คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2550 ดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศ จำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2550
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมกราคม 2550 เท่ากับ 115.0 สำหรับเดือนธันวาคม 2549 เท่ากับ 115.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2550 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนธันวาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.3
2.2 เดือนมกราคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 3.0
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2550 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.3 เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3 โดยการลดลงของราคาเนื้อสัตว์ ไก่ และผักสด เป็นปัจจัยหลัก นอกจากนี้ดัชนีราคาหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.2 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศอย่างต่อเนื่องตามภาวะราคาน้ำมันตลาดโลก ทำให้แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้ออ่อนตัวลง
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.3 เป็นอัตราการลดลงที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา (ธันวาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.4) สาเหตุสำคัญยังคงเป็นการลดลงของดัชนีราคาเนื้อสุกร ร้อยละ 7.1 ตามวัฎจักรการเลี้ยงสุกร ที่มีมากในระยะนี้ ประกอบกับสภาพอากาศที่เย็นลงสุกรเจริญเติบโตเร็ว นอกจากนี้จากสภาพอากาศที่เย็นลงเหมาะสมต่อการปลูกผักบางชนิด เป็นผลให้ดัชนีหมวดผักลดลงร้อยละ 2.1 เช่น แตงกวา ผักกาดขาว ผักชี ถั่วฟักยาว และขึ้นฉ่าย เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาไก่สดราคาลดลงร้อยละ 1.1
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.2 ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศซึ่งเป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันตลาดโลก โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซลลดลง 2 ครั้ง เป็นผลให้ดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 2.3 ถึงแม้ดัชนีราคาค่าโดยสารสาธารณะจะสูงขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากอัตราค่าโดยสาร บขส. ได้ปรับเข้าสู่อัตราเดิมแล้วก็ตาม
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนมกราคม 2549 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.0 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.3 เป็นสำคัญ เนื่องจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาข้าวสารเหนียวร้อยละ 45.6 ผักและผลไม้ร้อยละ 27.8 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดค่าโดยสารสาธารณะร้อยละ 10.6 เป็นสำคัญ ถึงแม้ดัชนีราคาหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 4.4 ก็ตาม
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพนักงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2550 เท่ากับ 105.1 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนธันวาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
5.2 เดือนมกราคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.6
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศ จำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2550
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมกราคม 2550 เท่ากับ 115.0 สำหรับเดือนธันวาคม 2549 เท่ากับ 115.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2550 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนธันวาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.3
2.2 เดือนมกราคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 3.0
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2550 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.3 เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3 โดยการลดลงของราคาเนื้อสัตว์ ไก่ และผักสด เป็นปัจจัยหลัก นอกจากนี้ดัชนีราคาหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.2 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศอย่างต่อเนื่องตามภาวะราคาน้ำมันตลาดโลก ทำให้แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้ออ่อนตัวลง
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.3 เป็นอัตราการลดลงที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา (ธันวาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.4) สาเหตุสำคัญยังคงเป็นการลดลงของดัชนีราคาเนื้อสุกร ร้อยละ 7.1 ตามวัฎจักรการเลี้ยงสุกร ที่มีมากในระยะนี้ ประกอบกับสภาพอากาศที่เย็นลงสุกรเจริญเติบโตเร็ว นอกจากนี้จากสภาพอากาศที่เย็นลงเหมาะสมต่อการปลูกผักบางชนิด เป็นผลให้ดัชนีหมวดผักลดลงร้อยละ 2.1 เช่น แตงกวา ผักกาดขาว ผักชี ถั่วฟักยาว และขึ้นฉ่าย เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาไก่สดราคาลดลงร้อยละ 1.1
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.2 ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศซึ่งเป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันตลาดโลก โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซลลดลง 2 ครั้ง เป็นผลให้ดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 2.3 ถึงแม้ดัชนีราคาค่าโดยสารสาธารณะจะสูงขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากอัตราค่าโดยสาร บขส. ได้ปรับเข้าสู่อัตราเดิมแล้วก็ตาม
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนมกราคม 2549 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.0 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.3 เป็นสำคัญ เนื่องจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาข้าวสารเหนียวร้อยละ 45.6 ผักและผลไม้ร้อยละ 27.8 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดค่าโดยสารสาธารณะร้อยละ 10.6 เป็นสำคัญ ถึงแม้ดัชนีราคาหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 4.4 ก็ตาม
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพนักงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2550 เท่ากับ 105.1 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนธันวาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
5.2 เดือนมกราคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.6
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--