คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2553) ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ประธานกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกและการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่เสนอ โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ส่วนรายละเอียดเรื่องงบประมาณให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
ร่างแผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551-2553 มีสาระสำคัญดังนี้
1. แนวคิดและหลักการ ปรับแนวคิดการดำเนินการแบบบูรณาการและเป็นระบบโดยพิจารณาตั้งแต่การป้องกันและการเตรียมแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่บนพื้นฐานองค์ความรู้และบริบทสังคมไทย
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์การจัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์มี 8 มาตรการ
2.2 ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ทั้งในสัตว์ และคนมี 11 มาตรการ
2.3 ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ มี 8 มาตรการ
2.4 ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาประเทศ มี 6 มาตรการ
3. หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ และมีหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สถาบันอุดมศึกษา กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชน เป็นต้น
4. กลไกการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ
4.1 ในระยะแรก ให้คณะกรรมการอำนวยฯ ซึ่งจัดตั้งโดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะอนุกรรมการประสานการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานการขับเคลื่อนแผนฯ สู่การปฏิบัติ โดยมีภารกิจสำคัญ ได้แก่ ประสานงานให้เป็นไปตามแผนฯ ติดตามประเมินผล รวมทั้งปรับแผนฯ ตามสถานการณ์ และเป็นศูนย์ประสานงานด้านวิชาการและความร่วมมือ
4.2 ในระยะต่อไป มีการปรับปรุง ดังนี้
4.2.1 ปรับปรุงคณะกรรมการอำนวยฯ เป็นองค์กรถาวร โดยจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับ และมีสำนักงานประสานการป้อกัน แก้ไขและเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นฝ่ายเลขานุการฯ มีภารกิจครอบคลุมโรคอุบัติใหม่อื่น ๆด้วย และเป็นกลไกจัดการฐานความรู้ โรคไข้หวัดนกและโรคอุบัติใหม่ โดยคณะกรรมการฯ มีภารกิจสำคัญ ได้แก่ กำกับเชิงนโยบายและประสานการปฏิบัติ กำกับการจัดการและประสานองค์ความรู้โรคไข้หวัดนกและโรคไข้หวัดใหญ่และโรคอุบัติใหม่อื่น รวมทั้งประสาน
ความร่วมมือทั้งภายในและต่างประเทศ ติดตามประเมินผล และประสานการปรับปรุงแผนฯ ให้ทันต่อสถานการณ์ และประสานจัดทำงบประมาณประจำปี รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ
4.2.2 จัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เป็นอิสระในการบริหารจัดการ โดยมีกฎหมายรองรับให้เป็นองค์กรถาวรเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และปัญหาของโรคอุบัติใหม่ต่าง ๆ
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2550 วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2550 มีดังนี้
1. แผนยุทธศาสตร์ ฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551-2553 เป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาจากแผนฯ ฉบับที่ 1 โดยมีการพิจารณาในทุกมิติทั้งด้านการป้องกันการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับโรคไข้หวัดนกและการระบาดของไข้หวัดใหญ่ การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ เป็นต้น ดังนั้น การใช้งบประมาณจึงสูงกว่าแผนฯ ฉบับที่ 1
2. อย่างไรก็ตาม แผนยุทธศาสตร์ควรให้ครอบคลุมทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้งถิ่น นอกจากนั้นมาตรการและแนวทางการดำเนินการควรมีความชัดเจนเพื่อสำนักงบประมาณจะสามารถวิเคราะห์งบประมาณได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น
3. ในการพิจารณาอนุญาตให้เคลื่อนย้ายสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรมีวิธีการที่จะอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ประสงค์จะขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ด้วย
