คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. จัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อทำหน้าที่ในการติดตาม ดูแล และเร่งรัดประสานงานหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และมีเอกภาพ
2. กำหนดการประสานงานเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สาธารณะ โดยให้หน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้องที่พบเห็นการทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรืออันตรายต่อสาธารณะอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษรายงานต่อศูนย์ข้อมูล
3. กำหนดหลักเกณฑ์การประนอมข้อพิพาทให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด
4. การประสานคดีในชั้นการสอบสวน เมื่อมีการทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมและไม่ปรากฏผู้ร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ ให้กรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ดำเนินการ และให้ศูนย์ข้อมูลติดตามผลการดำเนินคดีอาญาในชั้นการสอบสวนแล้วรายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบ สำหรับในภูมิภาคกรณีไม่ปรากฏชัดว่าหน่วยงานใดมีหน้าที่ประสานกับพนักงานสอบสวน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยชี้ขาด
5. กำหนดขั้นตอนประสานคดีอาญาและการดำเนินการของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้พนักงานอัยการประสานงานให้ความรู้ คำปรึกษา และนำ และให้บริการด้านกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่พนักงานสอบสวน หน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานท้องถิ่น องค์กรเอกชน และประชาชน และเมื่อดคีถึงที่สุดให้พนักงานอัยการแจ้งผลคดีแก่ศูนย์ข้อมูลโดยเร็ว เพื่อศูนย์ข้อมูลแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีทราบต่อไป
6. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่คุ้มครอง ส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามกฎหมายรวบรวมข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน เกี่ยวกับค่าเสียหายที่ได้รับ ส่งเรื่องไปยังพนักงานอัยการในการวางรูปคดี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
7. การดำเนินคดีและบังคับคดี นอกจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือค่าเสียหายอันจะเรียกร้องได้ตามกฎหมายเฉพาะแล้ว หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายจะต้องพิสูจน์ถึงค่าเสียหายอื่น ๆ ได้แก่ ค่าเสียหายที่รัฐพึงได้รับจากสิ่งแวดล้อมที่เสียหาย การใช้งบประมาณของรัฐหรือจากแหล่งเงินทุนเพื่อบำบัดพื้นฟูบูรณะความเสียหายให้พ้นสภาพเดิม ภาระที่เพิ่มขึ้นของรัฐในการดูแลสุขภาพ ร่างกาย อนามัยของประชาชนอันจะเกิดในอนาคตด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. จัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อทำหน้าที่ในการติดตาม ดูแล และเร่งรัดประสานงานหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และมีเอกภาพ
2. กำหนดการประสานงานเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สาธารณะ โดยให้หน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้องที่พบเห็นการทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรืออันตรายต่อสาธารณะอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษรายงานต่อศูนย์ข้อมูล
3. กำหนดหลักเกณฑ์การประนอมข้อพิพาทให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด
4. การประสานคดีในชั้นการสอบสวน เมื่อมีการทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมและไม่ปรากฏผู้ร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ ให้กรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ดำเนินการ และให้ศูนย์ข้อมูลติดตามผลการดำเนินคดีอาญาในชั้นการสอบสวนแล้วรายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบ สำหรับในภูมิภาคกรณีไม่ปรากฏชัดว่าหน่วยงานใดมีหน้าที่ประสานกับพนักงานสอบสวน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยชี้ขาด
5. กำหนดขั้นตอนประสานคดีอาญาและการดำเนินการของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้พนักงานอัยการประสานงานให้ความรู้ คำปรึกษา และนำ และให้บริการด้านกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่พนักงานสอบสวน หน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานท้องถิ่น องค์กรเอกชน และประชาชน และเมื่อดคีถึงที่สุดให้พนักงานอัยการแจ้งผลคดีแก่ศูนย์ข้อมูลโดยเร็ว เพื่อศูนย์ข้อมูลแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีทราบต่อไป
6. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่คุ้มครอง ส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามกฎหมายรวบรวมข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน เกี่ยวกับค่าเสียหายที่ได้รับ ส่งเรื่องไปยังพนักงานอัยการในการวางรูปคดี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
7. การดำเนินคดีและบังคับคดี นอกจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือค่าเสียหายอันจะเรียกร้องได้ตามกฎหมายเฉพาะแล้ว หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายจะต้องพิสูจน์ถึงค่าเสียหายอื่น ๆ ได้แก่ ค่าเสียหายที่รัฐพึงได้รับจากสิ่งแวดล้อมที่เสียหาย การใช้งบประมาณของรัฐหรือจากแหล่งเงินทุนเพื่อบำบัดพื้นฟูบูรณะความเสียหายให้พ้นสภาพเดิม ภาระที่เพิ่มขึ้นของรัฐในการดูแลสุขภาพ ร่างกาย อนามัยของประชาชนอันจะเกิดในอนาคตด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--