คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการแก้ไขปัญหาการส่งออกข้าวไปรัสเซียสรุปได้ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. รัสเซียเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารปีละประมาณ 650,000 ล้านบาท แต่นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทยโดยตรงไม่มากนัก ปีละประมาณ 4,000 — 7,000 ล้านบาท จึงถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในอนาคต
2. รัสเซียนำเข้าข้าวปีละประมาณ 350,000 ตัน โดยเป็นการนำเข้าจากไทยประมาณ 50,000 ตัน ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2549 กระทรวงเกษตรรัสเซียห้ามนำเข้าข้าวจากทุกประเทศ โดยระบุเหตุผลว่ามีการเปลี่ยนแปลงระบบการตรวจสอบการนำเข้าข้าวเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพมาตรฐานข้าวที่นำเข้า และปลายเดือนธันวาคมได้อนุญาตให้นำเข้าข้าวจากทุกประเทศเฉพาะด่านนำเข้า 3 ด่านของรัสเซียเท่านั้น
3. วันที่ 25 — 29 ธันวาคม 2549 เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรรัสเซียได้เดินทางมาดูงานกระบวนการผลิตข้าว โรงสี และห้องปฏิบัติการทั้งของกรมวิชาการเกษตรและเอกชน โดยในวันที่ 28 ธันวาคม 2549 หลังจากการประชุมสรุปผลการดูงานแล้ว รัสเซียเสนอให้มีการลงนามในเอกสารความร่วมมือด้านความปลอดภัยของข้าวไทยที่ส่งออกไปรัสเซีย โดยต้องแนบผลตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยอาหารและใบรับรองคุณภาพข้าวประกอบการส่งออกทุกครั้ง แต่ฝ่ายไทยมิได้มีการลงนามแต่อย่างใด
4. ปลายเดือนมกราคม 2550 รัสเซียแจ้งเงื่อนไขการนำเข้าข้าวไทยมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า หลังวันที่ 1 เมษายน 2550 ผู้ส่งออกไทยต้องแนบใบรับรองความปลอดภัยอาหารและใบรับรองคุณภาพข้าวที่ออกโดยหน่วยงานที่กระทรวงเกษตรรัสเซียมาตรวจรับรองแล้วเท่านั้น และขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามในเอกสารความร่วมมือเพื่อดำเนินการตามเงื่อนไขนี้
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญประชุมหารือร่วม 3 กระทรวง ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเหมาะสมและเป็นเอกภาพ สรุปผลการประชุมดังนี้
5.1 เห็นชอบร่วมกันว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่ควรลงนามในเอกสารความร่วมมือด้านความปลอดภัยของข้าวไทยที่ส่งออกไปยังรัสเซียตามที่รัสเซียเสนอ ในชั้นนี้ให้เป็นเรื่องที่จะต้องเจรจากันต่อไปก่อน เนื่องจากจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้กับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในภาพรวมได้
5.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหนังสือชี้แจงต่อกระทรวงเกษตรของรัสเซียเรื่องความปลอดภัยของข้าวไทยโดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน
5.3 ให้หยิบยกประเด็นปัญหาดังกล่าวเข้าหารือในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-รัสเซีย (Joint Commission) ครั้งที่ 4 ที่กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ และขอให้มีการเพิ่มคณะกรรมาธิการย่อยด้านการเกษตรและความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sub - commission on Agriculture and SPS) เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
5.4 เนื่องจากขณะนี้รัสเซียกำลังอยู่ในช่วงสุดท้ายของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นสอบถามรัสเซียพร้อมกับประเทศผู้ส่งออกข้าวไปรัสเซียรายอื่น ๆ เช่น อินเดีย เวียดนาม เป็นต้น และเห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ชะลอเรื่องการเชิญทูตพาณิชย์รัสเซียเข้าหารือออกไปก่อนเพื่อประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ อีกระยะหนึ่ง
