คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอเรื่อง การเพิ่มทุนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) สรุปได้ดังนี้
ด้วยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน) ได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาการเพิ่มทุนของกองทุนในธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นควรสรุปสาระสำคัญตามที่กองทุนเสนอมาและความเห็นของกระทรวงการคลัง ดังนี้
1. ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) (ธนาคารไทยธนาคาร) เกิดจากการควบโอนสถาบันการเงินตามมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ธนาคารไทยธนาคาร โดยมีหลักการที่สำคัญคือ “ให้ธนาคารไทยธนาคารภายหลังจากที่ได้รับการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้ว เป็นธนาคารที่มีสัดส่วนลูกหนี้ด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับต่ำ มีขาดทุนสะสมลดลง สามารถกันสำรองสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เหลืออยู่ครบถ้วน ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และมีทุนเพียงพอ โดยทางการไม่ต้องเพิ่มทุนอีกในระยะอันใกล้ ทั้งนี้ เพื่อให้กองทุนสามารถขายหุ้นที่ถืออยู่ในราคาสูงที่สุด”
2. ผลการดำเนินงานของธนาคารไทยธนาคาร มีดังนี้
2.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญาบริหารและชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ธนาคารไทยธนาคารมีผลขาดทุนสะสม 2,849 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นจำนวน 2,400 ล้านบาท ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เริ่มกำหนดใช้ในปี 2546 เป็นต้นมา รวมทั้งผลกระทบจากมาตรการของทางการที่กำหนดให้โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดจำนวน 1,350 ล้านบาท เป็นผลให้ธนาคารไทยธนาคาร มีเงินกองทุนตามกฎหมายเสื่อมลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดเล็กน้อย
2.2 ต่อมากลางปี 2549 ธนาคารไทยธนาคารคาดการณ์ว่าฐานะเงินกองทุนจะเสื่อมลงอีก อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการตั้งสำรองหนี้สูญตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพส่วนที่ทางการไม่ชดเชยให้ รวมทั้งความเสียหายเพิ่มเติมจากมาตรการของทางการในการชดเชยกรณีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยด้วย ธนาคารไทยธนาคารจึงเสนอขอเพิ่มทุนโดยสรรหาผู้ร่วมลงทุนราย TPG Newbridge และพันธมิตร จากผู้สนใจหลายราย เนื่องจากมีประสบการณ์ในการฟื้นฟูสถาบันการเงิน และการบริหารจัดการในกิจการธนาคารพาณิชย์แล้ว อีกทั้งได้เสนอราคาเป็นที่น่าพอใจ ให้เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งจำนวน 731.45 ล้านหุ้นในสัดส่วนเท่ากับที่กองทุนถือหุ้นอยู่ หรือ ร้อยละ 32.9 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 1.35 เท่าของราคาตามบัญชีที่ปรับปรุงแล้ว คาดว่าจะใช้เงินทั้งสิ้นประมาณ 3,050 ล้านบาท
2.3 จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้การเจรจาและการเตรียมการเพิ่มทุนล่าช้า ในขณะที่ผลการดำเนินงานของธนาคารไทยธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 8,524 ล้านบาท ทำให้ฐานะเงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดอย่างมาก ดังนั้น แผนการเพิ่มทุนของ TPG Newbridge และพันธมิตรที่เตรียมการไว้จำนวน 3,050 ล้านบาท จึงไม่เพียงพอ
2.4 ธนาคารไทยธนาคารจึงเสนอแผนเพิ่มทุนเพิ่มเติมต่อกองทุน อีกจำนวน 2,225 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 โดยการออกเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน 1:1 ในราคาเดียวกับที่เสนอขายในการเพิ่มทุนครั้งแรก โดยหากมีหุ้นเหลือจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยอื่น และดำเนินการลดทุนจากราคาที่ตราไว้เท่ากับมูลค่าตามบัญชี เพื่อล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้น เพื่อที่จะจ่ายเงินปันผลได้
