คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติในหลักการเรื่อง การพิจารณาการตอบแทนนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบขอบเขตและแนวทางการให้ความช่วยเหลือนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ตามข้อ 2.3
2. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการตอบแทนนักกีฬา/บุคลากรกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ
3. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและถือปฏิบัติต่อไป
โดยให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาการตอบแทนนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ นั้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ดำเนินการ ดังนี้
1.คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการตอบแทนนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติขึ้น โดยมีปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธาน ผู้แทนจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 13 คน เป็นกรรมการ และมีผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้มีการประชุมมาแล้วจำนวน 4 ครั้ง เพื่อพิจารณาขอบเขตและแนวทางการให้ความช่วยเหลือนักกีฬาที่ประสบผลสำเร็จ นักกีฬาทั่วไป และบุคลากรกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ
2. ต่อมาคณะอนุกรรมการฯ ได้สรุปผลการพิจารณาการตอบแทนฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยในการประชุม ครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอรวม 5 เรื่อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 บุคคลที่ควรได้รับการสนับสนุน
1) นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง นักกีฬาทั้งคนปกติ และนักกีฬาคนพิการที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ โดยได้รับรางวัลในการแข่งขันระดับนานาชาติ
2) นักกีฬาทั่วไป หมายถึง นักกีฬาทั้งคนปกติ และนักกีฬาคนพิการที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับนานาชาติรายการต่าง ๆ แต่ได้มีการทุ่มเท เสียสละเวลาเพื่อการแข่งขันให้กับประเทศชาติอย่างเต็มกำลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือมีผลการแข่งขันที่ดี เช่น สามารถทำลายสถิติการแข่งขัน หรือแสดงขีดความสามารถเป็นที่ประจักษ์
3) บุคลากรกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ หมายถึง ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ผู้ชี้ขาด ผู้จัดการทีม ฝ่ายเทคนิค บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้บริหารองค์กรกีฬา ซึ่งได้เสียสละ ทุ่มเทจนทำให้นักกีฬาประสบความสำเร็จ และเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปีติดต่อกัน
2.2 รายการแข่งขันระดับนานาชาติ
ระดับ ปกติ คนพิการ
ระดับโลก - โอลิมปิคเกมส์ (ฤดูร้อน / ฤดูหนาว) - พาราลิมปิคเกมส์
- ชิงชนะเลิศของโลกและนานาชาติ (เวิลด์แชมป์เปี้ยนชิฟ เวิลด์คัพ - สเปเชียลโอลิมปิคเกมส์
เวิลด์กรังปรี) - เวิลด์ทรานสแปลนทเกมส์
- ชิงชนะเลิศกีฬามหาวิทยาลัยโลก
- ยุวชน/เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก
ระดับเอเชีย - เอเชี่ยนเกมส์ (ฤดูร้อน/ฤดูหนาว) - เฟสปิกเกมส์
- เอเชี่ยนอินดอร์เกมส์/เอเชี่ยนบีชเกมส์
- ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย
- ยุวชน/เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย
ระดับอาเซี่ยน - ซีเกมส์ - อาเซี่ยนพาราเกมส์
- ชิงชนะเลิศแห่งอาเซี่ยน
- ยุวชน/เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งอาเซี่ยน
2.3 ขอบเขตและแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ นักกีฬาทั่วไป และบุคลากรกีฬา รวม 5 เรื่อง ประกอบด้วย ค่าตอบแทน ความก้าวหน้า ความมั่นคง การยกย่องเชิดชูและสวัสดิการ ดังนี้
1) ด้านค่าตอบแทน (เงินรางวัล) ให้ความช่วยเหลือ โดยให้คณะกรรมการกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2548 พิจารณาอนุมัติค่าตอบแทน (เงินรางวัล) ตามระเบียบกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว
2) ด้านความก้าวหน้า ให้ความช่วยเหลือด้วยการมอบทุนการศึกษา การหาสถานศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ และการเลื่อนยศ/ระดับ (กำหนดสายงานเพิ่ม) ตามความเหมาะสม
3) ด้านความมั่นคง ให้ความช่วยเหลือโดยตั้งกรอบอัตรากำลังสายงานด้านการกีฬาให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อบรรจุแต่งตั้ง ย้าย หรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญที่เป็นนักกีฬาหรือบุคลากรกีฬาที่อยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ มาสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำหรับนักกีฬา บุคลากรกีฬาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ประสงค์จะเข้าทำงานในหน่วยงานนั้น ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน พิจารณาการบรรจุในตำแหน่งที่มีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น และในกรณีที่ยังไม่มีงานประจำทำก็ให้พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
4) ด้านการยกย่องเชิดชู ให้แสดงประวัติและผลงานสู่สาธารณชน รวมทั้งการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นอกจากนี้ ให้จัดแสดงประวัติและผลงานในห้องประกาศเกียรติคุณ (เฉพาะนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ)
5) ด้านสวัสดิการ ให้ความช่วยเหลือ โดยการจัดทำประกันชีวิตระหว่างการเก็บตัวฝึกซ้อมและแข่งขัน และในกรณีเสียชีวิตให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบ และหลักเกณฑ์ของกองทุนฯ แก่ทายาท หรือบุพการี ตลอดจนช่วยเหลือทุนการศึกษาแก่บุตรของนักกีฬาตามระเบียบกองทุนฯ
