สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 7, 2010 16:00 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2553) ของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และการให้ความช่วยเหลือ

1.1 พื้นที่ประสบภัย 27 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2553-5 กรกฎาคม 2553)ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน ลำปาง ลำพูน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และจังหวัดลพบุรี รวม 199 อำเภอ 1,445 ตำบล 12,809 หมู่บ้าน แยกเป็น

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ปี 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2553-5 กรกฎาคม 2553)

ที่                        พื้นที่ประสบภัย                                                        ราษฎรประสบภัย
       ภาค        จังหวัด    อำเภอ     ตำบล       หมู่บ้าน    รายชื่อจังหวัด                       คน      ครัวเรือน
1      เหนือ          12       71      446       3,780    กำแพงเพชร เชียงราย           821,227      255,020
                                                         เชียงใหม่ ตาก น่าน ลำปาง
                                                         ลำพูน พิจิตร พิษณุโลก
                                                         พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์
                                                         อุทัยธานี


2      ตะวันออก       11      114      895       8,120    กาฬสินธุ์ ขอนแก่น             3,070,921      771,768
       เฉียงเหนือ                                          นครราชสีมา มหาสารคาม
                                                         บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร
                                                         ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ
                                                         หนองบัวลำภู อุบลราชธานี
3      กลาง           4       14      104         909    ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์           340,849       61,663
                                                         ราชบุรี ลพบุรี
รวมทั้งประเทศ          27      199    1,445      12,809                              4,232,997    1,088,451

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

                       จำนวน
                       หมู่บ้าน   8-14 มิ.ย. 2553    15-21 มิ.ย. 2553   22-28 มิ.ย. 2553    29 มิ.ย.-5 ก.ค.2553
 ที่  ภาค                ทั้งหมด   หมู่บ้าน    + เพิ่ม    หมู่บ้าน     + เพิ่ม   หมู่บ้าน     + เพิ่ม    หมู่บ้าน      + เพิ่ม
                                         - ลด               - ลด              - ลด                - ลด
 1  เหนือ              16,590   1,452     -687    3,650    +2,198   4,183      +533    3,780       -403
 2  ตะวันออกเฉียงเหนือ   33,099   4,116     -476    4,638      +522   8,120    +3,482    8,120          0
 3  กลาง              11,736       0        0      397      +397     909      +512      909          0
    รวม               74,944   5,568   -1,163    8,685    +3,117  13,212    +4,527   12,809       -403

เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 22-28 มิถุนายน 2553 ซึ่งมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 27 จังหวัด 204 อำเภอ 1,481 ตำบล 13,212 หมู่บ้าน แต่เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ต่างๆ ลดลง จำนวน 403 หมู่บ้าน

หมายเหตุ สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ช่วงระยะเวลาที่มีสถานการณ์ภัยแล้งสูงสุดอยู่ในห้วงระหว่างวันที่ 12-19 เมษายน 2553 มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 60 จังหวัด 463 อำเภอ 3,005 ตำบล 24,248 หมู่บ้าน

1.2 ความเสียหาย

พื้นที่การเกษตรเสียหาย รวม 1,183,834 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 916,784 ไร่ นาข้าว 89,313 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 177,737 ไร่ ในพื้นที่ 45 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กระบี่ นครศรีธรรมราช ระนอง พัทลุง สตูล สุราษฎร์ธานี และจังหวัดตรัง

1.3 การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 616 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 281,520,314 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 1,481 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 858 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 761,941,321 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 523,624,301 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 230,752,859 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 7,564,161 บาท

1.4 การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานอื่นๆ

1) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 238 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 30 จังหวัด โดย แยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 20 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 32 เครื่อง ภาคกลาง 83 เครื่อง ภาคตะวันออก 25 เครื่อง และภาคใต้ 78 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 33 คัน 3,628 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 21,768,000 ลิตร

2) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 3,292 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 26,067,000 ลิตร

3) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 4,452 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 30,399,000 ลิตร

4) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 836 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 5,154,096 ลิตร

5) การประปาส่วนภูมิภาค ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย โดยไม่คิดมูลค่าเป็นจำนวน 491,004,000 ลิตร และคิดเป็นยอดเงินรวม จำนวน 7,856,064 บาท

6) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้จัดรถบรรทุกน้ำ 30 คัน เพื่อแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 45,162,000 ลิตร

7) กรมทรัพยากรน้ำ ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 1,346,000 ลิตร

8) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล แจกน้ำจากจุดจ่ายน้ำถาวร 100 แห่ง ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 90,400,000 ลิตร

9) กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 236,000 ลิตร

10) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ขึ้นบินปฏิบัติการ รวม 125 วัน จำนวน 3,629 เที่ยว มีรายงานฝนตกในการปฏิบัติการ รวม 114 วัน จำนวน 664 สถานี มีรายงานฝนตก 63 จังหวัด

11) สิ่งของพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำหน่วยรถผลิตน้ำดื่มไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี รวมจ่ายน้ำให้กับประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 2,910,500 ลิตร

2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 5-10 กรกฎาคม 2553

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 คลื่นกระแสลมตะวันออกยังคงเคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและอ่าวไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุม ทะเลอันดามัน ทำให้ภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีฝนกระจาย เนื่องจากมีฝนตกสะสมบริเวณเทือกเขาหลายวัน จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา และใกล้ทางน้ำไหลผ่านระวังอันตรายจากสภาวะ น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในระยะนี้ ในช่วงวันที่ 6-10 กรกฎาคม 2553 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง และคลื่นกระแสลมตะวันออกจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยไปปกคลุมประเทศพม่า ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

อนึ่ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2553 เวลา 10.24 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่า ขนาด 3.2 ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ห่างจาก อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 88 กม. คาดว่าไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กรกฎาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