แท็ก
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติ แห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป และให้กระทรวงยุติธรรมรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาว่า กำหนดระยะเวลาปลดจากล้มละลายในปัจจุบันซึ่งกำหนดไว้เป็นเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย ยังมีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันหรือไม่ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า เนื่องจากมีการปรับปรุงค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายในมาตรา 12 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ซึ่งส่งผลให้ลำดับอัตราค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ จากเดิมที่มีเพียงสามอนุมาตรา ก็ได้มีการบัญญัติเพิ่มเติมใหม่ให้มีสี่อนุมาตรา และในส่วนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินจากเดิมที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 179 (3) ก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นบัญญัติไว้ในมาตรา 179 (4) แทน แต่หาได้มีการแก้ไขมาตรา 130(4) ควบคู่กันไปแต่อย่างใด บทบัญญัติมาตรา 130 (4) ยังคงบัญญัติให้ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินเป็นไปตามมาตรา 179 (3) ตามเดิมอยู่ ดังนั้นเพื่อให้บทบัญญัติมาตรา 130 (4) สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 179 จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขความในมาตรา 130 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในส่วนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินให้สอดคล้องตามความในมาตรา 179 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า เนื่องจากมีการปรับปรุงค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายในมาตรา 12 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ซึ่งส่งผลให้ลำดับอัตราค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ จากเดิมที่มีเพียงสามอนุมาตรา ก็ได้มีการบัญญัติเพิ่มเติมใหม่ให้มีสี่อนุมาตรา และในส่วนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินจากเดิมที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 179 (3) ก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นบัญญัติไว้ในมาตรา 179 (4) แทน แต่หาได้มีการแก้ไขมาตรา 130(4) ควบคู่กันไปแต่อย่างใด บทบัญญัติมาตรา 130 (4) ยังคงบัญญัติให้ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินเป็นไปตามมาตรา 179 (3) ตามเดิมอยู่ ดังนั้นเพื่อให้บทบัญญัติมาตรา 130 (4) สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 179 จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขความในมาตรา 130 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในส่วนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินให้สอดคล้องตามความในมาตรา 179 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--