คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม และอนุมัติมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเพิ่มเติม ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ติดตามความก้าวหน้าและรายงานผลต่อนายกรัฐมนตรีเป็นประจำตามความเหมาะสมต่อไปด้วย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและข้อเสนอมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ความก้าวหน้าการดำเนินการ ในช่วงเดือนเมษายนได้มีการขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุน ซึ่งมีความก้าวหน้าในการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
1.1 คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐมีการประชุม 2 ครั้งคือ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม และ 20 เมษายน 2550 และกระทรวงการคลังได้จัดประชุมผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่และวงเงินลงทุนสูงจำนวน 17 แห่ง รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดประชุมรัฐวิสาหกิจเพื่อทบทวนและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 เพื่อติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุน ซึ่งพบว่ายังค่อนข้างล่าช้า กล่าวคือ
1.1.1 การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ จากข้อมูลของกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2550 พบว่า ส่วนราชการมีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วทั้งสิ้น 792,261 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.58 ของงบประมาณทั้งสิ้น ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 ซึ่งเบิกจ่ายได้ร้อยละ 54.25 และต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายร้อยละ 28.68 หรือประมาณ 318,548 ล้านบาท โดยแยกเป็น
(1) การเบิกจ่ายหมวดรายจ่ายประจำ 669,195 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.69 ของวงเงินรายจ่ายประจำ ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 58.78 ของปีที่แล้ว และต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายประมาณ 191,468 ล้านบาท
(2) การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 123,066 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.47 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 42.55 ของปีที่แล้ว และต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายงบลงทุนประมาณ 127,080 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ยังมีความจำเป็นจะต้องเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้เพราะในภาพรวมและจำแนกรายหมวดรายจ่ายยังคงต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายและต่ำกว่าปี 2549
1.1.2 การก่อหนี้ผูกพันของส่วนราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2550 กรมบัญชีกลางได้รับรายงานจากหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุน 95 หน่วยงาน จากหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุน 235 หน่วยงาน คิดเป็นรายจ่ายลงทุน 104,111 ล้านบาท สามารถก่อหนี้ผูกพันได้แล้ว 55,416 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.23 และยังไม่สามารถก่อหนี้ผูกพัน 30,943 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.73 ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2550 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 ต่อไป
1.1.3 การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 — มีนาคม 2550 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนแล้ว 70,953 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.7 ของเป้าหมายการเบิกจ่ายลงทุน 104,874 ล้านบาท โดยในไตรมาสแรกเบิกจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 88.2 และไตรมาสที่สองเบิกจ่ายลงทุนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 57.4 ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประชุมหารือกับรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนสูง 14 แห่ง รวมทั้งรัฐวิสาหกิจอื่นปรับแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้ ซึ่งคาดว่ารัฐวิสาหกิจจะสามารถเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนได้สูงขึ้นในไตรมาสที่ 3-4 ของปีงบประมาณ และไตรมาสที่ 4 ของปีปฏิทินสำหรับรัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีปฏิทิน เป็นร้อยละ 81.5, 88.9 และ 120.1 ตามลำดับ ทำให้ยอดเบิกจ่ายงบลงทุนตลอดทั้งปี 2550 เป็นไปตามเป้าหมายร้อยละ 85 ตามมติคณะรัฐมนตรีคือเบิกจ่ายได้ 308,878 ล้านบาทจากเป้าหมาย 363,425 ล้านบาท
1.2 การเร่งรัดการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ปรากฏว่า กระทรวงคมนาคมมีความพร้อมที่จะเริ่มประมูลได้ภายในเดือนสิงหาคม 2550 รวม 4 โครงการ มีวงเงินลงทุน 74,331 ล้านบาท ได้แก่
(1) โครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (13,133 ล้านบาท)
(2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ (45,653 ล้านบาท)
(3) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทาง ฉะเชิงเทรา — ศรีราชา — แหลมฉบัง (5,850 ล้านบาท)
