน-51
** ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน- ศึกษาฯ แล้วเสร็จประมาณ
หัวหมาก ธันวาคม-50
** หมายเหตุ : เป็นโครงการที่อยู่ในกรอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 โดย รฟท. ได้นำเสนอในระหว่างการประชุมร่วมตามข้อ 2 ซึ่งมีมติเห็นควรนำเสนอรวมอยู่ในแผนการดำเนินงานรถไฟชานเมือง แต่ยังมิได้พิจารณา
ในคณะกรรมการดำเนินงานรถไฟฟ้าฯ
3.2 การพิจารณาด้านแหล่งเงินลงทุนโครงการ
คณะกรรมการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการเงินและการเดินรถ โดยมีรองผู้อำนวยการ สบน. เป็นประธาน และมีผู้แทนจาก สศช. สงป. สคร. สนข. รฟท. และ รฟม. ร่วมเป็นองค์ประกอบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยคาดว่าจะสามารถรายงานผลการดำเนินงานเรื่องแหล่งเงินเพื่อใช้ในการก่อสร้างได้พร้อมกันในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการเป็นรายสายทาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. การรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชน
กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับไปดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สนข. ได้แต่งตั้ง “คณะทำงานดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง” โดยมีผู้แทนโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมเป็นองค์ประกอบคณะทำงาน โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตร่วมดำเนินการ ตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและรับฟังความเห็น ได้ดำเนินการให้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ และขอความร่วมมือประชาชนส่งความคิดเห็นผ่านทางแหล่งต่าง ๆ มีประชาชนส่งความเห็นและผลการดำเนินการโดยสรุป ดังนี้
(1) ความเห็นผ่านตู้ ปณ.7 ทำเนียบรัฐบาล จำนวน 187 ราย
- เห็นด้วยจำนวน 178 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.2
- ไม่เห็นด้วยจำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.8
(2) ความเห็นผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ (เว็บไซท์) ของหน่วยงาน ได้แก่
- สนข. (www.otp.go.th และ www.bangkokmasstransit.com)
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (http://skynet.dusit.ac.th/poll/page/index.php)
- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (www.publicconsultation.opm.go.th)
มีประชาชนส่งความเห็นจำนวน 246 ราย
- เห็นด้วยจำนวน 221 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.8
- ไม่เห็นด้วยจำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.2
1.2 ทำการสำรวจความต้องการของประชาชนที่มีต่อโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายทางดำเนินการโดยสัมภาษณ์รายบุคคลในกลุ่มประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนโดยทั่วไป จำนวน 14,975 คน สรุปได้ดังนี้
(1) ประชาชน (ประมาณร้อยละ 91) โดยทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายทาง ที่รัฐบาลนี้จะดำเนินการ
(2) ประชาชนส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 96) เห็นด้วยกับการสร้างรถไฟฟ้า
(3) ประชาชนส่วนมาก (ประมาณร้อยละ 80) เห็นว่าควรเริ่มการก่อสร้างในปี 2550 และปี 2551
(4) ประชาชนประมาณร้อยละ 48 จะใช้บริการรถไฟฟ้า 5 สายทาง แน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 47 ตอบว่าอาจจะมีโอกาสใช้ในอนาคตถ้ามีหลายสายทาง
(5) การคิดราคาค่าโดยสาร ประมาณ 2 ใน 3 เห็นควรติดตามระยะทาง โดยราคาค่าโดยสารต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 13 บาท และมีราคาสูงสุดประมาณ 36 บาท ในขณะที่ 1 ใน 3 เห็นว่าควรมีค่าโดยสารคงที่ประมาณ 24 บาท
(6) สายสีแดง (รังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน) เป็นสายทางที่ประชาชนสนับสนุนให้สร้างก่อน ในลำดับรองลงมาคือสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ร้อยละ 21 17 16 16 และ 15 ตามลำดับ)
1.3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อวันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2549 โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 600 คน สรุปว่า
(1) ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ แต่ขอให้ได้รับค่าเวนคืนที่เป็นธรรม
(2) ประชาชนชาวเตาปูน และชุมชนวัดมังกรฯ ขอให้ดำเนินงานก่อสร้างแบบใต้ดิน ซึ่งเชื่อว่าจะเวนคืนที่ดินน้อยลง และจะสามารถค้าขายได้เป็นปกติ
(3) ประชาชนขอให้ดำเนินโครงการอย่างประหยัด และสามารถตรวจสอบได้ โดยขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
(4) ประชาชนขอให้การก่อสร้างคำนึงถึงวิถีชีวิตของชุมชนเดิม ไม่ต้องการให้เวนคืนที่ดินเป็นจำนวนมากเพื่อดำเนินโครงการ เป็นต้น
