เรื่อง การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ (รายจ่ายลงทุน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
และการเตรียมการสำหรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (ให้ส่วนราชการ
แจ้งยืนยันอีกครั้ง)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณรายงานการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ (รายจ่ายลงทุน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 และการเตรียมการสำหรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (ให้ส่วนราชการแจ้งยืนยันอีกครั้ง) ซึ่งปรากฏว่ามีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ยืนยันแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2548 ครบแล้ว จำนวน 305 หน่วย ไม่รวมหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ จำนวน 8 แห่ง สรุปได้ดังนี้
1. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกจ่ายงบประมาณถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 274,035.43 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.1 งบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 218,951.84 ล้านบาท
1.2 งบประมาณงบกลาง จำนวน 55,083.59 ล้านบาท
2. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกจ่ายงบประมาณถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ได้อีกเป็นเงินจำนวน 43,024.24 ล้านบาท แบ่งเป็น
2.1 งบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 34,520.29 ล้านบาท
2.2 งบประมาณงบกลาง จำนวน 8,503.95 ล้านบาท
3. งบประมาณที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 46,686.29 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 23,445.08 ล้านบาท งบกลาง จำนวน 23,241.2 ล้านบาท ประกอบด้วย
3.1 งบประมาณรายการ/โครงการที่อยู่ในระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจและขอรับการจัดสรรงบประมาณ จึงยังไม่อาจกำหนดแผนการเบิกจ่ายได้ชัดเจน เป็นเงินจำนวน 18,636.37 ล้านบาท
3.2 งบประมาณรายการ/โครงการที่ผูกพันแล้ว แต่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยืนยันว่าเบิกจ่ายไม่ทันภายใน 31 ธันวาคม 2548 เป็นเงินจำนวน 7,669.76 ล้านบาท ซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ผูกพันรองรับไว้แล้วและหากไม่พอเบิกจ่ายอาจขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อปรับเปลี่ยนงบประมาณในขั้นการบริหารงบประมาณได้ ในชั้นนี้จึงน่าจะจัดสรรงบประมาณคืนได้
3.3 งบประมาณรายการ/โครงการ ที่มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 1 ปี ที่มีแผนหรือข้อผูกพันต้องเบิกจ่ายแน่นอนแล้วในระยะเวลาอันใกล้ จำนวน 20,380.16 ล้านบาท ยังไม่สมควรจัดสรรงบประมาณคืน เพราะอาจมีผลเสียหายแก่ทางราชการได้
4. จากจำนวนเงินงบประมาณที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ตามข้อ 3 ยกเว้นข้อ 3.3 สำนักงบประมาณจะพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
4.1 กรณีงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณคืนและ/หรือ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณภายในเดือนสิงหาคม 2548 เพื่อโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณไปตั้งจ่ายสำหรับรายการที่มีข้อผูกพันต้องจ่ายตามกฎหมายเป็นลำดับแรก ส่วนที่เหลือให้นำไปใช้จ่ายสำหรับรายการ/โครงการที่มีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที ซึ่งสามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548) โดยให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี เป็นกรณีพิเศษ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548
4.2 กรณีงบประมาณงบกลาง ที่จัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่เป็นรายจ่ายลงทุน รายการ/โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รายการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจฯ (16,600 ล้านบาท) รายการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันฯ (16,500 ล้านบาท 59,000 ล้านบาท 23,400 ล้านบาท) ที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ภายในเดือนธันวาคม 2548 สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณคืนตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยมิให้เกิดผลเสียหายแก่ทางราชการ โดยให้สำนักงบประมาณขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี เป็นกรณีพิเศษ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548
ส่วนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 (50,000 ล้านบาท)เฉพาะรายจ่ายลงทุน คือ รายการค่าใช้จ่ายการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 15,000 ล้านบาท และรายการเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง จำนวน 4,600 ล้านบาท จะไม่จัดสรรงบประมาณคืน เนื่องจากเพิ่งมีการประกาศใช้กฎหมาย จึงให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกลั่นกรองงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการประจำพื้นที่เขตตรวจราชการและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยอาจจะขอกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2548 ให้เร่งรัดการดำเนินการแล้ว
5. เพื่อให้มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 สำนักงบประมาณได้ดำเนินการ ดังนี้
5.1 กำหนดกลไกในการติดตาม ตรวจสอบ เร่งรัด ผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณ รายจ่ายลงทุน ตามที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแจ้งยืนยันไว้อย่างใกล้ชิด เพื่อรวบรวมข้อมูลรายงานผลดังกล่าว พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคเสนอคณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือน โดยได้กำหนดหลักการและวิธีปฏิบัติ การจัดทำแผนและรายงานผลการเร่งรัดการเบิกจ่าย รายจ่ายลงทุน ซึ่งสำนักงบประมาณจะแจ้งเวียนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยตรงต่อไป ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะประสานงานกับกรมบัญชีกลางอีกทางหนึ่ง
5.2 ปรับปรุงกลไกและแนวทางปฏิบัติงานภายในสำนักงบประมาณ นอกเหนือจากที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วโดยให้มีการประสานงาน แนะนำ และการอำนวยความสะดวกรวมทั้งการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อประสานการบริหารจัดการงบประมาณ ตามคำสั่งสำนักงบประมาณ ที่ 125/ 2548 มีองค์ประกอบและหน้าที่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการประสานงานระหว่างกระทรวง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจกับสำนักงบประมาณให้รวดเร็วและคล่องตัวยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจัดทำรายนามเจ้าหน้าที่และหมายเลยโทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อประสานงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และได้จัดทำคู่มือติดต่อราชการ สำนักงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 กรกฎาคม 2548--จบ--
และการเตรียมการสำหรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (ให้ส่วนราชการ
แจ้งยืนยันอีกครั้ง)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณรายงานการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ (รายจ่ายลงทุน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 และการเตรียมการสำหรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (ให้ส่วนราชการแจ้งยืนยันอีกครั้ง) ซึ่งปรากฏว่ามีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ยืนยันแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2548 ครบแล้ว จำนวน 305 หน่วย ไม่รวมหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ จำนวน 8 แห่ง สรุปได้ดังนี้
1. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกจ่ายงบประมาณถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 274,035.43 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.1 งบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 218,951.84 ล้านบาท
1.2 งบประมาณงบกลาง จำนวน 55,083.59 ล้านบาท
2. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกจ่ายงบประมาณถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ได้อีกเป็นเงินจำนวน 43,024.24 ล้านบาท แบ่งเป็น
2.1 งบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 34,520.29 ล้านบาท
2.2 งบประมาณงบกลาง จำนวน 8,503.95 ล้านบาท
3. งบประมาณที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 46,686.29 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 23,445.08 ล้านบาท งบกลาง จำนวน 23,241.2 ล้านบาท ประกอบด้วย
3.1 งบประมาณรายการ/โครงการที่อยู่ในระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจและขอรับการจัดสรรงบประมาณ จึงยังไม่อาจกำหนดแผนการเบิกจ่ายได้ชัดเจน เป็นเงินจำนวน 18,636.37 ล้านบาท
3.2 งบประมาณรายการ/โครงการที่ผูกพันแล้ว แต่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยืนยันว่าเบิกจ่ายไม่ทันภายใน 31 ธันวาคม 2548 เป็นเงินจำนวน 7,669.76 ล้านบาท ซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ผูกพันรองรับไว้แล้วและหากไม่พอเบิกจ่ายอาจขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อปรับเปลี่ยนงบประมาณในขั้นการบริหารงบประมาณได้ ในชั้นนี้จึงน่าจะจัดสรรงบประมาณคืนได้
3.3 งบประมาณรายการ/โครงการ ที่มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 1 ปี ที่มีแผนหรือข้อผูกพันต้องเบิกจ่ายแน่นอนแล้วในระยะเวลาอันใกล้ จำนวน 20,380.16 ล้านบาท ยังไม่สมควรจัดสรรงบประมาณคืน เพราะอาจมีผลเสียหายแก่ทางราชการได้
4. จากจำนวนเงินงบประมาณที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ตามข้อ 3 ยกเว้นข้อ 3.3 สำนักงบประมาณจะพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
4.1 กรณีงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณคืนและ/หรือ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณภายในเดือนสิงหาคม 2548 เพื่อโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณไปตั้งจ่ายสำหรับรายการที่มีข้อผูกพันต้องจ่ายตามกฎหมายเป็นลำดับแรก ส่วนที่เหลือให้นำไปใช้จ่ายสำหรับรายการ/โครงการที่มีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที ซึ่งสามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548) โดยให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี เป็นกรณีพิเศษ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548
4.2 กรณีงบประมาณงบกลาง ที่จัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่เป็นรายจ่ายลงทุน รายการ/โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รายการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจฯ (16,600 ล้านบาท) รายการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันฯ (16,500 ล้านบาท 59,000 ล้านบาท 23,400 ล้านบาท) ที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ภายในเดือนธันวาคม 2548 สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณคืนตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยมิให้เกิดผลเสียหายแก่ทางราชการ โดยให้สำนักงบประมาณขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี เป็นกรณีพิเศษ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548
ส่วนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 (50,000 ล้านบาท)เฉพาะรายจ่ายลงทุน คือ รายการค่าใช้จ่ายการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 15,000 ล้านบาท และรายการเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง จำนวน 4,600 ล้านบาท จะไม่จัดสรรงบประมาณคืน เนื่องจากเพิ่งมีการประกาศใช้กฎหมาย จึงให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกลั่นกรองงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการประจำพื้นที่เขตตรวจราชการและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยอาจจะขอกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2548 ให้เร่งรัดการดำเนินการแล้ว
5. เพื่อให้มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 สำนักงบประมาณได้ดำเนินการ ดังนี้
5.1 กำหนดกลไกในการติดตาม ตรวจสอบ เร่งรัด ผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณ รายจ่ายลงทุน ตามที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแจ้งยืนยันไว้อย่างใกล้ชิด เพื่อรวบรวมข้อมูลรายงานผลดังกล่าว พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคเสนอคณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือน โดยได้กำหนดหลักการและวิธีปฏิบัติ การจัดทำแผนและรายงานผลการเร่งรัดการเบิกจ่าย รายจ่ายลงทุน ซึ่งสำนักงบประมาณจะแจ้งเวียนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยตรงต่อไป ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะประสานงานกับกรมบัญชีกลางอีกทางหนึ่ง
5.2 ปรับปรุงกลไกและแนวทางปฏิบัติงานภายในสำนักงบประมาณ นอกเหนือจากที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วโดยให้มีการประสานงาน แนะนำ และการอำนวยความสะดวกรวมทั้งการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อประสานการบริหารจัดการงบประมาณ ตามคำสั่งสำนักงบประมาณ ที่ 125/ 2548 มีองค์ประกอบและหน้าที่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการประสานงานระหว่างกระทรวง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจกับสำนักงบประมาณให้รวดเร็วและคล่องตัวยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจัดทำรายนามเจ้าหน้าที่และหมายเลยโทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อประสานงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และได้จัดทำคู่มือติดต่อราชการ สำนักงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 กรกฎาคม 2548--จบ--