คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมี รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป
2. ส่วนงบประมาณในการดำเนินงาน ให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มาดำเนินการในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนอย่างประหยัดตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ หากงบประมาณไม่เพียงพอและยังมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มเติมอีกให้ขอความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยได้ดำเนินการมาแล้วในระดับกระทรวงหลายโครงการ ซึ่งยังไม่เคยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เช่น โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู โครงการพัฒนาชีวิตครู เป็นต้น แต่การดำเนินการในแต่ละช่วงเวลายังขาดยุทธศาสตร์ความชัดเจนจริงจัง และได้รับการสนับสนุนไม่ต่อเนื่อง ขาดการระดมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันและขาดการวางมาตรการต่าง ๆ ที่ป้องกันไม่ให้ครูที่เคยมีหนี้และแก้หนี้สินได้แล้วไม่กลับมาเป็นหนี้อีก และป้องกันครูที่ไม่เป็นหนี้อย่าได้เข้าสู่วงจรหนี้สินได้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเป็นกรอบทิศทางให้หน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดแนวทางดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินครูได้อย่างเหมาะสม มีความชัดเจน เป็นระบบ
1.2 เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการเงินได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้บังเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
1.3 เพื่อให้เกิดระบบกลไกในการประสานงานเชื่อมโยง การดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้มีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
2. วิสัยทัศน์ ภายในปี 2552 ครูทุกคนจะได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพและการบริหารจัดการเงิน ผู้มีหนี้สินสามารถปลดภาระหนี้ได้อย่างถาวรและมีความสุข ผู้ไม่มีหนี้สินจะสามารถป้องกันการก่อหนี้สิน ทำให้มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน
3. พันธกิจ
3.1 ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นระบบครบวงจร โดยเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูได้ผลเป็นรูปธรรม
3.2 ส่งเสริมสนับสนุนและกำหนดมาตรการ พร้อมทั้งแนวทางป้องกันปัญหาหนี้สินให้กับครูอย่างเป็นระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3.3 พัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการและสนับสนุนการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ
3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาตนเองและกลุ่มโดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ ตลอดจนยกย่องและผดุงเกียรติครูที่สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินและเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
4. เป้าหมาย
4.1 ครูที่มีหนี้สินทั้งในและนอกระบบ ซึ่งลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู จำนวน 131,217 คน จะได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ลุล่วงได้ภายในปี พ.ศ. 2550 จำนวน ร้อยละ 70 ของผู้ลงทะเบียนคือจำนวน 91,852 คน เป็นอย่างน้อย และได้รับการแก้ไขภายในปี พ.ศ. 2551 อีกร้อยละ 30 ของผู้ลงทะเบียนคือจำนวน 39,365 คน นอกจากนี้คาดว่าจะมีครูที่มาลงทะเบียนเพิ่มเติมจำนวน 50,000 คน ภายในปลายปี พ.ศ. 2551 ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในปี พ.ศ.2552 ซึ่งจะทำให้ครูสามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุก ๆ ด้าน
4.2 ครูได้รับการสนับสนุนรวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตครูอย่างน้อย 181,217 คน หรือประมาณ 10,000 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือดูแลสมาชิกกลุ่มให้รู้จักการวางแผนและการบริหารการเงิน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และออมเงิน โดยมีกลุ่มครูที่มีผลงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
4.3 องค์กรเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบงานที่จะสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ มีแผนการพัฒนาบุคลากรในสังกัดให้มีกลไกการประสานงาน กำกับติดตาม แก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถแก้ไขปัญาหนี้สินได้อย่างลุล่วงและป้องกันการสร้างหนี้สิน
5. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ
5.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างวินัยทางการเงินและการดำรงชีวิต
5.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับโครงสร้างหนี้
5.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การลดรายจ่าย
5.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาวิชาชีพและการเพิ่มรายได้
5.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างกลไกในการบริหารจัดการ
6. งบประมาณในการดำเนินการ การดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในปีงบประมาณ 2550 จะใช้จ่ายงบประมาณตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้
6.1 การสร้างวินัยทางการเงินและดำรงชีวิต จำนวน 8,368,160 บาท
6.2 การพัฒนาวิชาชีพและการเพิ่มรายได้ จำนวน 2,100,000 บาท
6.3 คลินิกการเงินครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15,196,200 บาท
6.4 การบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ฯ จำนวน 2,000,000 บาท
6.5 กลไกการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ฯ จำนวน 4,400,000 บาท