3. ความเห็นของกองทุน
3.1 การเพิ่มทุนครั้งแรกที่เสนอขายให้กับ TGP Newbridge และพันธมิตรทั้งจำนวน เป็นผลดีในการเพิ่มฐานะทางการเงินให้ธนาคารไทยธนาคาร และการมีผู้ร่วมลงทุน ที่มีชื่อเสียง และมีความสามารถในการบริหารจะช่วยสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ มูลค่าตามบัญชีสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีแก่กองทุนในฐานะผู้ถือหุ้น และราคาที่เสนอ 1.35 เท่า ก็เป็นราคาที่สูงกว่าผู้สนใจรายอื่น ในขณะเดียวกัน แม้ว่ากองทุนจะไม่ได้เข้าเพิ่มทุน ในครั้งแรก ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนลดลงจากร้อยละ 48.98 เหลือร้อยละ 32.9 ก็ไม่ได้ทำให้กองทุนเสียเปรียบในการเจรจาต่อรองราคาขายในอนาคต
3.2 กองทุนจำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งที่สองนี้ ก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองทุน เนื่องจาก
3.2.1 หากกองทุนไม่เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือประมาณร้อยละ 16 ทำให้ไม่มีอำนาจในการเจรจาต่อรองเรื่องราคาเมื่อกองทุนจะขายหุ้นทั้งหมดออก
3.2.2 เมื่อศึกษาความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ ทั้งในกรณีที่ธนาคารไทยธนาคารเสนอมา และในกรณีที่กองทุนตั้งสมมติฐานเอง ปรากฏว่าทั้ง 2 แผนที่กล่าว มีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ธนาคารไทยธนาคารสามารถทำกำไรได้ และมีผลตอบแทนต่อทุนสูงกว่าต้นทุนของกองทุน นั่นคือมีผลประกอบการสุทธิสูงกว่าต้นทุนของกองทุน หรืออีกนัยหนึ่งการลงทุนของกองทุนเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
3.3 กรณีข้อเสนอขอลดทุนจากราคาที่ตราไว้เท่ากับมูลค่าตามบัญชี และนำไปล้างขาดทุนสะสมเพื่อที่จะได้จ่ายเงินปันผล โดยจะกระทำหลังจากการเพิ่มทุนครั้งที่ 2 นั้น กองทุนพิจารณาเห็นว่าการลดทุนและนำไปล้างขาดทุนสะสมควรดำเนินการก่อนกองทุนเข้าเพิ่มทุน เพราะกองทุนจะได้ประโยชน์เนื่องจากมูลค่าหุ้นตามบัญชีภายหลังการลดทุนจะไม่ต่ำกว่าเดิม ในขณะที่ TGP Newbridge และพันธมิตรจะต้องนำเงินส่วนที่เกินกว่ามูลค่า ตามบัญชีที่ซื้อในการเพิ่มทุนครั้งแรกมาล้างขาดทุนสะสมต่อไป
3.4 กรณีที่กองทุนจะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งที่สองนี้จะเป็นการใช้เงิน ของกองทุนเอง เนื่องจากกองทุนเห็นว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและเป็นไปได้ในทางธุรกิจสูง ที่ไม่ต้องขอรับการชดเชยความเสียหายจากทางการ
4. ความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้ว ไม่ขัดข้องในการเพิ่มทุนของกองทุน ตามที่กองทุนเสนอ โดยกระทรวงการคลังเห็นว่า กองทุนต้องไม่ขอรับการชดเชยความเสียหายจากทางการในการดำเนินการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเพิ่มทุนของกองทุนในธนาคารไทยธนาคารเป็นผลสืบเนื่องจากเดิมที่ทางการมอบหมายให้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินโดยมีวัตถุประสงค์ประการหนึ่งที่ทางการไม่ต้องเพิ่มทุนอีกในระยะสั้น แต่เมื่อเวลาผ่านมานานพอสมควร ธนาคารไทยธนาคารมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแนวทางที่กองทุนจะดำเนินการเป็นแนวทางที่จะเพิ่มความมั่นคงทั้งในเรื่องเงินกองทุนและการบริหารจัดการธนาคารไทยธนาคาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพในขณะเดียวกันก็จะเป็นการรักษาโอกาสของกองทุน ในการขายหุ้นของธนาคารไทยธนาคารในราคาที่เหมาะสมในอนาคตด้วยอีกทางหนึ่ง จึงเห็นควรเรียนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