3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ในทุกมิติและทุก ๆ ด้าน และเป็นแนวทางในการพิจารณาการตอบแทนนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. เห็นชอบขอบเขตและแนวทางการให้ความช่วยเหลือนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ตามข้อ 2.3
2. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการตอบแทนนักกีฬา/บุคลากรกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ
3. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและถือปฏิบัติต่อไป
โดยให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาการตอบแทนนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ นั้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ดำเนินการ ดังนี้
1.คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการตอบแทนนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติขึ้น โดยมีปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธาน ผู้แทนจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 13 คน เป็นกรรมการ และมีผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้มีการประชุมมาแล้วจำนวน 4 ครั้ง เพื่อพิจารณาขอบเขตและแนวทางการให้ความช่วยเหลือนักกีฬาที่ประสบผลสำเร็จ นักกีฬาทั่วไป และบุคลากรกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ
2. ต่อมาคณะอนุกรรมการฯ ได้สรุปผลการพิจารณาการตอบแทนฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยในการประชุม ครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอรวม 5 เรื่อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 บุคคลที่ควรได้รับการสนับสนุน
1) นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง นักกีฬาทั้งคนปกติ และนักกีฬาคนพิการที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ โดยได้รับรางวัลในการแข่งขันระดับนานาชาติ
2) นักกีฬาทั่วไป หมายถึง นักกีฬาทั้งคนปกติ และนักกีฬาคนพิการที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับนานาชาติรายการต่าง ๆ แต่ได้มีการทุ่มเท เสียสละเวลาเพื่อการแข่งขันให้กับประเทศชาติอย่างเต็มกำลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือมีผลการแข่งขันที่ดี เช่น สามารถทำลายสถิติการแข่งขัน หรือแสดงขีดความสามารถเป็นที่ประจักษ์
3) บุคลากรกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ หมายถึง ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ผู้ชี้ขาด ผู้จัดการทีม ฝ่ายเทคนิค บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้บริหารองค์กรกีฬา ซึ่งได้เสียสละ ทุ่มเทจนทำให้นักกีฬาประสบความสำเร็จ และเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปีติดต่อกัน
2.2 รายการแข่งขันระดับนานาชาติ
ระดับ ปกติ คนพิการ
ระดับโลก - โอลิมปิคเกมส์ (ฤดูร้อน / ฤดูหนาว) - พาราลิมปิคเกมส์
- ชิงชนะเลิศของโลกและนานาชาติ (เวิลด์แชมป์เปี้ยนชิฟ เวิลด์คัพ - สเปเชียลโอลิมปิคเกมส์
เวิลด์กรังปรี) - เวิลด์ทรานสแปลนทเกมส์
- ชิงชนะเลิศกีฬามหาวิทยาลัยโลก
- ยุวชน/เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก
ระดับเอเชีย - เอเชี่ยนเกมส์ (ฤดูร้อน/ฤดูหนาว) - เฟสปิกเกมส์
- เอเชี่ยนอินดอร์เกมส์/เอเชี่ยนบีชเกมส์
- ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย
- ยุวชน/เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย
ระดับอาเซี่ยน - ซีเกมส์ - อาเซี่ยนพาราเกมส์
- ชิงชนะเลิศแห่งอาเซี่ยน
- ยุวชน/เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งอาเซี่ยน
2.3 ขอบเขตและแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ นักกีฬาทั่วไป และบุคลากรกีฬา รวม 5 เรื่อง ประกอบด้วย ค่าตอบแทน ความก้าวหน้า ความมั่นคง การยกย่องเชิดชูและสวัสดิการ ดังนี้
1) ด้านค่าตอบแทน (เงินรางวัล) ให้ความช่วยเหลือ โดยให้คณะกรรมการกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2548 พิจารณาอนุมัติค่าตอบแทน (เงินรางวัล) ตามระเบียบกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว
2) ด้านความก้าวหน้า ให้ความช่วยเหลือด้วยการมอบทุนการศึกษา การหาสถานศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ และการเลื่อนยศ/ระดับ (กำหนดสายงานเพิ่ม) ตามความเหมาะสม
3) ด้านความมั่นคง ให้ความช่วยเหลือโดยตั้งกรอบอัตรากำลังสายงานด้านการกีฬาให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อบรรจุแต่งตั้ง ย้าย หรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญที่เป็นนักกีฬาหรือบุคลากรกีฬาที่อยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ มาสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำหรับนักกีฬา บุคลากรกีฬาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ประสงค์จะเข้าทำงานในหน่วยงานนั้น ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน พิจารณาการบรรจุในตำแหน่งที่มีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น และในกรณีที่ยังไม่มีงานประจำทำก็ให้พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
4) ด้านการยกย่องเชิดชู ให้แสดงประวัติและผลงานสู่สาธารณชน รวมทั้งการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นอกจากนี้ ให้จัดแสดงประวัติและผลงานในห้องประกาศเกียรติคุณ (เฉพาะนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ)
5) ด้านสวัสดิการ ให้ความช่วยเหลือ โดยการจัดทำประกันชีวิตระหว่างการเก็บตัวฝึกซ้อมและแข่งขัน และในกรณีเสียชีวิตให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบ และหลักเกณฑ์ของกองทุนฯ แก่ทายาท หรือบุพการี ตลอดจนช่วยเหลือทุนการศึกษาแก่บุตรของนักกีฬาตามระเบียบกองทุนฯ
3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬาที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ในทุกมิติและทุก ๆ ด้าน และเป็นแนวทางในการพิจารณาการตอบแทนนักกีฬาที่ประกอบคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--