(4) โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (2,348 ล้านบาท)
1.3 การแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุด จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนปฏิบัติการลดมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบที่จะให้ภาคอุตสาหกรรมมีการลงทุนเพิ่มเติมในพื้นที่ดังกล่าวได้โดยกำหนดเงื่อนไขให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่อให้การปล่อยมลพิษในพื้นที่ทยอยลดระดับลงจากที่เป็นอยู่จริงในปี 2549 ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนเพื่อลดมลพิษแล้วเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 ผลจากมาตรการภาครัฐดังกล่าว ทำให้โครงการที่มีแผนงานลงทุนแล้วประมาณ 400,000 ล้านบาท สามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยคาดว่าจะเริ่มมีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ได้ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2550 เป็นต้นไป
1.4 การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 เห็นชอบแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2551-2555) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อขอจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ 2551 ต่อไป
2. ภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2550 โดยภาพรวม การส่งออกเป็นกำลังหลักเพียงประการเดียวในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ แต่เนื่องจากการส่งออกในระยะไตรมาสแรกของปี 2550 มีอัตราเพิ่มสูงถึงร้อยละ 18.5 มีผลทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีอัตราการเจริญเติบโตในเกณฑ์ที่ประมาณการไว้ ในขณะที่พื้นฐานด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังมีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่
2.1 ปัจจัยด้านการลงทุนที่ยังมีแนวโน้มอ่อนตัวในไตรมาสแรกปี 2550 โดยเห็นได้ชัดจากภาวะการลงทุนของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การนำเข้าสินค้ามีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลง และเริ่มมีส่วนทำให้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้มีอุปทานของเงินตราต่างประเทศมากกว่าอุปสงค์ และนำไปสู่แรงกดดันต่อค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น ดังนั้น โดยภาพรวมทางเศรษฐกิจแล้ว การเร่งการลงทุนจึงเป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต
2.2 นอกจากการลงทุนแล้ว การบริโภคภายในประเทศก็ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการขับเคลื่อนเพิ่มเติมขึ้น ผ่านนโยบายการเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้แล้ว นอกจากนั้น นโยบายการเงินที่เหมาะสมภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงคาดว่าจะเริ่มมีผลกระตุ้นการใช้จ่ายบริโภคได้ในระยะครึ่งหลังของปี 2550
3. มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเพิ่มเติม
3.1 ให้ส่วนราชการปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายร้อยละ 93 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2550 โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณร่วมกับส่วนราชการปรับโครงการหรือรายการใช้จ่ายของส่วนราชการจากโครงการหรือรายการที่ไม่สามารถก่อภาระผูกพันได้ทันภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ตามมติคณะรัฐมนตรีไปใช้จ่ายในโครงการหรือรายการดังต่อไปนี้
1) โครงการหรือรายการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเม็ดเงินจากสำนักงบประมาณ
2) โครงการหรือรายการที่มีความสามารถในการเบิกจ่ายจริงมากกว่างบประมาณที่ตั้งไว้
ทั้งนี้ให้การเปลี่ยนแปลงงบประมาณดังกล่าวเน้นโครงการหรือรายการตามนโยบายของรัฐบาลโดยให้ความสำคัญสูงสุดแก่พื้นที่ “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้”
3.2 โครงการระบบส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการเตรียมโครงการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อให้สามารถประมูลโครงการที่มีความพร้อมทั้ง 4 โครงการได้ภายในเดือนสิงหาคม 2550 และให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินเพื่อสนับสนุนโครงการ โดยอาจเป็นแหล่งเงินกู้ต่างประเทศหรือภายในประเทศก็ได้ ให้ทันตามเป้าหมายการประมูลภายในเดือนสิงหาคม 2550
3.3 ความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการชะลอตัวในระดับการผลิต ตลอดจนรายได้และการขยายตัวของธุรกิจหลายประเภท ดังนั้น จึงเห็นควรอนุมัติจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม ในวงเงิน 1,100 ล้านบาท สำหรับการร่วมมือกับภาคเอกชน 13 สาขาเพื่อพัฒนาผลิตภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีโรงงานเข้าร่วมประมาณ 4,500 โรงงาน
สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ในด้านการติดตามสถานการณ์และกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนมีความครอบคลุมถึงข้อมูลและภารกิจเพิ่มขึ้น เห็นควรแต่งตั้งกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม เพิ่มเติม 2 ท่าน คือ (1) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (2) นายธนวรรธน์ พลวิชัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 พฤษภาคม 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและข้อเสนอมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ความก้าวหน้าการดำเนินการ ในช่วงเดือนเมษายนได้มีการขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุน ซึ่งมีความก้าวหน้าในการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
1.1 คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐมีการประชุม 2 ครั้งคือ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม และ 20 เมษายน 2550 และกระทรวงการคลังได้จัดประชุมผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่และวงเงินลงทุนสูงจำนวน 17 แห่ง รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดประชุมรัฐวิสาหกิจเพื่อทบทวนและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 เพื่อติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุน ซึ่งพบว่ายังค่อนข้างล่าช้า กล่าวคือ
1.1.1 การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ จากข้อมูลของกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2550 พบว่า ส่วนราชการมีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วทั้งสิ้น 792,261 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.58 ของงบประมาณทั้งสิ้น ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 ซึ่งเบิกจ่ายได้ร้อยละ 54.25 และต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายร้อยละ 28.68 หรือประมาณ 318,548 ล้านบาท โดยแยกเป็น
(1) การเบิกจ่ายหมวดรายจ่ายประจำ 669,195 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.69 ของวงเงินรายจ่ายประจำ ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 58.78 ของปีที่แล้ว และต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายประมาณ 191,468 ล้านบาท
(2) การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 123,066 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.47 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 42.55 ของปีที่แล้ว และต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายงบลงทุนประมาณ 127,080 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ยังมีความจำเป็นจะต้องเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้เพราะในภาพรวมและจำแนกรายหมวดรายจ่ายยังคงต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายและต่ำกว่าปี 2549
1.1.2 การก่อหนี้ผูกพันของส่วนราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2550 กรมบัญชีกลางได้รับรายงานจากหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุน 95 หน่วยงาน จากหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุน 235 หน่วยงาน คิดเป็นรายจ่ายลงทุน 104,111 ล้านบาท สามารถก่อหนี้ผูกพันได้แล้ว 55,416 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.23 และยังไม่สามารถก่อหนี้ผูกพัน 30,943 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.73 ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2550 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 ต่อไป
1.1.3 การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 — มีนาคม 2550 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนแล้ว 70,953 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.7 ของเป้าหมายการเบิกจ่ายลงทุน 104,874 ล้านบาท โดยในไตรมาสแรกเบิกจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 88.2 และไตรมาสที่สองเบิกจ่ายลงทุนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 57.4 ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประชุมหารือกับรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนสูง 14 แห่ง รวมทั้งรัฐวิสาหกิจอื่นปรับแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้ ซึ่งคาดว่ารัฐวิสาหกิจจะสามารถเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนได้สูงขึ้นในไตรมาสที่ 3-4 ของปีงบประมาณ และไตรมาสที่ 4 ของปีปฏิทินสำหรับรัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีปฏิทิน เป็นร้อยละ 81.5, 88.9 และ 120.1 ตามลำดับ ทำให้ยอดเบิกจ่ายงบลงทุนตลอดทั้งปี 2550 เป็นไปตามเป้าหมายร้อยละ 85 ตามมติคณะรัฐมนตรีคือเบิกจ่ายได้ 308,878 ล้านบาทจากเป้าหมาย 363,425 ล้านบาท
1.2 การเร่งรัดการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ปรากฏว่า กระทรวงคมนาคมมีความพร้อมที่จะเริ่มประมูลได้ภายในเดือนสิงหาคม 2550 รวม 4 โครงการ มีวงเงินลงทุน 74,331 ล้านบาท ได้แก่
(1) โครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (13,133 ล้านบาท)
(2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ (45,653 ล้านบาท)
(3) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทาง ฉะเชิงเทรา — ศรีราชา — แหลมฉบัง (5,850 ล้านบาท)
(4) โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (2,348 ล้านบาท)