รวมทั้งสิ้น จำนวน 32,064,360 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป
2. ส่วนงบประมาณในการดำเนินงาน ให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มาดำเนินการในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนอย่างประหยัดตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ หากงบประมาณไม่เพียงพอและยังมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มเติมอีกให้ขอความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยได้ดำเนินการมาแล้วในระดับกระทรวงหลายโครงการ ซึ่งยังไม่เคยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เช่น โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู โครงการพัฒนาชีวิตครู เป็นต้น แต่การดำเนินการในแต่ละช่วงเวลายังขาดยุทธศาสตร์ความชัดเจนจริงจัง และได้รับการสนับสนุนไม่ต่อเนื่อง ขาดการระดมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันและขาดการวางมาตรการต่าง ๆ ที่ป้องกันไม่ให้ครูที่เคยมีหนี้และแก้หนี้สินได้แล้วไม่กลับมาเป็นหนี้อีก และป้องกันครูที่ไม่เป็นหนี้อย่าได้เข้าสู่วงจรหนี้สินได้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเป็นกรอบทิศทางให้หน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดแนวทางดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินครูได้อย่างเหมาะสม มีความชัดเจน เป็นระบบ
1.2 เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการเงินได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้บังเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
1.3 เพื่อให้เกิดระบบกลไกในการประสานงานเชื่อมโยง การดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้มีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
2. วิสัยทัศน์ ภายในปี 2552 ครูทุกคนจะได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพและการบริหารจัดการเงิน ผู้มีหนี้สินสามารถปลดภาระหนี้ได้อย่างถาวรและมีความสุข ผู้ไม่มีหนี้สินจะสามารถป้องกันการก่อหนี้สิน ทำให้มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน
3. พันธกิจ
3.1 ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นระบบครบวงจร โดยเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูได้ผลเป็นรูปธรรม
3.2 ส่งเสริมสนับสนุนและกำหนดมาตรการ พร้อมทั้งแนวทางป้องกันปัญหาหนี้สินให้กับครูอย่างเป็นระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3.3 พัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการและสนับสนุนการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ
3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาตนเองและกลุ่มโดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ ตลอดจนยกย่องและผดุงเกียรติครูที่สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินและเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
4. เป้าหมาย
4.1 ครูที่มีหนี้สินทั้งในและนอกระบบ ซึ่งลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู จำนวน 131,217 คน จะได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ลุล่วงได้ภายในปี พ.ศ. 2550 จำนวน ร้อยละ 70 ของผู้ลงทะเบียนคือจำนวน 91,852 คน เป็นอย่างน้อย และได้รับการแก้ไขภายในปี พ.ศ. 2551 อีกร้อยละ 30 ของผู้ลงทะเบียนคือจำนวน 39,365 คน นอกจากนี้คาดว่าจะมีครูที่มาลงทะเบียนเพิ่มเติมจำนวน 50,000 คน ภายในปลายปี พ.ศ. 2551 ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในปี พ.ศ.2552 ซึ่งจะทำให้ครูสามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุก ๆ ด้าน
4.2 ครูได้รับการสนับสนุนรวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตครูอย่างน้อย 181,217 คน หรือประมาณ 10,000 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือดูแลสมาชิกกลุ่มให้รู้จักการวางแผนและการบริหารการเงิน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และออมเงิน โดยมีกลุ่มครูที่มีผลงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
4.3 องค์กรเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบงานที่จะสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ มีแผนการพัฒนาบุคลากรในสังกัดให้มีกลไกการประสานงาน กำกับติดตาม แก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถแก้ไขปัญาหนี้สินได้อย่างลุล่วงและป้องกันการสร้างหนี้สิน
5. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ
5.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างวินัยทางการเงินและการดำรงชีวิต
5.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับโครงสร้างหนี้
5.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การลดรายจ่าย
5.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาวิชาชีพและการเพิ่มรายได้
5.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างกลไกในการบริหารจัดการ
6. งบประมาณในการดำเนินการ การดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในปีงบประมาณ 2550 จะใช้จ่ายงบประมาณตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้
6.1 การสร้างวินัยทางการเงินและดำรงชีวิต จำนวน 8,368,160 บาท
6.2 การพัฒนาวิชาชีพและการเพิ่มรายได้ จำนวน 2,100,000 บาท
6.3 คลินิกการเงินครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15,196,200 บาท
6.4 การบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ฯ จำนวน 2,000,000 บาท
6.5 กลไกการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ฯ จำนวน 4,400,000 บาท
รวมทั้งสิ้น จำนวน 32,064,360 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--