แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ร่างพระราชบัญญัติ
ข้าราชการพลเรือน
สำนักงาน ก.พ.
คณะรัฐมนตรี
ก.พ.ร.
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์รัฐบาลตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอแล้วมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ตามหลักการที่ ก.พ.ร. เสนอ โดยกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์วิธีการ และการดำเนินการให้ชัดเจน โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไปพิจารณาด้วย แล้วนำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อน
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) มีดังนี้
1. การกำหนดให้มีข้าราชการพลเรือนวิสามัญในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อดำเนินการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ตามที่ ก.พ.ร. เสนอมีหลักการที่ดี แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้เติบโตในระบบราชการ เพราะจะกระทบขวัญและกำลังใจในการทำงานที่ไม่อาจเติบโตในสายงานของตนเองได้ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนนโยบายตามยุทธศาสตร์บรรลุผล เพราะการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์จะดำเนินไปได้จะต้องอาศัยข้าราชการที่อยู่ในระดับรองลงมาด้วย
2. การกำหนดสิทธิพิเศษให้กับข้าราชการพลเรือนวิสามัญเกี่ยวกับเงินเดือนหรือค่าตอบแทน และยกเว้นการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่มีอยู่ จะต้องมีหลักเกณฑ์และเหตุผลที่ชัดเจนถึงความแตกต่างที่สามารถตอบคำถามในความแตกต่างได้ เช่น คุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนวิสามัญจะต้องเป็นนักบริหารที่มีความสามารถในเชิงยุทธศาสตร์ มีความสามารถพิเศษ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ การแต่งตั้งต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นธรรมและควรดำเนินการในเฉพาะองค์กรหลักของประเทศที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ เมื่อได้แต่งตั้งแล้วหากผู้ได้รับแต่งตั้งไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ให้บรรลุได้ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจะต้องมีความรับผิดชอบในผลของการปฏิบัติด้วย เพราะเป็นผู้ที่ได้สิทธิเป็นพิเศษแตกต่างข้าราชการในระบบปกติ มิฉะนั้นแล้วการดำเนินการก็จะไม่มีความแตกต่างและไม่เป็นธรรมกับข้าราชการในระบบปกติ
3. ปัจจุบันคำว่า “ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ” ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ได้ให้ความหมายถึง ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ด้วย การปรับเปลี่ยนให้มีข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามที่เสนอสมควรพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ ให้สอดคล้องกัน
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ครั้งที่ 8/2547 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางของระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์รัฐบาล ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบบุคคลและค่าตอบแทนนำเสนอ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ข้อเสนอระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์รัฐบาล เพื่อสร้างให้ระบบราชการเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล สามารถผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีความยั่งยืน และสร้างขีดความสามารถของประเทศในเวทีโลกได้ จึงกำหนดให้มีการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเฉพาะในส่วนราชการบางแห่งที่มีความสำคัญสูงต่อการผลักดันยุทธศาสตร์รัฐบาลตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ การกำหนดให้ส่วนราชการใดเป็นส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์ของรัฐบาลให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี โดยมี ก.พ.ร. เป็นผู้วิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งการสร้างการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1.1 การกำหนดโจทย์หรือประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินงานของส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์รัฐบาล เพราะจะเป็นเสมือนการกำหนดกรอบเงื่อนไขอ้างอิงการทำงาน (Terms of Reference : TOR) และระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จในภารกิจที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงนั้น ดังนั้น เมื่อ รัฐบาลได้เข้ามาบริหารประเทศและแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณจะร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความชัดเจนในแนวทางการบริหารราชการและการวางยุทธศาสตร์ของส่วนราชการตามนโยบายรัฐบาลดังกล่าว ซึ่งแผนการบริหารราชการแผ่นดินนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการตั้งโจทย์หรือประเด็นที่รัฐบาลต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง ในภารกิจของส่วนราชการได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
1.2 การสรรหาทีมงานบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บุคคลผู้นั้นมาปฏิบัติภารกิจเฉพาะที่มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ทำงานตามสัญญาจ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทีมงานบริหารการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็คือ "นักบริหารที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์" และสมควรให้มีสถานะเป็น "ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ" อาจประกอบด้วย นักบริหารที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการ ตำแหน่งที่ต้องการบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เฉพาะด้านเป็นพิเศษหรือนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่
1.3 การยกเว้นกฎ ระเบียบให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นคล่องตัวในการทำงาน
1.4 การมีระบบสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง โดยมี ก.พ.ร. เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานการทำงาน ติดตามผลการดำเนินงาน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาให้ส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์ รัฐบาลเมื่อได้รับการร้องขอ
