แท็ก
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ร่างพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยบูรพา
กระทรวงคมนาคม
โรงแรมคอนราด
กรมการปกครอง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ต่อไป กระทรวงคมนาคมเสนอว่า เห็นควรยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป เนื่องจากเป็นการกำหนดหลักการห้ามมิให้ผู้ควบคุมเรือหรือเจ้าของเรือไทยหรือผู้ควบคุมหรือเจ้าของสิ่งก่อสร้างในทะเลทั้งที่ติดตรึงอยู่กับที่หรือที่ลอยน้ำได้ ปล่อยทิ้งสารที่เป็นอันตรายหรือสิ่งใด ๆ ที่มีสารที่เป็นอันตรายปนอยู่ลงสู่ทะเล และกำหนดโทษผู้กระทำการฝ่าฝืนเพื่อเป็นการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้ง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการต่างประเทศในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ (เรือไทย) และความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศ อันเป็นการสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มบทนิยามคำว่า “สารที่เป็นอันตราย” ไว้ในพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481
2. เพิ่มความขึ้นใหม่โดยกำหนดให้เป็นมาตรา 53/1 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 เพื่อห้ามมิให้ผู้ควบคุมเรือหรือเจ้าของเรือไทยหรือผู้ควบคุมหรือเจ้าของสิ่งก่อสร้างในทะเลทั้งที่ติดตรึงอยู่กับที่หรือที่ลอยน้ำได้ ปล่อยทิ้งสารที่เป็นอันตราย หรือสิ่งใด ๆ ที่มีสารที่เป็นอันตรายปนอยู่ลงสู่ทะเลไม่ว่าบริเวณใด ๆ
3. กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา 53/1 ไม่ว่าทะเลบริเวณใด ๆ ให้รับโทษในราชอาณาจักร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป เนื่องจากเป็นการกำหนดหลักการห้ามมิให้ผู้ควบคุมเรือหรือเจ้าของเรือไทยหรือผู้ควบคุมหรือเจ้าของสิ่งก่อสร้างในทะเลทั้งที่ติดตรึงอยู่กับที่หรือที่ลอยน้ำได้ ปล่อยทิ้งสารที่เป็นอันตรายหรือสิ่งใด ๆ ที่มีสารที่เป็นอันตรายปนอยู่ลงสู่ทะเล และกำหนดโทษผู้กระทำการฝ่าฝืนเพื่อเป็นการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้ง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการต่างประเทศในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ (เรือไทย) และความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศ อันเป็นการสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มบทนิยามคำว่า “สารที่เป็นอันตราย” ไว้ในพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481
2. เพิ่มความขึ้นใหม่โดยกำหนดให้เป็นมาตรา 53/1 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 เพื่อห้ามมิให้ผู้ควบคุมเรือหรือเจ้าของเรือไทยหรือผู้ควบคุมหรือเจ้าของสิ่งก่อสร้างในทะเลทั้งที่ติดตรึงอยู่กับที่หรือที่ลอยน้ำได้ ปล่อยทิ้งสารที่เป็นอันตราย หรือสิ่งใด ๆ ที่มีสารที่เป็นอันตรายปนอยู่ลงสู่ทะเลไม่ว่าบริเวณใด ๆ
3. กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา 53/1 ไม่ว่าทะเลบริเวณใด ๆ ให้รับโทษในราชอาณาจักร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--