คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ตามที่กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีเสนอ แล้วอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ดังนี้
1. เนื่องจากสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 แล้ว จึงเห็นควรให้สำนักงบประมาณให้งบประมาณสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปจนเสร็จสิ้นการดำเนินการตามแผนงานในระยะที่ 1
2. สำหรับโครงการในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติรับไปพิจารณาความเหมาะสมของโครงการร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการควรมีการประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า คณะกรรมการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ได้ดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแผนงานโครงการตลอดจนงบประมาณโครงการฯ ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. เหตุผลความจำเป็น เพื่อเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญในภาคใต้ให้สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมหลักที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ ซึ่งยังมีศักยภาพในการพัฒนาและเติบโตสูง โดยจะเป็นศูนย์กลางของการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของภูมิภาค เป็นหน่วยงานที่กระตุ้นให้เกิดคลัสเตอร์ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างและเพิ่มมูลค่า (Value Creation and Value Addition) ให้กับผลผลิตอุตสาหกรรม โดยอาศัยกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) และการต่อยอดและพัฒนาผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ (Technology Commercialization) และในระยะยาวเมื่อมีการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์แบบ (Full Scale) จะเป็นกลไกการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในภาคใต้จากระบบเศรษฐกิจฐานแรงงานไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นแหล่งผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้สูงในสาขาเทคโนโลยีซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของคลัสเตอร์อุตสาหกรรม เป็นแหล่งบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในภาคใต้ และจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความก้าวหน้าและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของยุคเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
2. การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 — 2551) ปีที่ 1-3 เป็นการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยี 6 แห่ง ในมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมเพื่อเริ่มดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี และจะจัดให้มีการบริการ ยกระดับเทคโนโลยีของผู้ประกอบการในภาคใต้ โดยมีการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีและการจัดหากู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 683 ล้านบาท และมีเอกชนที่ใช้ประโยชน์จากการบริการต่าง ๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ 683 ราย โดยใช้งบประมาณจำนวน 229 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยงบดำเนินการ 151 ล้านบาท และงบลงทุน 78 ล้านบาท
ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2554) ปีที่ 4-6 เป็นเริ่มงานก่อสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา โดยใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ส่วนขยายของวิทยาเขตหาดใหญ่ ขณะที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องจากระยะที่หนึ่ง ทั้งการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี การจัดให้มีบริการยกระดับเทคโนโลยีโดยการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีและการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ผู้ประกอบการภาคใต้ แต่เนื่องจากระยะนี้เป็นการลงทุนส่วนใหญ่ในงานโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้น มูลค่าทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่างบประมาณที่ต้องใช้ ซึ่งคาดว่าระยะนี้จะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1,623 ล้านบาท และมีเอกชนที่ใช้ประโยชน์จากการบริการต่าง ๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ 1,703 ราย โดยใช้งบประมาณจำนวน 2,430 ล้านบาท ประกอบด้วยงบดำเนินการ 369 ล้านบาท และงบลงทุน 2,061 ล้านบาท
ระยะที่ 3 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2557) ปีที่ 7-9 เป็นระยะแรกของการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีที่ 7 และสามารถเปิดให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ในปีที่ 8 ทั้งนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 3,093 ล้านบาท และมีเอกชนที่ใช้ประโยชน์จากการบริการต่าง ๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ 2,439 ราย โดยใช้งบประมาณ จำนวน 1,055 ล้านบาท ประกอบด้วยงบดำเนินการ 620 ล้านบาท และงบลงทุน 435 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. เนื่องจากสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 แล้ว จึงเห็นควรให้สำนักงบประมาณให้งบประมาณสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปจนเสร็จสิ้นการดำเนินการตามแผนงานในระยะที่ 1
2. สำหรับโครงการในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติรับไปพิจารณาความเหมาะสมของโครงการร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการควรมีการประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า คณะกรรมการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ได้ดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแผนงานโครงการตลอดจนงบประมาณโครงการฯ ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. เหตุผลความจำเป็น เพื่อเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญในภาคใต้ให้สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมหลักที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ ซึ่งยังมีศักยภาพในการพัฒนาและเติบโตสูง โดยจะเป็นศูนย์กลางของการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของภูมิภาค เป็นหน่วยงานที่กระตุ้นให้เกิดคลัสเตอร์ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างและเพิ่มมูลค่า (Value Creation and Value Addition) ให้กับผลผลิตอุตสาหกรรม โดยอาศัยกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) และการต่อยอดและพัฒนาผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ (Technology Commercialization) และในระยะยาวเมื่อมีการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์แบบ (Full Scale) จะเป็นกลไกการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในภาคใต้จากระบบเศรษฐกิจฐานแรงงานไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นแหล่งผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้สูงในสาขาเทคโนโลยีซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของคลัสเตอร์อุตสาหกรรม เป็นแหล่งบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในภาคใต้ และจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความก้าวหน้าและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของยุคเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
2. การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 — 2551) ปีที่ 1-3 เป็นการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยี 6 แห่ง ในมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมเพื่อเริ่มดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี และจะจัดให้มีการบริการ ยกระดับเทคโนโลยีของผู้ประกอบการในภาคใต้ โดยมีการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีและการจัดหากู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 683 ล้านบาท และมีเอกชนที่ใช้ประโยชน์จากการบริการต่าง ๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ 683 ราย โดยใช้งบประมาณจำนวน 229 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยงบดำเนินการ 151 ล้านบาท และงบลงทุน 78 ล้านบาท
ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2554) ปีที่ 4-6 เป็นเริ่มงานก่อสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา โดยใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ส่วนขยายของวิทยาเขตหาดใหญ่ ขณะที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องจากระยะที่หนึ่ง ทั้งการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี การจัดให้มีบริการยกระดับเทคโนโลยีโดยการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีและการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ผู้ประกอบการภาคใต้ แต่เนื่องจากระยะนี้เป็นการลงทุนส่วนใหญ่ในงานโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้น มูลค่าทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่างบประมาณที่ต้องใช้ ซึ่งคาดว่าระยะนี้จะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1,623 ล้านบาท และมีเอกชนที่ใช้ประโยชน์จากการบริการต่าง ๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ 1,703 ราย โดยใช้งบประมาณจำนวน 2,430 ล้านบาท ประกอบด้วยงบดำเนินการ 369 ล้านบาท และงบลงทุน 2,061 ล้านบาท
ระยะที่ 3 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2557) ปีที่ 7-9 เป็นระยะแรกของการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีที่ 7 และสามารถเปิดให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ในปีที่ 8 ทั้งนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 3,093 ล้านบาท และมีเอกชนที่ใช้ประโยชน์จากการบริการต่าง ๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ 2,439 ราย โดยใช้งบประมาณ จำนวน 1,055 ล้านบาท ประกอบด้วยงบดำเนินการ 620 ล้านบาท และงบลงทุน 435 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--