ด้วยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน) ได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาการเพิ่มทุนของกองทุนในธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นควรสรุปสาระสำคัญตามที่กองทุนเสนอมาและความเห็นของกระทรวงการคลัง ดังนี้
1. ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) (ธนาคารไทยธนาคาร) เกิดจากการควบโอนสถาบันการเงินตามมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ธนาคารไทยธนาคาร โดยมีหลักการที่สำคัญคือ “ให้ธนาคารไทยธนาคารภายหลังจากที่ได้รับการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้ว เป็นธนาคารที่มีสัดส่วนลูกหนี้ด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับต่ำ มีขาดทุนสะสมลดลง สามารถกันสำรองสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เหลืออยู่ครบถ้วน ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และมีทุนเพียงพอ โดยทางการไม่ต้องเพิ่มทุนอีกในระยะอันใกล้ ทั้งนี้ เพื่อให้กองทุนสามารถขายหุ้นที่ถืออยู่ในราคาสูงที่สุด”
2. ผลการดำเนินงานของธนาคารไทยธนาคาร มีดังนี้
2.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญาบริหารและชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ธนาคารไทยธนาคารมีผลขาดทุนสะสม 2,849 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นจำนวน 2,400 ล้านบาท ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เริ่มกำหนดใช้ในปี 2546 เป็นต้นมา รวมทั้งผลกระทบจากมาตรการของทางการที่กำหนดให้โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดจำนวน 1,350 ล้านบาท เป็นผลให้ธนาคารไทยธนาคาร มีเงินกองทุนตามกฎหมายเสื่อมลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดเล็กน้อย
2.2 ต่อมากลางปี 2549 ธนาคารไทยธนาคารคาดการณ์ว่าฐานะเงินกองทุนจะเสื่อมลงอีก อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการตั้งสำรองหนี้สูญตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพส่วนที่ทางการไม่ชดเชยให้ รวมทั้งความเสียหายเพิ่มเติมจากมาตรการของทางการในการชดเชยกรณีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยด้วย ธนาคารไทยธนาคารจึงเสนอขอเพิ่มทุนโดยสรรหาผู้ร่วมลงทุนราย TPG Newbridge และพันธมิตร จากผู้สนใจหลายราย เนื่องจากมีประสบการณ์ในการฟื้นฟูสถาบันการเงิน และการบริหารจัดการในกิจการธนาคารพาณิชย์แล้ว อีกทั้งได้เสนอราคาเป็นที่น่าพอใจ ให้เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งจำนวน 731.45 ล้านหุ้นในสัดส่วนเท่ากับที่กองทุนถือหุ้นอยู่ หรือ ร้อยละ 32.9 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 1.35 เท่าของราคาตามบัญชีที่ปรับปรุงแล้ว คาดว่าจะใช้เงินทั้งสิ้นประมาณ 3,050 ล้านบาท
2.3 จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้การเจรจาและการเตรียมการเพิ่มทุนล่าช้า ในขณะที่ผลการดำเนินงานของธนาคารไทยธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 8,524 ล้านบาท ทำให้ฐานะเงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดอย่างมาก ดังนั้น แผนการเพิ่มทุนของ TPG Newbridge และพันธมิตรที่เตรียมการไว้จำนวน 3,050 ล้านบาท จึงไม่เพียงพอ
2.4 ธนาคารไทยธนาคารจึงเสนอแผนเพิ่มทุนเพิ่มเติมต่อกองทุน อีกจำนวน 2,225 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 โดยการออกเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน 1:1 ในราคาเดียวกับที่เสนอขายในการเพิ่มทุนครั้งแรก โดยหากมีหุ้นเหลือจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยอื่น และดำเนินการลดทุนจากราคาที่ตราไว้เท่ากับมูลค่าตามบัญชี เพื่อล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้น เพื่อที่จะจ่ายเงินปันผลได้
