คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติในหลักการโครงการจัดตั้งศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำโรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2550-2553 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ สำหรับงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ส่วนเรื่องกรอบอัตรากำลังและการจัดหาพนักงานราชการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ โครงการจัดตั้งศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำโรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อให้มีศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตครอบคลุมพื้นที่ทั้งในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนใน 3 จังหวัดและ 5 อำเภอในจังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์เฉพาะ
- ผลิตคู่มือแบบเรียนด้วยตนเอง เพื่อการเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนใต้
- พัฒนาองค์กรความรู้งานสุขภาพจิต ทักษะในการคัดกรอง การประเมินความเสี่ยงและการดูแลเยียวยาเบื้องต้น ผู้ได้รับผลกระทบด้านจิตใจระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง สำหรับ อสม./ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา เพื่อการเฝ้าระวัง การติดตาม และการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
- ค้นหารูปแบบในการสร้างเสริมสุขภาพใจสำหรับสตรีหม้ายในชุมชนในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้
- สร้างเครือข่าย อสม. ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักจิตวิทยา โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาล ชุมชน มีศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำโรงพยาบาลใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 37 โรงพยาบาล ครอบคลุมทุกอำเภอใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จำนวน 7 แห่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 13 แห่ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 12 แห่ง จังหวัดสงขลา จำนวน 5 แห่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
ทั้งนี้ โครงการจัดตั้งศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำโรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อให้มีศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตครอบคลุมพื้นที่ทั้งในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนใน 3 จังหวัดและ 5 อำเภอในจังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์เฉพาะ
- ผลิตคู่มือแบบเรียนด้วยตนเอง เพื่อการเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนใต้
- พัฒนาองค์กรความรู้งานสุขภาพจิต ทักษะในการคัดกรอง การประเมินความเสี่ยงและการดูแลเยียวยาเบื้องต้น ผู้ได้รับผลกระทบด้านจิตใจระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง สำหรับ อสม./ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา เพื่อการเฝ้าระวัง การติดตาม และการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
- ค้นหารูปแบบในการสร้างเสริมสุขภาพใจสำหรับสตรีหม้ายในชุมชนในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้
- สร้างเครือข่าย อสม. ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักจิตวิทยา โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาล ชุมชน มีศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำโรงพยาบาลใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 37 โรงพยาบาล ครอบคลุมทุกอำเภอใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จำนวน 7 แห่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 13 แห่ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 12 แห่ง จังหวัดสงขลา จำนวน 5 แห่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--