คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 ไตรมาสที่ 1 ดังนี้
1. ภาพรวมของผลการดำเนินงาน
ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 กระทรวงการคลังสามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้ทั้งสิ้น 205,569.49 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.50 จากวงเงินในแผนฯ ทั้งหมด 839,191.79 ล้านบาท การดำเนินการดังกล่าวประกอบด้วยการบริหารหนี้ของรัฐบาล ได้แก่ การ Roll-over ตั๋วเงินคลัง การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล การบริหารเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF การ Refinance และการชำระคืนหนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper คิดเป็นวงเงิน 197,616.49 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการบริหารหนี้และการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 7,953 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างลงจำนวน 18,416.03 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 505 ล้านบาท และประหยัดดอกเบี้ยได้ 305 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินในแผนฯ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 แสดงดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน วงเงิน ผลการดำเนินงาน
ในแผนฯ วงเงิน ร้อยละ
1. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 322,000.00 112,000.00 34.78
2. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 109,731.02 60,500.00 55.13
3. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ไม่มี - -
ของระบบสถาบันการเงิน
4. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 239,036.60 7,953.00 3.33
5. การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 21,545.71 - -
6. การบริหารหนี้ต่างประเทศ 146,878.46 25,116.49 17.1
รวม 839,191.79 205,569.49 24.5
นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้ทั้งในและต่างประเทศอีกจำนวน 49,977.43
ล้านบาท
2. รายละเอียดของผลการดำเนินงาน
2.1 การ Roll-over ตั๋วเงินคลังและการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล
กระทรวงการคลังออกตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดเพื่อรองรับการทำธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2549 มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาดจำนวน 250,000 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าวได้รวมการกู้เงินในรูปตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลซึ่งสะสมมาในช่วงปี 2542-2547 จำนวน 170,000 ล้านบาท ด้วย กระทรวงการคลังจึงมีแผนที่จะปรับโครงสร้างตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลเป็นพันธบัตรระยะยาว โดยจะทยอยดำเนินการตามความเหมาะสมให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 สามารถดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลได้จำนวน 32,000 ล้านบาท ทำให้มีตั๋วเงินคลัง
ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดจำนวน 218,000 ล้านบาท
2.2 การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF
(1) พันธบัตร FIDF 1
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll-over ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนด ในเดือนตุลาคม 2549 จำนวน 10,000 ล้านบาท และดำเนินการ Roll-over พันธบัตร FIDF 1 ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน 35,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2549 โดยการกู้เงินระยะสั้น จำนวน 31,500 ล้านบาท มาสมทบกับเงินที่ได้จากการประมูลการออกพันธบัตรฯ งวดแรก 3,500 ล้านบาท สำหรับไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดดังกล่าว แล้วจึงจะทยอยประมูล พันธบัตรเพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 ได้ออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ อายุ 20 ปี ไปแล้วจำนวน 11,500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.15 ต่อปี
(2) พันธบัตร FIDF 3
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกพันธบัตร FIDF3 จำนวน 15,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ อายุ 19.59 ปี จำนวน 14,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.85 ต่อปี และพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 ปี จำนวน 1,500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.50 ต่อปี
2.3 การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ดำเนินการออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 1 ปี จำนวน 1,053 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 เพื่อใช้ในการชำระหนี้หลังจากการยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
2.4 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้ดำเนินการออกพันธบัตรวงเงินรวม 6,900 ล้านบาท เพื่อ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืนให้สอดคล้องกับระยะคืนทุนของโครงการ ได้แก่
(1) การเคหะแห่งชาติ วงเงิน 1,000 ล้านบาท
(2) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท
(3) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วงเงิน 1,900 ล้านบาท
(4) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท
2.5 การบริหารหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล
(1) กระทรวงการคลังได้ Refinance หนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper วงเงิน 21,700 ล้านเยน เทียบเท่า 6,771.49 ล้านบาท ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) ส่วนหนึ่ง โดยการออกพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้จำนวน 6,700 ล้านบาท และชำระคืนหนี้ส่วนที่เหลือจำนวน 71.49 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณเพื่อการชำระหนี้
(2) กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการปรับโครงสร้างเงินกู้ตราสารหนี้ชนิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FRN) วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่า 18,345 ล้านบาท ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 โดยใช้งบประมาณเพื่อการชำระหนี้
2.6 การกู้เงินและการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
(1) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศ จำนวน 18,497.07 ล้านบาท เพื่อชำระค่าเครื่องบินโบอิ้ง 777-200ER จำนวน 4 ลำ และกู้เงินระยะสั้นในรูปเงินกู้ ECP เพื่อใช้ชำระหนี้เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ 17 และ 19 ที่ครบกำหนดชำระในเดือนธันวาคม 2549 จำนวน 8,230.36 ล้านบาท
(2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการออกหุ้นกู้ในประเทศจำนวน 12,000 ล้านบาท และกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศจำนวน 11,250 ล้านบาท
3. การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2549 คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 โดยปรับเพิ่มวงเงินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลเพื่อให้สอดรับกับนโยบายการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลของรัฐบาล และปรับวงเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนฯ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2550 ทำให้วงเงินของแผนฯ ที่ได้ปรับปรุงเพิ่มขึ้นเป็น 986,706.79 ล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน วงเงิน
1. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 468,200.00
2. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 109,731.02
3. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ไม่มี
ของระบบสถาบันการเงิน
4. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 240,351.60
5. การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 21,545.71
6. การบริหารหนี้ต่างประเทศ 146,878.46
รวม 986,706.79
