สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง อุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 21, 2010 15:52 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2553) ของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และการให้ความช่วยเหลือ

1.1 พื้นที่ประสบภัย 27 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 13-19 กรกฎาคม 2553)ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน ลำปาง ลำพูน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และจังหวัดลพบุรี รวม 175 อำเภอ 1,264 ตำบล 12,054 หมู่บ้าน แยกเป็น ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงปี 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 13-19 กรกฎาคม 2553)

ที่                        พื้นที่ประสบภัย                                                        ราษฎรประสบภัย
       ภาค        จังหวัด    อำเภอ     ตำบล       หมู่บ้าน    รายชื่อจังหวัด                       คน      ครัวเรือน
1      เหนือ          12       66      420       3,475    กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่   783,589      243,121
                                                         ตาก น่าน ลำปาง ลำพูน พิจิตร
                                                         พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์
                                                         อุทัยธานี
2      ตะวันออก       11       95      747       7,782    กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครราชสีมา   2,754,581      693,902
       เฉียงเหนือ                                          มหาสารคาม บุรีรัมย์ มุกดาหาร
                                                         ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ
                                                         หนองบัวลำภู อุบลราชธานี
3      กลาง           4       14       97         797    ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี     336,549       60,528
                                                         ลพบุรี
รวมทั้งประเทศ          27      175    1,264      12,054                              3,874,719      997,551

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

                       จำนวน
                       หมู่บ้าน  22-28 มิ.ย. 2553  29 มิ.ย.-5 ก.ค. 2553     6-12 ก.ค. 2553    13-19 ก.ค. 2553
 ที่  ภาค                ทั้งหมด   หมู่บ้าน    + เพิ่ม    หมู่บ้าน     + เพิ่ม      หมู่บ้าน     + เพิ่ม    หมู่บ้าน     + เพิ่ม
                                         - ลด               - ลด                 - ลด               - ลด
 1  เหนือ              16,590   4,183      533    3,780      -403      3,595      -185    3,475      -120
 2  ตะวันออก           33,099   8,120    3,482    8,120         0      7,844      -276    7,782       -62
    เฉียงเหนือ
 3  กลาง              11,736     909      512      909         0        909         0      797      -112
    รวม               74,944  13,212    4,527   12,809      -403     12,348      -461   12,054      -294

เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 6-12 กรกฎาคม 2553 ซึ่งมีพื้นที่ ประสบภัยแล้ง รวม 27 จังหวัด 189 อำเภอ 1,363 ตำบล 12,348 หมู่บ้าน แต่เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ต่างๆ ลดลง จำนวน 294 หมู่บ้าน

หมายเหตุ สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ช่วงระยะเวลาที่มีสถานการณ์ภัยแล้งสูงสุดอยู่ในห้วงระหว่างวันที่ 12-19 เมษายน 2553 มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 60 จังหวัด 463 อำเภอ 3,005 ตำบล 24,248 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,421,017 คน 1,982,861 ครัวเรือน

1.2 ความเสียหาย

พื้นที่การเกษตรเสียหาย รวม 1,183,834 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 916,784 ไร่ นาข้าว 89,313 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 177,737 ไร่ ในพื้นที่ 45 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด เลยสกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กระบี่ นครศรีธรรมราช ระนอง พัทลุง สตูล สุราษฎร์ธานี และจังหวัดตรัง

1.3 การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 552 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 255,884,614 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 732 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 696 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 656,655,958 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 419,317,654 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 230,752,859 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 6,585,445 บาท

1.4 การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานอื่นๆ

1) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 148 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 29 จังหวัด โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 3 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 เครื่อง ภาคกลาง 62 เครื่อง ภาคตะวันออก 17 เครื่อง และภาคใต้ 57 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 33 คัน 3,628 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 21,768,000 ลิตร

2) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 4,076 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 26,067,000 ลิตร

3) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 4,500 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 30,777,000 ลิตร

4) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 996 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 6,114,096 ลิตร

5) การประปาส่วนภูมิภาค ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย โดยไม่คิดมูลค่าเป็นจำนวน 534,866,000 ลิตร และคิดเป็นยอดเงินรวม จำนวน 8,557,869 บาท

6) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้จัดรถบรรทุกน้ำ 30 คัน เพื่อแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 50,000,000 ลิตร

7) กรมทรัพยากรน้ำ ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 1,346,000 ลิตร

8) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล แจกน้ำจากจุดจ่ายน้ำถาวร 100 แห่ง ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 90,400,000 ลิตร

9) กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 236,000 ลิตร

10) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ขึ้นบินปฏิบัติการ รวม 125 วัน จำนวน 3,629 เที่ยว มีรายงานฝนตกในการปฏิบัติการ รวม 114 วัน จำนวน 664 สถานี มีรายงานฝนตก 63 จังหวัด

11) สิ่งของพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำหน่วยรถผลิตน้ำดื่มไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี รวมจ่ายน้ำให้กับประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 2,910,500 ลิตร

2. สถานการณ์ อุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 13-19 กรกฎาคม 2553)

2.1 พื้นที่ประสบภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย น่าน และจังหวัดหนองคาย รวม 6 อำเภอ 12 ตำบล ดังนี้

1) จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ได้เกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำป่าไหลหลากและ น้ำจากลำน้ำแม่จัน เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอแม่จัน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าตึง (หมู่ที่ 4-8,12,13,14,16) ตำบลศรีค้ำ (หมู่ที่ 2) และตำบลป่าซาง (หมู่ที่ 11) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 41 ครัวเรือน 133 คน ในเบื้องต้นไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

2) จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ได้เกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอเมือง 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำสวย (หมู่ที่ 1,3-7,9,12,13) และตำบลนาแขม(หมู่ที่ 1,7) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 340 ครัวเรือน 1,083 คน ในเบื้องต้น ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

3) จังหวัดน่าน เมื่อช่วงวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2553 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ปริมาณน้ำฝนวัดได้ สูงสุด 165 มม. (อ.บ่อเกลือ) ทำให้เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ่อเกลือ 3 ตำบล คือ ตำบลบ่อเกลือเหนือ ภูฟ้า และตำบลดงพระยา อำเภอท่าวังผา 1 ตำบล คือ ตำบลผาตอ (บ้านนาหนุน 1,2) อำเภอปัว 2 ตำบล คือ ตำบลปัว และตำบลแงง ความเสียหายเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการสำรวจ

4) จังหวัดหนองคาย เมื่อช่วงวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2553 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ปริมาณน้ำฝนวัดได้สูงสุด 215.0 มม. (อ.บุ่งคล้า) ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบุ่งคล้า 1 ตำบล คือตำบลโคกกว้าง (บ้านสมพร ม.8) ความเสียหายเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการสำรวจ

2.2 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว

อนึ่ง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 เกิดเหตุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงพัดบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ ตำบลอ้าวน้อย เทศบาล กม.5 อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เบื้องต้นมีบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย จำนวน 25 หลัง ราษฎรได้รับความเดือนร้อน จำนวน 125 คน ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล) นายกเหล่ากาชาดจังหวัด พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าไปตรวจสอบในที่เกิดเหตุ และได้ให้ความช่วยเหลือ โดยนำถุง ยังชีพพระราชทานจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูถัมภ์ จำนวน 100 ชุด และเงินช่วยเหลือฉุกเฉินเบื้องต้น จำนวน 3,000 บาท ต่อครัวเรือน มอบให้แก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้น พร้อมทั้งได้ระดมเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 19-24 กรกฎาคม 2553

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ทั่วประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะ 1-2 วันนี้ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน จะมีกำลังแรง ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังในช่วงวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2553 ไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 กรกฎาคม 2553 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง

อนึ่ง พายุโซนร้อน “โกนเซิน (Conson)” บริเวณประเทศเวียดนามตอนบนมีทิศทางการเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าใกล้ประเทศลาวและจะอ่อนกำลังลง อย่างรวดเร็ว ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 19 กรกฎาคม 2553

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัด เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากสภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตทรัพย์สิน และผลิตผลทางการเกษตรของประชาชนแล้ว และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัด จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กรกฎาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