คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการที่เห็นชอบกรอบการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงสร้างการบริหารการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย สำหรับเรื่องงบประมาณ ให้กระทรวงศึกษาธิการขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดตามความจำเป็นเหมาะสมต่อไป
กรอบการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2550 ประกอบด้วยยุทธศาสตร์เป้าหมาย และมาตรการดำเนินงาน ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์ ยึดหลักการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความต้องการของท้องถิ่นและประชาชนที่มีลักษณะเฉพาะบนพื้นฐานของหลักศาสนาเข้ากับวิสามัญและวิชาชีพที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่น
2) เป้าหมาย เพื่อพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความต้องการของผู้เรียนประชาชน และให้การศึกษามีบทบาทในการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3) มาตรการดำเนินงาน เพื่อให้มีรูปแบบและวิธีการดำเนินงานในการแก้ปัญหาทางการศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้อง จึงได้กำหนดมาตรการ ดังต่อไปนี้1. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 2. การพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ 3. การพัฒนาสถานศึกษของเอกชน 4. การพัฒนาอาชีพและการศึกษานอกโรงเรียน 6. การสร้างขวัญกำลังใจการปฏิบัติงานของบุคลากร 7. การปรับโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาให้เป็นเอกภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2550--จบ--
กรอบการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2550 ประกอบด้วยยุทธศาสตร์เป้าหมาย และมาตรการดำเนินงาน ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์ ยึดหลักการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความต้องการของท้องถิ่นและประชาชนที่มีลักษณะเฉพาะบนพื้นฐานของหลักศาสนาเข้ากับวิสามัญและวิชาชีพที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่น
2) เป้าหมาย เพื่อพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความต้องการของผู้เรียนประชาชน และให้การศึกษามีบทบาทในการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3) มาตรการดำเนินงาน เพื่อให้มีรูปแบบและวิธีการดำเนินงานในการแก้ปัญหาทางการศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้อง จึงได้กำหนดมาตรการ ดังต่อไปนี้1. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 2. การพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ 3. การพัฒนาสถานศึกษของเอกชน 4. การพัฒนาอาชีพและการศึกษานอกโรงเรียน 6. การสร้างขวัญกำลังใจการปฏิบัติงานของบุคลากร 7. การปรับโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาให้เป็นเอกภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2550--จบ--