1.4 ผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยรวม
(1) มีประชาชนร้อยละ 96 จากประชาชนรวม 16,000 ราย/ความคิดเห็น ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน โดยมีเหตุผลที่เห็นว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหาด้านการจราจรและทำให้มีการพัฒนาประเทศชาติ โดยคาดหวังว่าจะมีการขยายเส้นทางออกไปรอบเมืองและออกไปนอกเมือง เชื่อมต่อกันได้ทุกทิศทาง รวมถึงการเชื่อมต่อไปตามเส้นทางชานเมือง
(2) ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการมีประเด็นสรุปได้ดังนี้
1) ประเด็นผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
2) ประเด็นชาวชุมชนวัดมังกรฯ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย) ต้องการให้ย้ายสถานีวัดมังกรฯ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพ ภูมิทัศน์ และส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่มีมาช้านาน
3) ประเด็นความโปร่งใสของโครงการตั้งแต่การประกวดราคาก่อสร้าง การดำเนินการก่อสร้าง การคำนวณราคาค่าโดยสาร
4) ประเด็นการขอให้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น
2. นโยบายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กระทรวงคมนาคมโดย สนข. รฟท. และ รฟม. ได้ร่วมหารือกับ กทม. และกระทรวงการคลัง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 ได้มีข้อสรุปร่วมกันในการปรับชื่อโครงการ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจแนวทางดำเนินงานโครงการขนส่งมวลชนระบบรางที่ชัดเจน สะท้อนพื้นที่ และรูปแบบการให้บริการของระบบรถไฟด้วย จึงเห็นควรให้ปรับชื่อเป็น “โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล” โดยเห็นควรกำหนดนโยบายให้มีศูนย์กลางเชื่อมต่อในการเดินทาง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (บริเวณบางซื่อ) และ 2) ศูนย์คมนาคมมักกะสัน (บริเวณมักกะสัน) เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางจากพื้นที่ปริมณฑลและพื้นที่เมืองบริวารโดยระบบรถไฟชานเมือง และการเดินรถด้วยระบบรางเดียวกันจากเมืองในภูมิภาคโดยรถไฟทางไกลเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งให้บริการเป็นโครงข่ายระบบขนส่งในเมืองกรุงเทพมหานครให้เกิดความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน โดยมีองค์ประกอบการดำเนินงาน 2 ส่วน ดังนี้
2.1 ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เป็นการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของ รฟท. ดำเนินงานรถไฟสายสีแดงทำหน้าที่ในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เดินทางโดยระบบรางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเมืองบริวารในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยยุทธศาสตร์การให้บริการทางรางด้วยระบบรถไฟชานเมือง จะควบคุมการกระจายตัวของเมืองเป็นหลัก ลดปัญหาด้านการจราจรในพื้นที่หนาแน่นในส่วนกลางของกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระบบรถไฟชานเมืองที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดระยะเวลาการเดินทาง ไม่มีปัญหาด้านจุดตัดการจราจรในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งจะทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนบริเวณศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ) และศูนย์คมนาคมมักกะสัน (บริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางแทนสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน โดยมีโครงการที่จะสร้างทางรถไฟสายสีแดงในระยะแรก 3 ช่วง รวมระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ได้แก่
(1) ช่วงบางซื่อ — ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร
(2) ช่วงบางซื่อ — รังสิต ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร
(3) ช่วงบางซื่อ — มักกะสัน — หัวหมาก (เชื่อมต่อหัวลำโพง) ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร
