คณะรัฐมนตรีพิจารณาการลงนามเอกสารสำคัญในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ เวียงจันทน์ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติการลงนามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียนและสารขยายจำนวนภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับมองโกเลีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนาม
2. ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
สำหรับภาระด้านการเงินที่จะเกิดขึ้น ให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. การบริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งและการบริหารงานของศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เพื่ออำนวยความสะดวกในการร่วมมือและประสานงานของภาคีภายใต้ความตกลงอาเซียนว่าด้วย การจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่กำหนดให้ประเทศภาคีบริจาคเงินโดยสมัครใจ ซึ่งการบริจาคดังกล่าวจะเกิดขึ้นในอนาคตตามการตัดสินใจของการประชุมของภาคีนั้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอความ เห็นชอบวงเงินที่เหมาะสมต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
2. การบริจาคเงินสมทบกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียนภายใต้ความตกลงว่าด้วย การจัดตั้งกองทุนเพื่อ การพัฒนาอาเซียนจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ภายในปี พ.ศ. 2550 ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้เสนอขอตั้งงบประมาณต่อไป
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิก ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2548 ที่เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก อาเซียนกำหนดจะลงนามในเอกสาร ดังนี้
1. ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (Draft ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response) ซึ่งจะเป็นความตกลงฉบับแรกของอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ และเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ที่กรุงจาการ์ตา มีสาระสำคัญในการกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินและจัดตั้งกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีข้อเสนอจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (ASEAN Co-ordinating Centre for Humanitarian Assistance — AHA Centre) เพื่ออำนวยความสะดวกในความร่วมมือและการประสานงานของภาคีความตกลงฉบับนี้ ทั้งนี้ ความตกลงฯ ได้ระบุให้ประเทศภาคีบริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งและการบริหารงานของศูนย์ โดยความสมัครใจ นอกจากนี้ ร่างความตกลงฯ ฉบับนี้ ได้บรรจุเรื่อง การจัดตั้งระบบเตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติและตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินของอาเซียน (ASEAN Standby Arrangements for Disaster Relief and Emergency Response) ซึ่งเป็นข้อเสนอของไทยไว้ด้วย และในการจัดทำร่างความตกลงดังกล่าว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ร่วมในคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management-ACDM) ได้ส่งผู้แทนเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมเจรจาดังกล่าวมาโดยตลอด
2. ร่างความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (Draft Agreement on the Establishment of the ASEAN Development Fund) มีสาระสำคัญในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน โดยแปลงจากกองทุนอาเซียนเดิมเพื่อเป็นกองทุนสำหรับการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเร่งรัดการพัฒนาอาเซียนให้สามารถบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี 2563 และเป็นไปตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ เมื่อปี 2547 โดยประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นชอบที่จะร่วมบริจาคเงินเพื่อสมทบการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวประเทศละ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2550
3. สารขยายจำนวนภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia) ซึ่งเป็นร่างมาตรฐานที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องร่วมลงนามยินยอมให้ประเทศอื่น ๆ เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรี ฯ ซึ่งขณะนี้ประเทศมองโกเลีย นิวซีแลนด์และออสเตรเลียเสนอขอเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญา ฯ ดังกล่าว ซึ่งการเข้าร่วมของประเทศทั้งสามจะช่วยเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและส่งเสริมมาตรการการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศทั้งสามและเป็นไปตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลี เมื่อปี 2546
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 กรกฎาคม 2548--จบ--
1. อนุมัติการลงนามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียนและสารขยายจำนวนภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับมองโกเลีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนาม
2. ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
สำหรับภาระด้านการเงินที่จะเกิดขึ้น ให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. การบริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งและการบริหารงานของศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เพื่ออำนวยความสะดวกในการร่วมมือและประสานงานของภาคีภายใต้ความตกลงอาเซียนว่าด้วย การจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่กำหนดให้ประเทศภาคีบริจาคเงินโดยสมัครใจ ซึ่งการบริจาคดังกล่าวจะเกิดขึ้นในอนาคตตามการตัดสินใจของการประชุมของภาคีนั้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอความ เห็นชอบวงเงินที่เหมาะสมต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
2. การบริจาคเงินสมทบกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียนภายใต้ความตกลงว่าด้วย การจัดตั้งกองทุนเพื่อ การพัฒนาอาเซียนจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ภายในปี พ.ศ. 2550 ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้เสนอขอตั้งงบประมาณต่อไป
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิก ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2548 ที่เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก อาเซียนกำหนดจะลงนามในเอกสาร ดังนี้
1. ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (Draft ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response) ซึ่งจะเป็นความตกลงฉบับแรกของอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ และเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ที่กรุงจาการ์ตา มีสาระสำคัญในการกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินและจัดตั้งกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีข้อเสนอจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (ASEAN Co-ordinating Centre for Humanitarian Assistance — AHA Centre) เพื่ออำนวยความสะดวกในความร่วมมือและการประสานงานของภาคีความตกลงฉบับนี้ ทั้งนี้ ความตกลงฯ ได้ระบุให้ประเทศภาคีบริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งและการบริหารงานของศูนย์ โดยความสมัครใจ นอกจากนี้ ร่างความตกลงฯ ฉบับนี้ ได้บรรจุเรื่อง การจัดตั้งระบบเตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติและตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินของอาเซียน (ASEAN Standby Arrangements for Disaster Relief and Emergency Response) ซึ่งเป็นข้อเสนอของไทยไว้ด้วย และในการจัดทำร่างความตกลงดังกล่าว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ร่วมในคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management-ACDM) ได้ส่งผู้แทนเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมเจรจาดังกล่าวมาโดยตลอด
2. ร่างความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (Draft Agreement on the Establishment of the ASEAN Development Fund) มีสาระสำคัญในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน โดยแปลงจากกองทุนอาเซียนเดิมเพื่อเป็นกองทุนสำหรับการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเร่งรัดการพัฒนาอาเซียนให้สามารถบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี 2563 และเป็นไปตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ เมื่อปี 2547 โดยประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นชอบที่จะร่วมบริจาคเงินเพื่อสมทบการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวประเทศละ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2550
3. สารขยายจำนวนภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia) ซึ่งเป็นร่างมาตรฐานที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องร่วมลงนามยินยอมให้ประเทศอื่น ๆ เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรี ฯ ซึ่งขณะนี้ประเทศมองโกเลีย นิวซีแลนด์และออสเตรเลียเสนอขอเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญา ฯ ดังกล่าว ซึ่งการเข้าร่วมของประเทศทั้งสามจะช่วยเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและส่งเสริมมาตรการการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศทั้งสามและเป็นไปตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลี เมื่อปี 2546
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 กรกฎาคม 2548--จบ--