แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
อุตสาหกรรม
ปิโตรเคมี
คณะรัฐมนตรีพิจารณา เรื่อง การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศในอนาคต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบผลการศึกษาการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศในอนาคต ดังนี้
สถานภาพปัจจุบันของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard : ESB) ดังนี้
1. ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่มีเงินลงทุนในภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุดของประเทศเมื่อเทียบกับภาคอื่นรองจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา
2. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นฐานการผลิตหลักด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศ ทั้งนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกส่วนใหญ่อยู่ในเขตนิคมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม โดยมีจำนวนนิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดของประเทศถึง 14 แห่ง และเขตประกอบการอุตสาหกรรม 16 แห่ง ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในบริเวณชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยมีแนวโน้มขยายตัวเข้าสู่พื้นที่ตอนในบริเวณปราจีนบุรีและสระแก้วมากขึ้น
3. ขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
1) พื้นที่อุตสาหกรรม อยู่ในระดับเพียงพอ โดยมีพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมรวมประมาณ 100,000 ไร่ ยังคงเหลือพื้นที่เพื่อพัฒนาได้อีกประมาณ 20,000 ไร่
2) ระบบคมนาคมขนส่ง เครือข่ายโลจิสติกส์ไฟฟ้า และระบบการสื่อสารโทรคมนาคม อยู่ในระดับดีที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าเรือมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ (Post Panamax) ได้
3) ระบบน้ำ คาดว่าจะรองรับการใช้น้ำเพียงพอ สำหรับการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม และการเกษตร รวมทั้งการรักษาระบบนิเวศ ได้ถึงปี 2568
4. สถานการณ์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
1) การยอมรับจากชุมชนในพื้นที่ ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นในการจัดการเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน
2) ด้านคุณภาพอากาศ จากข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ชลบุรีและระยองมีความเสี่ยงในด้านมลภาวะทางอากาศ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นและการยอมรับของประชาชนในพื้นที่
3) การจัดการขยะมูลฝอยและสารเคมี ปัจจุบันขีดความสามารถในการกำจัดมูลฝอย ทั้งมูลฝอยจากชุมชน ขยะอันตราย และการควบคุมการปล่อยสารพิษจากแหล่งกำเนิดยังคงเป็นปัญหา ในปี 2548 มีอุบัติภัยจากสารเคมีเฉพาะที่ได้รับรายงานถึง 23 ครั้ง
5. อุตสาหกรรมในอนาคต การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต นั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงสภาพตลาด (Market Conditions) การใช้ปัจจัยการผลิต (Factor Inputs) และการแข่งขัน (Firm Strategy, Structure and Rivalry) แล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Environment Impacts) และความจำเป็นในการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรม (Clustering) ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตของประเทศในระยะต่อไป
6. ขีดความสามารถในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก หากอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพสูงและอุตสาหกรรมโอกาสใหม่ โดยเฉพาะยานยนต์และชิ้นส่วนปิโตรเคมีและพลาสติค ผลิตภัณฑ์ยาง อาหาร และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในระยะต่อไป มีการขยายตัวโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับในช่วงปี 2541-2548 ในระดับร้อยละ 8.9 ต่อปี โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร และระบบน้ำ ยังมีขีดความสามารถเพียงพอในการรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวได้อีกประมาณ 10 ปี ทั้งนี้ จะต้องมีการควบคุมมลภาวะทางอากาศของพื้นที่อย่างเคร่งครัดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อลดความเสี่ยงด้านคุณภาพอากาศ
2. เห็นชอบข้อเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะต่อไป โดยมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้
ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะต่อไป
1. การคัดเลือกพื้นที่ใหม่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม การศึกษาเบื้องต้นเห็นว่า พื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Sea Board : SSB) เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา เนื่องจากในปัจจุบันภาครัฐได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ดังกล่าวแล้วในระดับหนึ่ง ประกอบกับในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านโครงข่ายการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมจำเป็นต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
2. มาตรการดำเนินการระยะต่อไป
1) เร่งรัดจัดตั้งระบบธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการร่วมภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การกำกับดูแลและติดตามสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการพัฒนาในระยะยาว โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ รวมทั้งการจัดสรรรายได้ภาษีบำรุงท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม
2) ดำเนินการควบคุมมลภาวะในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นไปตามมาตรฐานและเป้าหมายด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3) สร้างกลไกให้กลุ่มอุตสาหกรรมสามารถขยายและพัฒนาเทคโนโลยีในการควบคุมมลภาวะ โดยคำนึงถึงความสามารถในการควบคุมมลภาวะมิให้เพิ่มขึ้นในการขยายอุตสาหกรรม
4) บริหารจัดการน้ำและเชื่อมต่อโครงข่ายส่งน้ำและแหล่งน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดสรรน้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และครัวเรือน อย่างสมดุลและมีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
5) เร่งดำเนินการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ตามแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
6) ศึกษาความเหมาะสมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต
7) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเกิดการยอมรับจากประชาชนก่อนดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ใหม่
3. เห็นชอบให้มีการศึกษาในขั้นรายละเอียด เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ
เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต
4. เห็นชอบการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเหมาะสมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพ ของประเทศในอนาคต โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นกรรมการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
1. รับทราบผลการศึกษาการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศในอนาคต ดังนี้
สถานภาพปัจจุบันของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard : ESB) ดังนี้
1. ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่มีเงินลงทุนในภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุดของประเทศเมื่อเทียบกับภาคอื่นรองจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา
2. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นฐานการผลิตหลักด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศ ทั้งนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกส่วนใหญ่อยู่ในเขตนิคมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม โดยมีจำนวนนิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดของประเทศถึง 14 แห่ง และเขตประกอบการอุตสาหกรรม 16 แห่ง ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในบริเวณชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยมีแนวโน้มขยายตัวเข้าสู่พื้นที่ตอนในบริเวณปราจีนบุรีและสระแก้วมากขึ้น
3. ขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
1) พื้นที่อุตสาหกรรม อยู่ในระดับเพียงพอ โดยมีพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมรวมประมาณ 100,000 ไร่ ยังคงเหลือพื้นที่เพื่อพัฒนาได้อีกประมาณ 20,000 ไร่
2) ระบบคมนาคมขนส่ง เครือข่ายโลจิสติกส์ไฟฟ้า และระบบการสื่อสารโทรคมนาคม อยู่ในระดับดีที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าเรือมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ (Post Panamax) ได้
3) ระบบน้ำ คาดว่าจะรองรับการใช้น้ำเพียงพอ สำหรับการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม และการเกษตร รวมทั้งการรักษาระบบนิเวศ ได้ถึงปี 2568
4. สถานการณ์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
1) การยอมรับจากชุมชนในพื้นที่ ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นในการจัดการเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน
2) ด้านคุณภาพอากาศ จากข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ชลบุรีและระยองมีความเสี่ยงในด้านมลภาวะทางอากาศ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นและการยอมรับของประชาชนในพื้นที่
3) การจัดการขยะมูลฝอยและสารเคมี ปัจจุบันขีดความสามารถในการกำจัดมูลฝอย ทั้งมูลฝอยจากชุมชน ขยะอันตราย และการควบคุมการปล่อยสารพิษจากแหล่งกำเนิดยังคงเป็นปัญหา ในปี 2548 มีอุบัติภัยจากสารเคมีเฉพาะที่ได้รับรายงานถึง 23 ครั้ง
5. อุตสาหกรรมในอนาคต การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต นั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงสภาพตลาด (Market Conditions) การใช้ปัจจัยการผลิต (Factor Inputs) และการแข่งขัน (Firm Strategy, Structure and Rivalry) แล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Environment Impacts) และความจำเป็นในการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรม (Clustering) ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตของประเทศในระยะต่อไป
6. ขีดความสามารถในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก หากอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพสูงและอุตสาหกรรมโอกาสใหม่ โดยเฉพาะยานยนต์และชิ้นส่วนปิโตรเคมีและพลาสติค ผลิตภัณฑ์ยาง อาหาร และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในระยะต่อไป มีการขยายตัวโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับในช่วงปี 2541-2548 ในระดับร้อยละ 8.9 ต่อปี โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร และระบบน้ำ ยังมีขีดความสามารถเพียงพอในการรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวได้อีกประมาณ 10 ปี ทั้งนี้ จะต้องมีการควบคุมมลภาวะทางอากาศของพื้นที่อย่างเคร่งครัดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อลดความเสี่ยงด้านคุณภาพอากาศ
2. เห็นชอบข้อเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะต่อไป โดยมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้
ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะต่อไป
1. การคัดเลือกพื้นที่ใหม่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม การศึกษาเบื้องต้นเห็นว่า พื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Sea Board : SSB) เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา เนื่องจากในปัจจุบันภาครัฐได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ดังกล่าวแล้วในระดับหนึ่ง ประกอบกับในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านโครงข่ายการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมจำเป็นต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
2. มาตรการดำเนินการระยะต่อไป
1) เร่งรัดจัดตั้งระบบธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการร่วมภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การกำกับดูแลและติดตามสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการพัฒนาในระยะยาว โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ รวมทั้งการจัดสรรรายได้ภาษีบำรุงท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม
2) ดำเนินการควบคุมมลภาวะในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นไปตามมาตรฐานและเป้าหมายด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3) สร้างกลไกให้กลุ่มอุตสาหกรรมสามารถขยายและพัฒนาเทคโนโลยีในการควบคุมมลภาวะ โดยคำนึงถึงความสามารถในการควบคุมมลภาวะมิให้เพิ่มขึ้นในการขยายอุตสาหกรรม
4) บริหารจัดการน้ำและเชื่อมต่อโครงข่ายส่งน้ำและแหล่งน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดสรรน้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และครัวเรือน อย่างสมดุลและมีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
5) เร่งดำเนินการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ตามแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
6) ศึกษาความเหมาะสมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต
7) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเกิดการยอมรับจากประชาชนก่อนดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ใหม่
3. เห็นชอบให้มีการศึกษาในขั้นรายละเอียด เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ
เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต
4. เห็นชอบการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเหมาะสมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพ ของประเทศในอนาคต โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นกรรมการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--