คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 มีบทบัญญัติในเรื่องการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตำแหน่งที่สมควรปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับสูงหรือเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งในทางปฏิบัติจะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ โดยตรงเข้าร่วมประชุมแทน จึงควรกำหนดให้นับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมแทนเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมซึ่งจะมีผลต่อมติที่ประชุมของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณีด้วย
2. กรมบัญชีกลางมีแผนการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อประกาศใช้ให้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้กรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้อาจมอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทน โดยให้ถือว่าผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมแทนกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการผู้มอบหมาย สามารถนับเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการ (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9/1)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 มีบทบัญญัติในเรื่องการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตำแหน่งที่สมควรปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับสูงหรือเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งในทางปฏิบัติจะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ โดยตรงเข้าร่วมประชุมแทน จึงควรกำหนดให้นับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมแทนเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมซึ่งจะมีผลต่อมติที่ประชุมของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณีด้วย
2. กรมบัญชีกลางมีแผนการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อประกาศใช้ให้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้กรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้อาจมอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทน โดยให้ถือว่าผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมแทนกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการผู้มอบหมาย สามารถนับเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการ (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9/1)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--