5.5 เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในภาพรวม ที่ประชุมจึงมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์และประเด็นปัญหานำเรียนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. รัสเซียเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารปีละประมาณ 650,000 ล้านบาท แต่นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทยโดยตรงไม่มากนัก ปีละประมาณ 4,000 — 7,000 ล้านบาท จึงถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในอนาคต
2. รัสเซียนำเข้าข้าวปีละประมาณ 350,000 ตัน โดยเป็นการนำเข้าจากไทยประมาณ 50,000 ตัน ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2549 กระทรวงเกษตรรัสเซียห้ามนำเข้าข้าวจากทุกประเทศ โดยระบุเหตุผลว่ามีการเปลี่ยนแปลงระบบการตรวจสอบการนำเข้าข้าวเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพมาตรฐานข้าวที่นำเข้า และปลายเดือนธันวาคมได้อนุญาตให้นำเข้าข้าวจากทุกประเทศเฉพาะด่านนำเข้า 3 ด่านของรัสเซียเท่านั้น
3. วันที่ 25 — 29 ธันวาคม 2549 เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรรัสเซียได้เดินทางมาดูงานกระบวนการผลิตข้าว โรงสี และห้องปฏิบัติการทั้งของกรมวิชาการเกษตรและเอกชน โดยในวันที่ 28 ธันวาคม 2549 หลังจากการประชุมสรุปผลการดูงานแล้ว รัสเซียเสนอให้มีการลงนามในเอกสารความร่วมมือด้านความปลอดภัยของข้าวไทยที่ส่งออกไปรัสเซีย โดยต้องแนบผลตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยอาหารและใบรับรองคุณภาพข้าวประกอบการส่งออกทุกครั้ง แต่ฝ่ายไทยมิได้มีการลงนามแต่อย่างใด
4. ปลายเดือนมกราคม 2550 รัสเซียแจ้งเงื่อนไขการนำเข้าข้าวไทยมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า หลังวันที่ 1 เมษายน 2550 ผู้ส่งออกไทยต้องแนบใบรับรองความปลอดภัยอาหารและใบรับรองคุณภาพข้าวที่ออกโดยหน่วยงานที่กระทรวงเกษตรรัสเซียมาตรวจรับรองแล้วเท่านั้น และขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามในเอกสารความร่วมมือเพื่อดำเนินการตามเงื่อนไขนี้
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญประชุมหารือร่วม 3 กระทรวง ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเหมาะสมและเป็นเอกภาพ สรุปผลการประชุมดังนี้
5.1 เห็นชอบร่วมกันว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่ควรลงนามในเอกสารความร่วมมือด้านความปลอดภัยของข้าวไทยที่ส่งออกไปยังรัสเซียตามที่รัสเซียเสนอ ในชั้นนี้ให้เป็นเรื่องที่จะต้องเจรจากันต่อไปก่อน เนื่องจากจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้กับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในภาพรวมได้
5.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหนังสือชี้แจงต่อกระทรวงเกษตรของรัสเซียเรื่องความปลอดภัยของข้าวไทยโดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน
5.3 ให้หยิบยกประเด็นปัญหาดังกล่าวเข้าหารือในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-รัสเซีย (Joint Commission) ครั้งที่ 4 ที่กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ และขอให้มีการเพิ่มคณะกรรมาธิการย่อยด้านการเกษตรและความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sub - commission on Agriculture and SPS) เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
5.4 เนื่องจากขณะนี้รัสเซียกำลังอยู่ในช่วงสุดท้ายของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นสอบถามรัสเซียพร้อมกับประเทศผู้ส่งออกข้าวไปรัสเซียรายอื่น ๆ เช่น อินเดีย เวียดนาม เป็นต้น และเห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ชะลอเรื่องการเชิญทูตพาณิชย์รัสเซียเข้าหารือออกไปก่อนเพื่อประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ อีกระยะหนึ่ง
5.5 เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในภาพรวม ที่ประชุมจึงมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์และประเด็นปัญหานำเรียนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--