แท็ก
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดจันทบุรี
กระทรวงมหาดไทย
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและภัยแล้งตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงวันที่ 22 มกราคม 2550 และอุบัติเหตุรถทัวร์จ้างเหมาของคณะครูจังหวัดจันทบุรีพลิกคว่ำที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มกราคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 47 จังหวัด 459 อำเภอ 51 กิ่งอำเภอ 3,162 ตำบล 33,617 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,626,192 คน 1,962,527 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ พะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และนครสวรรค์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
- ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจันทบุรี
1.2 จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 44 จังหวัด
1.3 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
1.3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเก็บสำรองไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยหนาว ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
1.3.2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่นๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 670,821 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 566,911 ผืน เสื้อกันหนาว 64,662 ตัว หมวกไหมพรม 24,136 ผืน และอื่นๆ 15,112 ชิ้น)
2. สถานการณ์ภัยแล้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มกราคม 2550) ได้รับรายงานจากจังหวัดว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 22 มกราคม 2550) ดังนี้
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 11 จังหวัด 86 อำเภอ 13 กิ่งฯ 582 ตำบล 4,783 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง แพร่ ตาก ขอนแก่น หนองคาย มุกดาหาร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู และบุรีรัมย์ (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 4,783 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 40.08 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 11 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
2.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 1,780,038 คน 421,104 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 166,906 ไร่ (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน 421,104 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 18.79 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 11 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
2.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก รวม 228 เครื่อง
(2) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 1,235 แห่ง
(3) การขุดลอกแหล่งน้ำ 86 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค จำนวน 10,759,400 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 42,979,906 บาท (งบ 50 ล้านบาท)
2.4 การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2550 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2550 ครั้งที่ 1/2550 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางและมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ได้แก่ การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร การสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยและการป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้ายในช่วงฤดูแล้ง
3. อุบัติเหตุรถทัวร์จ้างเหมาของคณะครูจันทบุรีพลิกคว่ำที่จังหวัดเชียงใหม่
3.1 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2550 เวลา 10.00 น. เกิดอุบัติเหตุรถทัวร์จ้างเหมาของคณะครูจากอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี หมายเลขทะเบียน 30-0963 พระนครศรีอยุธยา ของบริษัท ทิฆัมพร จำกัด ที่เดินทางทัศนศึกษาจากจังหวัดเชียงรายมุ่งหน้าไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เสียหลักชนกำแพงคอนกรีตไหล่ทางกั้นแม่น้ำกวงและพลิกคว่ำตกลงในแม่น้ำกวง บนถนนสาย 118 เชียงใหม่—เชียงราย บริเวณบ้านปางแฟน ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต 17 คน บาดเจ็บ 33 คน (เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลดอยสะเก็ด โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ โรงพยาบาลสันทราย โรงพยาบาลแมคคอร์มิค โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลเทพปัญญา และโรงพยาบาลลานนา) โดยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา) ได้เดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บและมอบสิ่งของที่โรงพยาบาล รวมทั้งประสานงานกับจังหวัดเชียงใหม่ในการเคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิต
3.2 การให้ความช่วยเหลือ
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานงานไปยังกรมกิจการพลเรือนกองทัพอากาศ (น.อ.สิทธิชัย แก้วบัวดี ผอ.กร.กรมกิจการพลเรือน ทอ./ผช.ศบภ.ทอ.) เพื่อขอรับการสนับสนุนอากาศยาน C 130 เดินทางไปรับศพผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 เวลา 14.00 น. โดย มทบ.33 สนับสนุนรถบรรทุกขนาด 6 ล้อ จำนวน 4 คัน นำศพผู้เสียชีวิตจากโรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ไปกองบิน 41 เพื่อไปยังสนามบินอู่ตะเภา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
2) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (นายวิชัย ศรีขวัญ) ได้อำนวยการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิต รวมทั้งสั่งการให้สำนักทะเบียนอำเภอดอยสะเก็ดอำนวยความสะดวกในการออกใบมรณบัตรสำหรับผู้เสียชีวิต
3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดรถบรรทุกของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี เคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิตจากสนามบินอู่ตะเภา ไปยังจังหวัดจันทบุรีซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี (นายพนัส แก้วลาย) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกรับศพผู้เสียชีวิต โดยได้เคลื่อนย้ายศพไปถึงวัดทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน เมื่อเวลา 18.30 น. ของวันเดียวกันและได้จัดพิธีรดน้ำศพคณะครู ผู้เสียชีวิตและให้ญาติได้มารับศพผู้เสียชีวิตนำไปบำเพ็ญกุศลตามภูมิลำเนาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มกราคม 2550--จบ--
1. สถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มกราคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 47 จังหวัด 459 อำเภอ 51 กิ่งอำเภอ 3,162 ตำบล 33,617 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,626,192 คน 1,962,527 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ พะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และนครสวรรค์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
- ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจันทบุรี
1.2 จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 44 จังหวัด
1.3 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
1.3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเก็บสำรองไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยหนาว ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
1.3.2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่นๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 670,821 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 566,911 ผืน เสื้อกันหนาว 64,662 ตัว หมวกไหมพรม 24,136 ผืน และอื่นๆ 15,112 ชิ้น)
2. สถานการณ์ภัยแล้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มกราคม 2550) ได้รับรายงานจากจังหวัดว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 22 มกราคม 2550) ดังนี้
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 11 จังหวัด 86 อำเภอ 13 กิ่งฯ 582 ตำบล 4,783 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง แพร่ ตาก ขอนแก่น หนองคาย มุกดาหาร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู และบุรีรัมย์ (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 4,783 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 40.08 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 11 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
2.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 1,780,038 คน 421,104 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 166,906 ไร่ (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน 421,104 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 18.79 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 11 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
2.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก รวม 228 เครื่อง
(2) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 1,235 แห่ง
(3) การขุดลอกแหล่งน้ำ 86 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค จำนวน 10,759,400 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 42,979,906 บาท (งบ 50 ล้านบาท)
2.4 การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2550 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2550 ครั้งที่ 1/2550 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางและมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ได้แก่ การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร การสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยและการป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้ายในช่วงฤดูแล้ง
3. อุบัติเหตุรถทัวร์จ้างเหมาของคณะครูจันทบุรีพลิกคว่ำที่จังหวัดเชียงใหม่
3.1 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2550 เวลา 10.00 น. เกิดอุบัติเหตุรถทัวร์จ้างเหมาของคณะครูจากอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี หมายเลขทะเบียน 30-0963 พระนครศรีอยุธยา ของบริษัท ทิฆัมพร จำกัด ที่เดินทางทัศนศึกษาจากจังหวัดเชียงรายมุ่งหน้าไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เสียหลักชนกำแพงคอนกรีตไหล่ทางกั้นแม่น้ำกวงและพลิกคว่ำตกลงในแม่น้ำกวง บนถนนสาย 118 เชียงใหม่—เชียงราย บริเวณบ้านปางแฟน ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต 17 คน บาดเจ็บ 33 คน (เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลดอยสะเก็ด โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ โรงพยาบาลสันทราย โรงพยาบาลแมคคอร์มิค โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลเทพปัญญา และโรงพยาบาลลานนา) โดยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา) ได้เดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บและมอบสิ่งของที่โรงพยาบาล รวมทั้งประสานงานกับจังหวัดเชียงใหม่ในการเคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิต
3.2 การให้ความช่วยเหลือ
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานงานไปยังกรมกิจการพลเรือนกองทัพอากาศ (น.อ.สิทธิชัย แก้วบัวดี ผอ.กร.กรมกิจการพลเรือน ทอ./ผช.ศบภ.ทอ.) เพื่อขอรับการสนับสนุนอากาศยาน C 130 เดินทางไปรับศพผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 เวลา 14.00 น. โดย มทบ.33 สนับสนุนรถบรรทุกขนาด 6 ล้อ จำนวน 4 คัน นำศพผู้เสียชีวิตจากโรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ไปกองบิน 41 เพื่อไปยังสนามบินอู่ตะเภา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
2) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (นายวิชัย ศรีขวัญ) ได้อำนวยการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิต รวมทั้งสั่งการให้สำนักทะเบียนอำเภอดอยสะเก็ดอำนวยความสะดวกในการออกใบมรณบัตรสำหรับผู้เสียชีวิต
3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดรถบรรทุกของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี เคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิตจากสนามบินอู่ตะเภา ไปยังจังหวัดจันทบุรีซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี (นายพนัส แก้วลาย) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกรับศพผู้เสียชีวิต โดยได้เคลื่อนย้ายศพไปถึงวัดทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน เมื่อเวลา 18.30 น. ของวันเดียวกันและได้จัดพิธีรดน้ำศพคณะครู ผู้เสียชีวิตและให้ญาติได้มารับศพผู้เสียชีวิตนำไปบำเพ็ญกุศลตามภูมิลำเนาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มกราคม 2550--จบ--