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. ภาพรวมของผลการดำเนินงาน
ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 กระทรวงการคลังสามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้ทั้งสิ้น 205,569.49 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.50 จากวงเงินในแผนฯ ทั้งหมด 839,191.79 ล้านบาท การดำเนินการดังกล่าวประกอบด้วยการบริหารหนี้ของรัฐบาล ได้แก่ การ Roll-over ตั๋วเงินคลัง การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล การบริหารเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF การ Refinance และการชำระคืนหนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper คิดเป็นวงเงิน 197,616.49 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการบริหารหนี้และการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 7,953 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างลงจำนวน 18,416.03 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 505 ล้านบาท และประหยัดดอกเบี้ยได้ 305 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินในแผนฯ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 แสดงดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน วงเงิน ผลการดำเนินงาน
ในแผนฯ วงเงิน ร้อยละ
1. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 322,000.00 112,000.00 34.78
2. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 109,731.02 60,500.00 55.13
3. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ไม่มี - -
ของระบบสถาบันการเงิน
4. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 239,036.60 7,953.00 3.33
5. การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 21,545.71 - -
6. การบริหารหนี้ต่างประเทศ 146,878.46 25,116.49 17.1
รวม 839,191.79 205,569.49 24.5
นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้ทั้งในและต่างประเทศอีกจำนวน 49,977.43
ล้านบาท
2. รายละเอียดของผลการดำเนินงาน
2.1 การ Roll-over ตั๋วเงินคลังและการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล
กระทรวงการคลังออกตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดเพื่อรองรับการทำธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2549 มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาดจำนวน 250,000 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าวได้รวมการกู้เงินในรูปตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลซึ่งสะสมมาในช่วงปี 2542-2547 จำนวน 170,000 ล้านบาท ด้วย กระทรวงการคลังจึงมีแผนที่จะปรับโครงสร้างตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลเป็นพันธบัตรระยะยาว โดยจะทยอยดำเนินการตามความเหมาะสมให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 สามารถดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลได้จำนวน 32,000 ล้านบาท ทำให้มีตั๋วเงินคลัง
ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดจำนวน 218,000 ล้านบาท
2.2 การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF
(1) พันธบัตร FIDF 1
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll-over ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนด ในเดือนตุลาคม 2549 จำนวน 10,000 ล้านบาท และดำเนินการ Roll-over พันธบัตร FIDF 1 ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน 35,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2549 โดยการกู้เงินระยะสั้น จำนวน 31,500 ล้านบาท มาสมทบกับเงินที่ได้จากการประมูลการออกพันธบัตรฯ งวดแรก 3,500 ล้านบาท สำหรับไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดดังกล่าว แล้วจึงจะทยอยประมูล พันธบัตรเพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 ได้ออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ อายุ 20 ปี ไปแล้วจำนวน 11,500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.15 ต่อปี
(2) พันธบัตร FIDF 3
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกพันธบัตร FIDF3 จำนวน 15,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ อายุ 19.59 ปี จำนวน 14,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.85 ต่อปี และพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 ปี จำนวน 1,500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.50 ต่อปี
2.3 การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ดำเนินการออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 1 ปี จำนวน 1,053 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 เพื่อใช้ในการชำระหนี้หลังจากการยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
2.4 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้ดำเนินการออกพันธบัตรวงเงินรวม 6,900 ล้านบาท เพื่อ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืนให้สอดคล้องกับระยะคืนทุนของโครงการ ได้แก่
(1) การเคหะแห่งชาติ วงเงิน 1,000 ล้านบาท
(2) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท
(3) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วงเงิน 1,900 ล้านบาท
(4) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท
2.5 การบริหารหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล
(1) กระทรวงการคลังได้ Refinance หนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper วงเงิน 21,700 ล้านเยน เทียบเท่า 6,771.49 ล้านบาท ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) ส่วนหนึ่ง โดยการออกพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้จำนวน 6,700 ล้านบาท และชำระคืนหนี้ส่วนที่เหลือจำนวน 71.49 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณเพื่อการชำระหนี้
(2) กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการปรับโครงสร้างเงินกู้ตราสารหนี้ชนิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FRN) วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่า 18,345 ล้านบาท ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 โดยใช้งบประมาณเพื่อการชำระหนี้
2.6 การกู้เงินและการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
(1) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศ จำนวน 18,497.07 ล้านบาท เพื่อชำระค่าเครื่องบินโบอิ้ง 777-200ER จำนวน 4 ลำ และกู้เงินระยะสั้นในรูปเงินกู้ ECP เพื่อใช้ชำระหนี้เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ 17 และ 19 ที่ครบกำหนดชำระในเดือนธันวาคม 2549 จำนวน 8,230.36 ล้านบาท
(2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการออกหุ้นกู้ในประเทศจำนวน 12,000 ล้านบาท และกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศจำนวน 11,250 ล้านบาท
3. การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2549 คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 โดยปรับเพิ่มวงเงินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลเพื่อให้สอดรับกับนโยบายการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลของรัฐบาล และปรับวงเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนฯ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2550 ทำให้วงเงินของแผนฯ ที่ได้ปรับปรุงเพิ่มขึ้นเป็น 986,706.79 ล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน วงเงิน
1. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 468,200.00
2. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 109,731.02
3. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ไม่มี
ของระบบสถาบันการเงิน
4. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 240,351.60
5. การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 21,545.71
6. การบริหารหนี้ต่างประเทศ 146,878.46
รวม 986,706.79
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--