2.2 ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของ รฟม. และ กทม. ระยะทางที่จะดำเนินการในระยะแรก ประมาณ 77 กิโลเมตร ให้เกิดการเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายร่วมกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน 44 กิโลเมตร (โครงการระบบขนส่งกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้า มหานครสายเฉลิมรัชมงคล) และอยู่ระหว่างการก่อสร้างประมาณ 41 กิโลเมตร (โครงการระบบขนส่งกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย สายเพชรเกษม และอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร และโครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร) ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งหมดจะเป็นระบบ ขนส่งมวลชนทางรางที่ครอบคลุมพื้นที่ชั้นใน และเชื่อมต่อกับพื้นที่เมืองในปริมณฑลที่มีความหนาแน่นของประชาชน ต่อเนื่องกับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ที่กระจายการเดินทางในเมืองให้เกิดเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อมีความคล่องตัวสูง มีความสะดวกในการเดินทาง และมีโครงข่ายที่เพียงพอต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนในระบบรถยนต์ส่วนบุคคลให้ปรับมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยมีโครงการ ดังนี้
(1) รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่ — บางซื่อ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร
(2) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ — ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง — บางแค ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร
(3) รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต — สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง — สมุทรปราการ ระยะทาง ประมาณ 27 กิโลเมตร
3. แผนการดำเนินงานโครงการและการพิจารณารายละเอียดประเด็นด้านการเงิน การลงทุน และกฎหมาย
เพื่อให้ได้ความชัดเจนด้านการเงิน การคลัง ความพร้อมและความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละสายทางวงเงินลงทุน ประโยชน์และผลที่ประชาชนได้รับจากโครงการในการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคมได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง” โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ ได้แก่ กระทรวงการคลัง (สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ : สบน. และสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ : สคร.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : สผ.) กระทรวงมหาดไทย (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ (สงป.)สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) รฟท. และ รฟม. มี สนข. เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งได้ประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยพิจารณาจากความพร้อมของแบบรายละเอียด เอกสารประกวดราคา แหล่งเงินลงทุน และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535) รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนี้
3.1 แผนการดำเนินงาน
ที่ โครงการ EIA ออกแบบ/ปรับปรุง ประกวดราคา เริ่มก่อสร้าง
เอกสารประกวดราคา
1 สายสีแดง ผ่านแล้ว ดำเนินการแล้ว เมษายน-50 ตุลาคม-50
ช่วงบางซื่อ-
ตลิ่งชัน
2 สายสีม่วง อยู่ระหว่าง มีแบบรายละเอียด / พฤษภาคม-50 ธันวาคม-50
ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ การพิจารณา ต้องปรับเอกสาร
ของ สผ.
3 สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ ออกแบบรายละเอียด กันยายน-50 เมษายน-51
ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ รอ สผ.พิจารณา/ แล้วเสร็จประมาณ
และหัวลำโพง-บางแค หัวลำโพง-บางแค มิถุนายน-50
ผ่านแล้ว
4 สายสีแดง ผ่านแล้ว/ มีแบบรายละเอียด/ ตุลาคม-50 เมษายน-51
ช่วงบางซื่อ-รังสิต ต้องปรับปรุง ต้องปรับแบบสถานีรถไฟบางซื่อ
เพิ่มเติม
5 สายสีเขียว อยู่ระหว่างการ ออกแบบรายละเอียด ธันวาคม-50 มิถุนายน-51
ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ พิจารณาของ สผ. แล้วเสร็จประมาณ
และแบริ่ง-สมุทรปราการ พฤศจิกายน-50
6 สายสีแดง อยู่ระหว่างการ ออกแบบรายละเอียด ธันวาคม-50 มิถุนายน-51
** ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน- ศึกษาฯ แล้วเสร็จประมาณ
หัวหมาก ธันวาคม-50
** หมายเหตุ : เป็นโครงการที่อยู่ในกรอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 โดย รฟท. ได้นำเสนอในระหว่างการประชุมร่วมตามข้อ 2 ซึ่งมีมติเห็นควรนำเสนอรวมอยู่ในแผนการดำเนินงานรถไฟชานเมือง แต่ยังมิได้พิจารณา
ในคณะกรรมการดำเนินงานรถไฟฟ้าฯ
3.2 การพิจารณาด้านแหล่งเงินลงทุนโครงการ
คณะกรรมการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการเงินและการเดินรถ โดยมีรองผู้อำนวยการ สบน. เป็นประธาน และมีผู้แทนจาก สศช. สงป. สคร. สนข. รฟท. และ รฟม. ร่วมเป็นองค์ประกอบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยคาดว่าจะสามารถรายงานผลการดำเนินงานเรื่องแหล่งเงินเพื่อใช้ในการก่อสร้างได้พร้อมกันในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการเป็นรายสายทาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--