3. ความเห็นของกองทุน
3.1 การเพิ่มทุนครั้งแรกที่เสนอขายให้กับ TGP Newbridge และพันธมิตรทั้งจำนวน เป็นผลดีในการเพิ่มฐานะทางการเงินให้ธนาคารไทยธนาคาร และการมีผู้ร่วมลงทุน ที่มีชื่อเสียง และมีความสามารถในการบริหารจะช่วยสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ มูลค่าตามบัญชีสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีแก่กองทุนในฐานะผู้ถือหุ้น และราคาที่เสนอ 1.35 เท่า ก็เป็นราคาที่สูงกว่าผู้สนใจรายอื่น ในขณะเดียวกัน แม้ว่ากองทุนจะไม่ได้เข้าเพิ่มทุน ในครั้งแรก ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนลดลงจากร้อยละ 48.98 เหลือร้อยละ 32.9 ก็ไม่ได้ทำให้กองทุนเสียเปรียบในการเจรจาต่อรองราคาขายในอนาคต
3.2 กองทุนจำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งที่สองนี้ ก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองทุน เนื่องจาก
3.2.1 หากกองทุนไม่เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือประมาณร้อยละ 16 ทำให้ไม่มีอำนาจในการเจรจาต่อรองเรื่องราคาเมื่อกองทุนจะขายหุ้นทั้งหมดออก
3.2.2 เมื่อศึกษาความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ ทั้งในกรณีที่ธนาคารไทยธนาคารเสนอมา และในกรณีที่กองทุนตั้งสมมติฐานเอง ปรากฏว่าทั้ง 2 แผนที่กล่าว มีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ธนาคารไทยธนาคารสามารถทำกำไรได้ และมีผลตอบแทนต่อทุนสูงกว่าต้นทุนของกองทุน นั่นคือมีผลประกอบการสุทธิสูงกว่าต้นทุนของกองทุน หรืออีกนัยหนึ่งการลงทุนของกองทุนเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
3.3 กรณีข้อเสนอขอลดทุนจากราคาที่ตราไว้เท่ากับมูลค่าตามบัญชี และนำไปล้างขาดทุนสะสมเพื่อที่จะได้จ่ายเงินปันผล โดยจะกระทำหลังจากการเพิ่มทุนครั้งที่ 2 นั้น กองทุนพิจารณาเห็นว่าการลดทุนและนำไปล้างขาดทุนสะสมควรดำเนินการก่อนกองทุนเข้าเพิ่มทุน เพราะกองทุนจะได้ประโยชน์เนื่องจากมูลค่าหุ้นตามบัญชีภายหลังการลดทุนจะไม่ต่ำกว่าเดิม ในขณะที่ TGP Newbridge และพันธมิตรจะต้องนำเงินส่วนที่เกินกว่ามูลค่า ตามบัญชีที่ซื้อในการเพิ่มทุนครั้งแรกมาล้างขาดทุนสะสมต่อไป
3.4 กรณีที่กองทุนจะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งที่สองนี้จะเป็นการใช้เงิน ของกองทุนเอง เนื่องจากกองทุนเห็นว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและเป็นไปได้ในทางธุรกิจสูง ที่ไม่ต้องขอรับการชดเชยความเสียหายจากทางการ
4. ความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้ว ไม่ขัดข้องในการเพิ่มทุนของกองทุน ตามที่กองทุนเสนอ โดยกระทรวงการคลังเห็นว่า กองทุนต้องไม่ขอรับการชดเชยความเสียหายจากทางการในการดำเนินการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเพิ่มทุนของกองทุนในธนาคารไทยธนาคารเป็นผลสืบเนื่องจากเดิมที่ทางการมอบหมายให้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินโดยมีวัตถุประสงค์ประการหนึ่งที่ทางการไม่ต้องเพิ่มทุนอีกในระยะสั้น แต่เมื่อเวลาผ่านมานานพอสมควร ธนาคารไทยธนาคารมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแนวทางที่กองทุนจะดำเนินการเป็นแนวทางที่จะเพิ่มความมั่นคงทั้งในเรื่องเงินกองทุนและการบริหารจัดการธนาคารไทยธนาคาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพในขณะเดียวกันก็จะเป็นการรักษาโอกาสของกองทุน ในการขายหุ้นของธนาคารไทยธนาคารในราคาที่เหมาะสมในอนาคตด้วยอีกทางหนึ่ง จึงเห็นควรเรียนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--