คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการจัดทำสัตยาบันสารสำหรับความตกลงการค้าบริการภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีนตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามความตกลงการค้าบริการฯ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ และความตกลงการค้าบริการฯ ระบุให้ทุกประเทศภาคีต้องดำเนินการภายในเพื่อให้ความตกลงการค้าบริการฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550
สาระสำคัญของความตกลงการค้าบริการฯ สรุปได้ ดังนี้
1. ความตกลงฯ มีผลครอบคลุมธุรกิจบริการภาคเอกชนทุกสาขา โดยไม่ครอบคลุมการให้บริการและการจัดซื้อจัดจ้างบริการโดยรัฐ
2. ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนสามารถออกมาตรการที่อาจมีผลขัดกับบทบัญญัติบางข้อในความตกลงฯ ได้ในบางกรณี เช่น ถูกกำหนดให้เป็นกรณียกเว้นทั่วไป เป็นกรณียกเว้นเพื่อความมั่นคง และเป็นไปเพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน เป็นต้น
3. ระดับการเปิดตลาดของแต่ละประเทศจะระบุอยู่ในตารางข้อผูกพันของแต่ละประเทศและปรากฏอยู่ในส่วนแนบท้ายความตกลงฯ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงฯ
4. ไทยเสนอผูกพันเปิดตลาดภายใต้กรอบที่กฎหมายปัจจุบันอนุญาตให้ต่างชาติประกอบธุรกิจได้ คือ ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนสามารถเข้ามาประกอบธุรกิจได้โดยถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 และมีเงื่อนไขอื่นตามกฎหมายเฉพาะสาขา เช่น ในสาขาวิชาชีพต้องเป็นไปตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
ข้อผูกพันสาขาการเปิดตลาดกลุ่มแรก
1. ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งไทยเสนอผูกพันเปิดตลาดในระดับสูงกว่าที่เปิดตลาดภายใต้ WTO แต่ต่ำกว่าที่เปิดตลาดให้กันเองในอาเซียน โดยกิจกรรมที่ไทยเสนอเปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากข้อผูกพันภายใต้ WTO ครอบคลุมกิจกรรมบริการบางประเภทในสาขาวิชาชีพ การศึกษา บริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางเรือ
2. สำหรับจีนเสนอเปิดตลาดเพิ่มเติมจากข้อผูกพันภายใต้ WTO โดยครอบคลุมกิจกรรมในสาขาบริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการขนส่งสินค้าทางถนน และบริการธุรกิจ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (สำนักงานปลัดกระทรวง) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) และกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานปลัดกระทรวง) พิจารณาแล้ว ยืนยันความพร้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงฯ ส่วนกระทรวงคมนาคม (สำนักงานปลัดกระทรวง) พิจารณาแล้วไม่ขัดข้องต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลง แต่มีข้อสังเกตว่า “Maritime cargo handling Services” หมายถึง “บริการยกขนสินค้าที่ขนส่งทางทะเล” ส่วน “Maritime freight forwarding Services” หมายถึง “บริการรับจัดการสินค้าที่ขนส่งทางทะเล”
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามความตกลงการค้าบริการฯ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ และความตกลงการค้าบริการฯ ระบุให้ทุกประเทศภาคีต้องดำเนินการภายในเพื่อให้ความตกลงการค้าบริการฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550
สาระสำคัญของความตกลงการค้าบริการฯ สรุปได้ ดังนี้
1. ความตกลงฯ มีผลครอบคลุมธุรกิจบริการภาคเอกชนทุกสาขา โดยไม่ครอบคลุมการให้บริการและการจัดซื้อจัดจ้างบริการโดยรัฐ
2. ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนสามารถออกมาตรการที่อาจมีผลขัดกับบทบัญญัติบางข้อในความตกลงฯ ได้ในบางกรณี เช่น ถูกกำหนดให้เป็นกรณียกเว้นทั่วไป เป็นกรณียกเว้นเพื่อความมั่นคง และเป็นไปเพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน เป็นต้น
3. ระดับการเปิดตลาดของแต่ละประเทศจะระบุอยู่ในตารางข้อผูกพันของแต่ละประเทศและปรากฏอยู่ในส่วนแนบท้ายความตกลงฯ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงฯ
4. ไทยเสนอผูกพันเปิดตลาดภายใต้กรอบที่กฎหมายปัจจุบันอนุญาตให้ต่างชาติประกอบธุรกิจได้ คือ ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนสามารถเข้ามาประกอบธุรกิจได้โดยถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 และมีเงื่อนไขอื่นตามกฎหมายเฉพาะสาขา เช่น ในสาขาวิชาชีพต้องเป็นไปตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
ข้อผูกพันสาขาการเปิดตลาดกลุ่มแรก
1. ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งไทยเสนอผูกพันเปิดตลาดในระดับสูงกว่าที่เปิดตลาดภายใต้ WTO แต่ต่ำกว่าที่เปิดตลาดให้กันเองในอาเซียน โดยกิจกรรมที่ไทยเสนอเปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากข้อผูกพันภายใต้ WTO ครอบคลุมกิจกรรมบริการบางประเภทในสาขาวิชาชีพ การศึกษา บริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางเรือ
2. สำหรับจีนเสนอเปิดตลาดเพิ่มเติมจากข้อผูกพันภายใต้ WTO โดยครอบคลุมกิจกรรมในสาขาบริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการขนส่งสินค้าทางถนน และบริการธุรกิจ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (สำนักงานปลัดกระทรวง) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) และกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานปลัดกระทรวง) พิจารณาแล้ว ยืนยันความพร้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงฯ ส่วนกระทรวงคมนาคม (สำนักงานปลัดกระทรวง) พิจารณาแล้วไม่ขัดข้องต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลง แต่มีข้อสังเกตว่า “Maritime cargo handling Services” หมายถึง “บริการยกขนสินค้าที่ขนส่งทางทะเล” ส่วน “Maritime freight forwarding Services” หมายถึง “บริการรับจัดการสินค้าที่ขนส่งทางทะเล”
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--