1.3 การแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุด จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนปฏิบัติการลดมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบที่จะให้ภาคอุตสาหกรรมมีการลงทุนเพิ่มเติมในพื้นที่ดังกล่าวได้โดยกำหนดเงื่อนไขให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่อให้การปล่อยมลพิษในพื้นที่ทยอยลดระดับลงจากที่เป็นอยู่จริงในปี 2549 ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนเพื่อลดมลพิษแล้วเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 ผลจากมาตรการภาครัฐดังกล่าว ทำให้โครงการที่มีแผนงานลงทุนแล้วประมาณ 400,000 ล้านบาท สามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยคาดว่าจะเริ่มมีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ได้ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2550 เป็นต้นไป
1.4 การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 เห็นชอบแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2551-2555) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อขอจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ 2551 ต่อไป
2. ภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2550 โดยภาพรวม การส่งออกเป็นกำลังหลักเพียงประการเดียวในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ แต่เนื่องจากการส่งออกในระยะไตรมาสแรกของปี 2550 มีอัตราเพิ่มสูงถึงร้อยละ 18.5 มีผลทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีอัตราการเจริญเติบโตในเกณฑ์ที่ประมาณการไว้ ในขณะที่พื้นฐานด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังมีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่
2.1 ปัจจัยด้านการลงทุนที่ยังมีแนวโน้มอ่อนตัวในไตรมาสแรกปี 2550 โดยเห็นได้ชัดจากภาวะการลงทุนของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การนำเข้าสินค้ามีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลง และเริ่มมีส่วนทำให้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้มีอุปทานของเงินตราต่างประเทศมากกว่าอุปสงค์ และนำไปสู่แรงกดดันต่อค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น ดังนั้น โดยภาพรวมทางเศรษฐกิจแล้ว การเร่งการลงทุนจึงเป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต
2.2 นอกจากการลงทุนแล้ว การบริโภคภายในประเทศก็ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการขับเคลื่อนเพิ่มเติมขึ้น ผ่านนโยบายการเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้แล้ว นอกจากนั้น นโยบายการเงินที่เหมาะสมภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงคาดว่าจะเริ่มมีผลกระตุ้นการใช้จ่ายบริโภคได้ในระยะครึ่งหลังของปี 2550
3. มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเพิ่มเติม
3.1 ให้ส่วนราชการปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายร้อยละ 93 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2550 โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณร่วมกับส่วนราชการปรับโครงการหรือรายการใช้จ่ายของส่วนราชการจากโครงการหรือรายการที่ไม่สามารถก่อภาระผูกพันได้ทันภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ตามมติคณะรัฐมนตรีไปใช้จ่ายในโครงการหรือรายการดังต่อไปนี้
1) โครงการหรือรายการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเม็ดเงินจากสำนักงบประมาณ
2) โครงการหรือรายการที่มีความสามารถในการเบิกจ่ายจริงมากกว่างบประมาณที่ตั้งไว้
ทั้งนี้ให้การเปลี่ยนแปลงงบประมาณดังกล่าวเน้นโครงการหรือรายการตามนโยบายของรัฐบาลโดยให้ความสำคัญสูงสุดแก่พื้นที่ “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้”
3.2 โครงการระบบส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการเตรียมโครงการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อให้สามารถประมูลโครงการที่มีความพร้อมทั้ง 4 โครงการได้ภายในเดือนสิงหาคม 2550 และให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินเพื่อสนับสนุนโครงการ โดยอาจเป็นแหล่งเงินกู้ต่างประเทศหรือภายในประเทศก็ได้ ให้ทันตามเป้าหมายการประมูลภายในเดือนสิงหาคม 2550
3.3 ความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการชะลอตัวในระดับการผลิต ตลอดจนรายได้และการขยายตัวของธุรกิจหลายประเภท ดังนั้น จึงเห็นควรอนุมัติจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม ในวงเงิน 1,100 ล้านบาท สำหรับการร่วมมือกับภาคเอกชน 13 สาขาเพื่อพัฒนาผลิตภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีโรงงานเข้าร่วมประมาณ 4,500 โรงงาน
สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ในด้านการติดตามสถานการณ์และกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนมีความครอบคลุมถึงข้อมูลและภารกิจเพิ่มขึ้น เห็นควรแต่งตั้งกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม เพิ่มเติม 2 ท่าน คือ (1) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (2) นายธนวรรธน์ พลวิชัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 พฤษภาคม 2550--จบ--