4. นอกจากนั้น ควรคำนึงถึงสภาพความเป็นจริง ความเหมาะสม ด้านภูมิสังคม ความเข้าใจและการเรียนรู้ร่วมกันของประชาชน ความพร้อมด้านต่างๆ ที่พึงมีรวมถึงด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของมนุษยชาติ ทั้งด้านผู้ผลิตและการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
ร่างแผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551-2553 มีสาระสำคัญดังนี้
1. แนวคิดและหลักการ ปรับแนวคิดการดำเนินการแบบบูรณาการและเป็นระบบโดยพิจารณาตั้งแต่การป้องกันและการเตรียมแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่บนพื้นฐานองค์ความรู้และบริบทสังคมไทย
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์การจัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์มี 8 มาตรการ
2.2 ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ทั้งในสัตว์ และคนมี 11 มาตรการ
2.3 ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ มี 8 มาตรการ
2.4 ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาประเทศ มี 6 มาตรการ
3. หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ และมีหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สถาบันอุดมศึกษา กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชน เป็นต้น
4. กลไกการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ
4.1 ในระยะแรก ให้คณะกรรมการอำนวยฯ ซึ่งจัดตั้งโดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะอนุกรรมการประสานการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานการขับเคลื่อนแผนฯ สู่การปฏิบัติ โดยมีภารกิจสำคัญ ได้แก่ ประสานงานให้เป็นไปตามแผนฯ ติดตามประเมินผล รวมทั้งปรับแผนฯ ตามสถานการณ์ และเป็นศูนย์ประสานงานด้านวิชาการและความร่วมมือ
4.2 ในระยะต่อไป มีการปรับปรุง ดังนี้
4.2.1 ปรับปรุงคณะกรรมการอำนวยฯ เป็นองค์กรถาวร โดยจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับ และมีสำนักงานประสานการป้อกัน แก้ไขและเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นฝ่ายเลขานุการฯ มีภารกิจครอบคลุมโรคอุบัติใหม่อื่น ๆด้วย และเป็นกลไกจัดการฐานความรู้ โรคไข้หวัดนกและโรคอุบัติใหม่ โดยคณะกรรมการฯ มีภารกิจสำคัญ ได้แก่ กำกับเชิงนโยบายและประสานการปฏิบัติ กำกับการจัดการและประสานองค์ความรู้โรคไข้หวัดนกและโรคไข้หวัดใหญ่และโรคอุบัติใหม่อื่น รวมทั้งประสาน
ความร่วมมือทั้งภายในและต่างประเทศ ติดตามประเมินผล และประสานการปรับปรุงแผนฯ ให้ทันต่อสถานการณ์ และประสานจัดทำงบประมาณประจำปี รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ
4.2.2 จัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เป็นอิสระในการบริหารจัดการ โดยมีกฎหมายรองรับให้เป็นองค์กรถาวรเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และปัญหาของโรคอุบัติใหม่ต่าง ๆ
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2550 วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2550 มีดังนี้
1. แผนยุทธศาสตร์ ฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551-2553 เป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาจากแผนฯ ฉบับที่ 1 โดยมีการพิจารณาในทุกมิติทั้งด้านการป้องกันการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับโรคไข้หวัดนกและการระบาดของไข้หวัดใหญ่ การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ เป็นต้น ดังนั้น การใช้งบประมาณจึงสูงกว่าแผนฯ ฉบับที่ 1
2. อย่างไรก็ตาม แผนยุทธศาสตร์ควรให้ครอบคลุมทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้งถิ่น นอกจากนั้นมาตรการและแนวทางการดำเนินการควรมีความชัดเจนเพื่อสำนักงบประมาณจะสามารถวิเคราะห์งบประมาณได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น
3. ในการพิจารณาอนุญาตให้เคลื่อนย้ายสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรมีวิธีการที่จะอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ประสงค์จะขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ด้วย
4. นอกจากนั้น ควรคำนึงถึงสภาพความเป็นจริง ความเหมาะสม ด้านภูมิสังคม ความเข้าใจและการเรียนรู้ร่วมกันของประชาชน ความพร้อมด้านต่างๆ ที่พึงมีรวมถึงด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของมนุษยชาติ ทั้งด้านผู้ผลิตและการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--