สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 23, 2010 16:47 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2553) ของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 15-21 มิถุนายน 2553)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก ลำปาง ลำพูน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุทัยธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และจังหวัดลพบุรี รวม 128 อำเภอ 928 ตำบล 8,685 หมู่บ้าน แยกเป็น

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 15-21 มิถุนายน 2553)

ที่                             พื้นที่ประสบภัย                                                   ราษฎรประสบภัย
   ภาค       จังหวัด     อำเภอ     ตำบล      หมู่บ้าน     รายชื่อจังหวัด                           คน      ครัวเรือน
1  เหนือ          9        63      418      3,650     เชียงราย เชียงใหม่ ตาก             794,803      250,099
                                                     ลำปาง ลำพูน พิจิตร พิษณุโลก
                                                     สุโขทัย อุทัยธานี
2  ตะวันออก       8        60      458      4,638     กาฬสินธุ์ นครราชสีมา มหาสารคาม    1,420,445      386,214
   เฉียงเหนือ                                          บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด
                                                     ศรีสะเกษ
3  กลาง          1         5       52        397     ลพบุรี                            153,967       47,838
รวมทั้งประเทศ     18       128      928      8,685                                   2,369,215      684,151

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค       จำนวนหมู่บ้าน    25-31 พ.ค. 2553       1-7 มิ.ย. 2553       8-14 มิ.ย. 2553      15-21 มิ.ย. 2553
            ทั้งหมด          หมู่      + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม        หมู่      + เพิ่ม
                           บ้าน      - ลด       บ้าน       - ลด       บ้าน       - ลด       บ้าน       - ลด
1 เหนือ        16,590     2,871         0     2,139       -732     1,452       -687     3,650     +2,198
2 ตะวันออก     33,099     9,055         0     4,592     -4,463     4,116       -476     4,638       +522
  เฉียงเหนือ
3 กลาง        11,736         0         0         0          0         0          0       397       +397
  รวม         74,944    11,926         0     6,731     -5,195     5,568     -1,163     8,685     +3,117

เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2553-14 มิถุนายน 2553 ซึ่งมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 12 จังหวัด 83 อำเภอ 583 ตำบล 5,568 หมู่บ้าน แต่เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกยังไม่ทั่วทุกพื้นที่ ส่งผลให้จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น จำนวน 3,117 หมู่บ้าน

หมายเหตุ สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ช่วงระยะเวลาที่มีสถานการณ์ภัยแล้งสูงสุดอยู่ในห้วงระหว่างวันที่ 12-19 เมษายน 2553 มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 60 จังหวัด 463 อำเภอ 3,005 ตำบล 24,248 หมู่บ้าน

1.2 ความเสียหาย

พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 2,170,996 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 1,547,895 ไร่ นาข้าว 182,384 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 440,717 ไร่ โดยมีพื้นที่เกษตรกรเสียหายแล้ว จำนวน 243,440 ไร่ ในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ พิษณุโลก ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ชัยภูมิ นครพนม ยโสธร หนองคาย ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร อำนาจเจริญ กาญจนบุรี ราชบุรี กระบี่ และจังหวัดตรัง

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 662 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 147,079,840 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 1,355 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 384 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 383,360,145 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 151,543,620 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 230,752,859 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 1,063,666 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 238 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 30 จังหวัด โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 20 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 32 เครื่อง ภาคกลาง 83 เครื่อง ภาคตะวันออก 25 เครื่อง และภาคใต้ 78 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 33 คัน 3,628 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 21,768,000 ลิตร

6) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 3,292 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 21,363,000 ลิตร

7) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 4,073 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 28,101,000 ลิตร

8) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 836 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 5,154,096 ลิตร

9) การประปาส่วนภูมิภาค ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย โดยไม่คิดมูลค่าเป็นจำนวน 491,004,000 ล้านลิตร และคิดเป็นยอดเงินรวม จำนวน 7,856,064 บาท

10) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้จัดรถบรรทุกน้ำ 30 คัน เพื่อแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 40.79 ลิตร

11) กรมทรัพยากรน้ำ ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 1,346,000 ลิตร

12) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล แจกน้ำจากจุดจ่ายน้ำถาวร 100 แห่ง ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 81.40 ล้านลิตร

13) กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 236,000 ลิตร

14) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการ 83 วัน จำนวน 2,196 เที่ยว ในพื้นที่ 70 จังหวัด

อนึ่ง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2553 เวลาประมาณ 6.09 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 6.0 ริกเตอร์ บริเวณหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินโดนีเซีย (13.40 N, 92.94 E) ห่างจากชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตประมาณ 817 กิโลเมตร ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

2. สิ่งของพระราชทาน

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำหน่วยรถผลิตน้ำดื่มไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี รวมจ่ายน้ำให้กับประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 2,910,500 ลิตร

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 21-26 มิถุนายน 2553

3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2553หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน และลาวประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 21-22 มิถุนายน 2553 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝน เป็นแห่งๆ ถึงกระจาย หลังจากนั้น ในช่วงวันที่ 23-26 มิถุนายน 2553 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบร่องมรสุมพาดผ่านประเทศพม่า ลาว และเวียดนามตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น

3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มิถุนายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