รายงานนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 14, 2010 15:15 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง รายงานนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 2 (มกราคม — มีนาคม 2552) ไตรมาสที่ 3 (เมษายน — มิถุนายน 2552)

และไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม — กันยายน 2552) ปีงบประมาณ 2552 และไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม — ธันวาคม 2552)

ปีงบประมาณ 2553

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 2 (มกราคม — มีนาคม 2552) ปีงบประมาณ 2552 รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 3 (เมษายน — มิถุนายน 2552) ปีงบประมาณ 2552 รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม — กันยายน 2552) ปีงบประมาณ 2552 และรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม — ธันวาคม 2552) ปีงบประมาณ 2553 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2553 (ต.ค.-ธ.ค.52)

1. สินค้าฟุ่มเฟือย 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 472.148 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2552 86.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 22.31

2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2553 แล้ว (40,263.198 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 1.17 ของมูลค่านำเข้ารวม

3. เมื่อเปรียบเทียบมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2553 กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2552 ปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 15 กลุ่ม ตั้งแต่ร้อยละ 3.59 ถึง 122.48 และมี 2 กลุ่ม ที่มีมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 0.56 และ 6.22

4. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

4.1 ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 103.530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.193 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 21.32

4.2 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 75.972 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 26.03

4.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 60.786 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.688 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 41.04

5. สินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2553 มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 15 กลุ่มเมื่อเปรียบเทียบ (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2552 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ดอกไม้ 2) แว่นตา 3) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารหรือใช้ตกแต่งภายในที่ทำด้วยคริสตัล 4) รองเท้าหนังและรองเท้าผ้าใบ 5) นาฬิกาและอุปกรณ์ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 122.48, 93.20, 60.54, 44.70 และ 41.04

รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2552 (ม.ค.-มี.ค.2552)

1. สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 322.207 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 76.599 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 19.21

2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดใน ไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2552 แล้ว (26,735.072 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 1.21 ของมูลค่านำเข้ารวม

3. เมื่อเปรียบเทียบมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2552 กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 3 กลุ่มตั้งแต่ร้อยละ 1.62 ถึง 27.42 และมี 14 กลุ่ม ที่มีมูลค่านำเข้าลดลงตั้งแต่ร้อยละ 2.83 ถึง 68.48

4. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

4.1 ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 64.139 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.801 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 27.42

4.2 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 60.567 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 14.743 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 19.58

4.3 กระเป๋าหนังและเข็มขัดหนัง มีมูลค่านำเข้า 35.836 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 1.919 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.08

5. สินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2552 มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบ (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ได้แก่ 1) ผลไม้ 2) รองเท้าหนังและรองเท้าผ้าใบ และ 3) สูท เสื้อ กระโปรง กางเกง สำหรับบุรุษ สตรี เด็กชาย เด็กหญิง และเนคไท มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.42, 14.84 และ 1.62 ตามลำดับ

6. สินค้าฟุ่มเฟือยในปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51— มี.ค.52) มีมูลค่านำเข้ารวม 710.564 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 พบว่ามีมูลค่านำเข้าลดลง 86.187 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 10.82

7. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรกของ ปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-มี.ค.52) ได้แก่

7.1 ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 162.836 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.460 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ร้อยละ 23.01

7.2 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 120.846 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 13.674 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ10.16

7.3 กระเป๋าหนังและเข็มขัดหนัง มีมูลค่านำเข้า 68.667 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง0.650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ0.94

8. ในปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51 —มี.ค.52) สินค้าฟุ่มเฟือยจำนวน 2 กลุ่ม มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 (ตามมูลค่านำเข้าในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ได้แก่ 1) ผลไม้ และ 2) รองเท้าหนังและรองเท้าผ้าใบ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.01 และ 17.98 ตามลำดับ

รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2552 (เม.ย.-มิ.ย.2552)

1. สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 306.037 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 44.372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 12.66

2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดใน ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2552 แล้ว (30,537.007 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 1.00 ของมูลค่านำเข้ารวม

3. เมื่อเปรียบเทียบมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2552 กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 4 กลุ่มตั้งแต่ร้อยละ 6.37 ถึง 40.02 และมี 13 กลุ่ม ที่มีมูลค่านำเข้าลดลงตั้งแต่ร้อยละ 7.28 ถึง 54.96

4. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

4.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 62.002 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 6.338 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9.27

4.2 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 37.093 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 8.490 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 18.62

4.3 ผลไม้มีมูลค่านำเข้า 34.461 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.064 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 6.37

5. สินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2552 มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 4 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบ (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ได้แก่ 1) ดอกไม้ 2) รองเท้าหนังและรองเท้าผ้าใบ 3) ไวน์ และ 4) ผลไม้ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.02, 24.32, 9.23 และ 6.37 ตามลำดับ

6. สินค้าฟุ่มเฟือยในปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51— มิ.ย.52) มีมูลค่านำเข้ารวม 1,016.602 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 พบว่ามีมูลค่านำเข้าลดลง 130.559 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 11.38

7. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรกของ ปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-มิ.ย.52) ได้แก่

7.1 ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 197.297 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 32.525 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ร้อยละ 19.74

7.2 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 182.847 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 20.011 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9.86

7.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 104.447 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 31.507 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 23.17

8. ในปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51 —มิ.ย.52) สินค้าฟุ่มเฟือยจำนวน 2 กลุ่ม มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 (ตามมูลค่านำเข้าในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ได้แก่ 1) รองเท้าหนังและรองเท้าผ้าใบ และ 2) ผลไม้ มีอัตราการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.02 และ 19.74 ตามลำดับ

รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2552 (ก.ค.-ก.ย.2552)

1. สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 401.794 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 17.598 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 4.20

2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดใน ไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2552 แล้ว (36,337.433 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 1.11 ของมูลค่านำเข้ารวม

3. เมื่อเปรียบเทียบมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2552 กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 4 กลุ่มตั้งแต่ร้อยละ 9.34 ถึง 226.66 และมี 13 กลุ่ม ที่มีมูลค่านำเข้าลดลงตั้งแต่ร้อยละ 0.04 ถึง 57.06

4. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

4.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 68.782 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลง 2.802 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 3.91

4.2 ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 61.820 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 9.184 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 12.93

4.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 52.918 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.519 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9.34

5. สินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2552 มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 4 กลุ่มเมื่อเปรียบเทียบ (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ได้แก่ 1) ดอกไม้ 2) เลนซ์ 3) ไวน์ และ 4)นาฬิกาและอุปกรณ์ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 226.66, 59.05, 34.32 และ9.34 ตามลำดับ

6. สินค้าฟุ่มเฟือยในปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51—ก.ย.52) มีมูลค่านำเข้ารวม 1,418.395 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 พบว่ามีมูลค่านำเข้าลดลง 148.157 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 9.46

7. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรกของ ปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-ก.ย.52) ได้แก่

7.1 ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 259.117 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9.90

7.2 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 251.630 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 22.814 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 8.31

7.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 157.365 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 26.989 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 14.64

8. ในปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51 —ก.ย.52) สินค้าฟุ่มเฟือยจำนวน 4 กลุ่ม มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 (ตามมูลค่านำเข้าในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ได้แก่ 1) ดอกไม้ 2) รองเท้าหนังและรองเท้าผ้าใบ 3) ผลไม้ และ 4) ไวน์ มีอัตราการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.89, 13.54, 9.90 และ 1.46 ตามลำดับ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กรกฎาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