2. แนวทางการบริหารงานบุคคลของทีมงานบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยที่ทีมงานบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผู้ที่รับราชการในระบบสัญญาจ้าง มีเป้าหมายและระยะเวลาการทำงานที่ชัดเจน ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มีการประเมินผลงานตามสัญญาจ้าง จึงกำหนดให้มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนอีกประเภทหนึ่งที่อยู่ในระบบบริหารงานบุคคลระบบพิเศษ (special track) แยกต่างหากจากระบบบริหารบุคคลของข้าราชการ พลเรือนสามัญระบบปกติ (regular track) โดยทั่วไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) มีดังนี้
1. การกำหนดให้มีข้าราชการพลเรือนวิสามัญในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อดำเนินการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ตามที่ ก.พ.ร. เสนอมีหลักการที่ดี แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้เติบโตในระบบราชการ เพราะจะกระทบขวัญและกำลังใจในการทำงานที่ไม่อาจเติบโตในสายงานของตนเองได้ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนนโยบายตามยุทธศาสตร์บรรลุผล เพราะการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์จะดำเนินไปได้จะต้องอาศัยข้าราชการที่อยู่ในระดับรองลงมาด้วย
2. การกำหนดสิทธิพิเศษให้กับข้าราชการพลเรือนวิสามัญเกี่ยวกับเงินเดือนหรือค่าตอบแทน และยกเว้นการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่มีอยู่ จะต้องมีหลักเกณฑ์และเหตุผลที่ชัดเจนถึงความแตกต่างที่สามารถตอบคำถามในความแตกต่างได้ เช่น คุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนวิสามัญจะต้องเป็นนักบริหารที่มีความสามารถในเชิงยุทธศาสตร์ มีความสามารถพิเศษ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ การแต่งตั้งต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นธรรมและควรดำเนินการในเฉพาะองค์กรหลักของประเทศที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ เมื่อได้แต่งตั้งแล้วหากผู้ได้รับแต่งตั้งไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ให้บรรลุได้ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจะต้องมีความรับผิดชอบในผลของการปฏิบัติด้วย เพราะเป็นผู้ที่ได้สิทธิเป็นพิเศษแตกต่างข้าราชการในระบบปกติ มิฉะนั้นแล้วการดำเนินการก็จะไม่มีความแตกต่างและไม่เป็นธรรมกับข้าราชการในระบบปกติ
3. ปัจจุบันคำว่า “ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ” ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ได้ให้ความหมายถึง ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ด้วย การปรับเปลี่ยนให้มีข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามที่เสนอสมควรพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ ให้สอดคล้องกัน
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ครั้งที่ 8/2547 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางของระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์รัฐบาล ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบบุคคลและค่าตอบแทนนำเสนอ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ข้อเสนอระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์รัฐบาล เพื่อสร้างให้ระบบราชการเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล สามารถผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีความยั่งยืน และสร้างขีดความสามารถของประเทศในเวทีโลกได้ จึงกำหนดให้มีการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเฉพาะในส่วนราชการบางแห่งที่มีความสำคัญสูงต่อการผลักดันยุทธศาสตร์รัฐบาลตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ การกำหนดให้ส่วนราชการใดเป็นส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์ของรัฐบาลให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี โดยมี ก.พ.ร. เป็นผู้วิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งการสร้างการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1.1 การกำหนดโจทย์หรือประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินงานของส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์รัฐบาล เพราะจะเป็นเสมือนการกำหนดกรอบเงื่อนไขอ้างอิงการทำงาน (Terms of Reference : TOR) และระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จในภารกิจที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงนั้น ดังนั้น เมื่อ รัฐบาลได้เข้ามาบริหารประเทศและแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณจะร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความชัดเจนในแนวทางการบริหารราชการและการวางยุทธศาสตร์ของส่วนราชการตามนโยบายรัฐบาลดังกล่าว ซึ่งแผนการบริหารราชการแผ่นดินนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการตั้งโจทย์หรือประเด็นที่รัฐบาลต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง ในภารกิจของส่วนราชการได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
1.2 การสรรหาทีมงานบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บุคคลผู้นั้นมาปฏิบัติภารกิจเฉพาะที่มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ทำงานตามสัญญาจ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทีมงานบริหารการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็คือ "นักบริหารที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์" และสมควรให้มีสถานะเป็น "ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ" อาจประกอบด้วย นักบริหารที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการ ตำแหน่งที่ต้องการบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เฉพาะด้านเป็นพิเศษหรือนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่
1.3 การยกเว้นกฎ ระเบียบให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นคล่องตัวในการทำงาน
1.4 การมีระบบสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง โดยมี ก.พ.ร. เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานการทำงาน ติดตามผลการดำเนินงาน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาให้ส่วนราชการที่มีความสำคัญสูงต่อยุทธศาสตร์ รัฐบาลเมื่อได้รับการร้องขอ
2. แนวทางการบริหารงานบุคคลของทีมงานบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยที่ทีมงานบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผู้ที่รับราชการในระบบสัญญาจ้าง มีเป้าหมายและระยะเวลาการทำงานที่ชัดเจน ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มีการประเมินผลงานตามสัญญาจ้าง จึงกำหนดให้มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนอีกประเภทหนึ่งที่อยู่ในระบบบริหารงานบุคคลระบบพิเศษ (special track) แยกต่างหากจากระบบบริหารบุคคลของข้าราชการ พลเรือนสามัญระบบปกติ (regular track) โดยทั่วไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--