แท็ก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
กรมการขนส่งทางบก
นายกรัฐมนตรี
สภาวะโลกร้อน
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติในหลักการแผนบรรเทาภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาตินำแผนดังกล่าวไปบูรณาการให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนงบประมาณในการดำเนินการตามแผนงานให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ให้ใช้งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ 2551 ไปก่อน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nation Framework Convention of Climate Change) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ภายใต้อนุสัญญา ฯ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 เพื่อความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของโลกร้อนและนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยแบ่งกลุ่มประเทศออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.1 กลุ่มประเทศภายใต้ภาคผนวกที่ 1 ได้แก่ ประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง จึงมีพันธกรณีที่ต้องลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
1.2 กลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (รวมประเทศไทย) ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจ
2. ภาคเกษตรกรรมมีบทบาทในเรื่องโลกร้อนสองด้าน คือ เป็นผู้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมากักเก็บไว้ในมวลชีวภาพ ซึ่งในอนาคตเมื่อประชาชนเพิ่มมากขึ้น ภาคเกษตรซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารและให้ความมั่นคงด้านอาหารแก่ประชากรโลก จะเป็นภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต้องมีการปรับตัว และเนื่องจากเป็นภาคที่สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญจากชั้นบรรยากาศและตรึงไว้ในต้นพืช ซากสัตว์ และดินได้ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากภาคอื่น ๆ และใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อศึกษาวิจัยด้านการปลดปล่อยและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกพื้นที่ง่ายต่อการได้รับผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่การเกษตร
3.2 เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ และระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพทันสมัย สามารถเข้าถึงเพื่อรองรับภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร
3.3 เพื่อให้ทราบถึงพื้นที่และกิจกรรมการใช้ที่ดินที่ง่ายต่อการได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อปรับระบบการปลูกพืช ดำเนินการป้องกันแก้ไขและบรรเทาผลกระทบได้ทันท่วงที
3.4 เพื่อพัฒนาหน่วยงาน บุคลากร เกษตรกร บุคคลที่เกี่ยวข้องและระบบความร่วมมือให้สามารถดำเนินโครงการเพื่อรองรับกับภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร
4. เป้าหมาย
4.1 หน่วยงานใน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทราบและตระหนักถึงภัยจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อการเกษตรกรรมและปรับระบบการใช้ที่ดินให้เหมาะสม
4.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้และระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลด ตรึง ก๊าซเรือนกระจกและข้อมูล เพื่อรองรับภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร
4.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม
4.4 พื้นที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน 18.6 ล้านไร่ ได้รับการดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาจากผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน
5. ระยะเวลาดำเนินงาน
เริ่มตั้งแต่ ตุลาคม 2550 — กันยายน 2554 รวม 4 ปี
6. สถานที่ดำเนินงาน
ดำเนินงานในพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและพื้นที่นำร่องที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้งและเสื่อมโทรมซ้ำซาก 18.6 ล้านไร่
7. ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
7.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการองค์ความรู้:ให้มีการจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีสาเหตุสำคัญจากกิจกรรมด้านการเกษตรที่สำคัญ โดยแบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็น 5 ด้าน คือ พืช ดิน น้ำ ปศุสัตว์และการประมง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการเกษตร
7.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การป้องกันและแก้ไขปัญหา:โดยการนำมาตรการ เทคนิค และวิธีการที่เหมาะสมมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ง่ายต่อการได้รับผลกระทบ ขนาดของพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ จำนวนครัวเรือนของเกษตรกรในพื้นที่ที่จะได้รับความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ โดยแบ่งแผนงาน ออกเป็น 5 ด้าน คือ พืช ดิน น้ำ ปศุสัตว์และการประมง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการเกษตร
7.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการรณรงค์เผยแพร่การประชาสัมพันธ์และพัฒนาบุคลากร : สังเคราะห์ข้อมูลและจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบและมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เป็นแนวทางในการบรรเทาปัญหาโลกร้อนด้านการเกษตร ปลุกจิตสำนึกให้รักษ์สิ่งแวดล้อม จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ชะลอความเสื่อมโทรมของดิน สร้างความตระหนักและยอมรับในความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งให้มีการพัฒนาบุคลากรของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่แท้จริง สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเป็นโครงการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nation Framework Convention of Climate Change) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ภายใต้อนุสัญญา ฯ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 เพื่อความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของโลกร้อนและนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยแบ่งกลุ่มประเทศออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.1 กลุ่มประเทศภายใต้ภาคผนวกที่ 1 ได้แก่ ประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง จึงมีพันธกรณีที่ต้องลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
1.2 กลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (รวมประเทศไทย) ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจ
2. ภาคเกษตรกรรมมีบทบาทในเรื่องโลกร้อนสองด้าน คือ เป็นผู้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมากักเก็บไว้ในมวลชีวภาพ ซึ่งในอนาคตเมื่อประชาชนเพิ่มมากขึ้น ภาคเกษตรซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารและให้ความมั่นคงด้านอาหารแก่ประชากรโลก จะเป็นภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต้องมีการปรับตัว และเนื่องจากเป็นภาคที่สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญจากชั้นบรรยากาศและตรึงไว้ในต้นพืช ซากสัตว์ และดินได้ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากภาคอื่น ๆ และใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อศึกษาวิจัยด้านการปลดปล่อยและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกพื้นที่ง่ายต่อการได้รับผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่การเกษตร
3.2 เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ และระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพทันสมัย สามารถเข้าถึงเพื่อรองรับภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร
3.3 เพื่อให้ทราบถึงพื้นที่และกิจกรรมการใช้ที่ดินที่ง่ายต่อการได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อปรับระบบการปลูกพืช ดำเนินการป้องกันแก้ไขและบรรเทาผลกระทบได้ทันท่วงที
3.4 เพื่อพัฒนาหน่วยงาน บุคลากร เกษตรกร บุคคลที่เกี่ยวข้องและระบบความร่วมมือให้สามารถดำเนินโครงการเพื่อรองรับกับภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร
4. เป้าหมาย
4.1 หน่วยงานใน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทราบและตระหนักถึงภัยจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อการเกษตรกรรมและปรับระบบการใช้ที่ดินให้เหมาะสม
4.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้และระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลด ตรึง ก๊าซเรือนกระจกและข้อมูล เพื่อรองรับภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร
4.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม
4.4 พื้นที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน 18.6 ล้านไร่ ได้รับการดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาจากผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน
5. ระยะเวลาดำเนินงาน
เริ่มตั้งแต่ ตุลาคม 2550 — กันยายน 2554 รวม 4 ปี
6. สถานที่ดำเนินงาน
ดำเนินงานในพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและพื้นที่นำร่องที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้งและเสื่อมโทรมซ้ำซาก 18.6 ล้านไร่
7. ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
7.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการองค์ความรู้:ให้มีการจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีสาเหตุสำคัญจากกิจกรรมด้านการเกษตรที่สำคัญ โดยแบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็น 5 ด้าน คือ พืช ดิน น้ำ ปศุสัตว์และการประมง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการเกษตร
7.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การป้องกันและแก้ไขปัญหา:โดยการนำมาตรการ เทคนิค และวิธีการที่เหมาะสมมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ง่ายต่อการได้รับผลกระทบ ขนาดของพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ จำนวนครัวเรือนของเกษตรกรในพื้นที่ที่จะได้รับความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ โดยแบ่งแผนงาน ออกเป็น 5 ด้าน คือ พืช ดิน น้ำ ปศุสัตว์และการประมง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการเกษตร
7.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการรณรงค์เผยแพร่การประชาสัมพันธ์และพัฒนาบุคลากร : สังเคราะห์ข้อมูลและจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบและมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เป็นแนวทางในการบรรเทาปัญหาโลกร้อนด้านการเกษตร ปลุกจิตสำนึกให้รักษ์สิ่งแวดล้อม จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ชะลอความเสื่อมโทรมของดิน สร้างความตระหนักและยอมรับในความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งให้มีการพัฒนาบุคลากรของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่แท้จริง สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเป็นโครงการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--