แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
สุขภัณฑ์กะรัต
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับประเด็นอภิปรายในเรื่องมาตรการส่งเสริมสนับสนุนให้มีหอพักที่ดีและมีมาตรฐานบรรจุไว้ในแผนดังกล่าวด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ประกาศใช้มานานแล้ว ทำให้สาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินกิจการหอพักไม่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน สมควรกำหนดแนวทางและวิธีการในการกำกับดูแลและควบคุมการดำเนินกิจการหอพักให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างการศึกษาเล่าเรียน และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างมาตรา 2) และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดคำนิยาม “นักเรียน” “นิสิตนักศึกษา” “สถานศึกษา” และ “ผู้ดำเนินกิจการหอพัก” เป็นต้น (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยร่วมกันเป็นผู้รักษาการ (ร่างมาตรา 5 )
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก และกำหนดอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ องค์ประชุม (ร่างมาตรา 6 ถึงร่างมาตรา 12)
5. กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก (ร่างมาตรา 13)
6. กำหนดให้หอพักมี 4 ประเภท คือ หอพักชาย หอพักหญิง หอพักประจำและหอพักสหศึกษา โดยให้คณะกรรมการฯ เป็นผู้กำหนดรูปแบบและวิธีปฏิบัติ (ร่างมาตรา 14)
7. กำหนดให้ผู้จัดตั้งหอพัก ผู้ดำเนินกิจการหอพักและผู้จัดการหอพักต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน หากดำเนินการโดยไม่มีใบอนุญาตมีโทษทางอาญา (ร่างมาตรา 16 และร่างมาตรา 42)
8. กำหนดให้ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามกฎหมายนี้ เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร่างมาตรา 20)
9. ผู้ดำเนินกิจการหอพักต้องจัดให้มีระเบียบประจำหอพัก ป้ายประจำหอพักและกำหนดให้ต้องดูแลสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของผู้พัก (ร่างมาตรา 28 ร่างมาตรา 29 และร่างมาตรา 42)
10. กำหนดให้หอพักที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาจได้รับสิทธิประโยชน์และการสนับสนุนจากรัฐ (ร่างมาตรา 37)
11. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจควบคุมหอพัก โดยการเข้าไปตรวจตราหอพัก หรือเรียกผู้ดำเนินกิจการหอพักมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินกิจการหอพักได้ หากมีการฝ่าฝืน นายทะเบียนมีอำนาจควบคุมหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ (ร่างมาตรา 38 และร่างมาตรา 39)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับประเด็นอภิปรายในเรื่องมาตรการส่งเสริมสนับสนุนให้มีหอพักที่ดีและมีมาตรฐานบรรจุไว้ในแผนดังกล่าวด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ประกาศใช้มานานแล้ว ทำให้สาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินกิจการหอพักไม่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน สมควรกำหนดแนวทางและวิธีการในการกำกับดูแลและควบคุมการดำเนินกิจการหอพักให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างการศึกษาเล่าเรียน และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างมาตรา 2) และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดคำนิยาม “นักเรียน” “นิสิตนักศึกษา” “สถานศึกษา” และ “ผู้ดำเนินกิจการหอพัก” เป็นต้น (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยร่วมกันเป็นผู้รักษาการ (ร่างมาตรา 5 )
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก และกำหนดอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ องค์ประชุม (ร่างมาตรา 6 ถึงร่างมาตรา 12)
5. กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก (ร่างมาตรา 13)
6. กำหนดให้หอพักมี 4 ประเภท คือ หอพักชาย หอพักหญิง หอพักประจำและหอพักสหศึกษา โดยให้คณะกรรมการฯ เป็นผู้กำหนดรูปแบบและวิธีปฏิบัติ (ร่างมาตรา 14)
7. กำหนดให้ผู้จัดตั้งหอพัก ผู้ดำเนินกิจการหอพักและผู้จัดการหอพักต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน หากดำเนินการโดยไม่มีใบอนุญาตมีโทษทางอาญา (ร่างมาตรา 16 และร่างมาตรา 42)
8. กำหนดให้ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามกฎหมายนี้ เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร่างมาตรา 20)
9. ผู้ดำเนินกิจการหอพักต้องจัดให้มีระเบียบประจำหอพัก ป้ายประจำหอพักและกำหนดให้ต้องดูแลสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของผู้พัก (ร่างมาตรา 28 ร่างมาตรา 29 และร่างมาตรา 42)
10. กำหนดให้หอพักที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาจได้รับสิทธิประโยชน์และการสนับสนุนจากรัฐ (ร่างมาตรา 37)
11. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจควบคุมหอพัก โดยการเข้าไปตรวจตราหอพัก หรือเรียกผู้ดำเนินกิจการหอพักมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินกิจการหอพักได้ หากมีการฝ่าฝืน นายทะเบียนมีอำนาจควบคุมหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ (ร่างมาตรา 38 และร่างมาตรา 39)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--