คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์ไฟป่า (ระหว่าง 1 ตุลาคม 2547 — 28 กุมภาพันธ์ 2548) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่งแวดล้อมเสนอดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 รับทราบมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่า ปี 2548ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้หน่วยงานต่าง ๆ ให้ความร่วมมือในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1. มาตรการ
1.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่าโดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์ไฟป่า ปีงบประมาณ 2548 โดยใช้งบปกติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่า โดยจัดฝึกอบรมและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่าทั่วประเทศ เร่งรัดแผนถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าทั่วประเทศ และเปิดสายด่วนรับแจ้งเหตุไฟป่าตลอด 24 ชั่วโมง ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1362
1.2 ในส่วนของการดับไฟป่า ได้เตรียมความพร้อมของพนักงานดับไฟป่าทั่วประเทศ และเตรียมการดับไฟป่าในสถานการณ์รุนแรงและวิกฤติ โดยชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า (หน่วยเสือไฟ) และเตรียมกำลังสนับสนุนการดับไฟป่าจากเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่า
1.3 สำหรับในพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษได้จัดตั้งกองอำนวยการควบคุมไฟป่าขึ้นได้แก่ กองอำนวยการควบคุมไฟป่าพื้นที่รอบพระราชวังไกลกังวล กองอำนวยการควบคุมไฟป่า จ.เชียงใหม่ และกองอำนวยการควบคุมไฟป่า จ.แม่ฮ่องสอนกระทรวงมหาดไทย
- ออกประกาศจังหวัด กำหนดเขตควบคุมไฟป่า และกำหนดระเบียบตลอดจนมาตรการควบคุมไฟป่าในพื้นที่เขตควบคุมไฟป่า และกำกับดูแลให้มีการดำเนินการไปตามมาตรการที่กำหนด
- ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการไฟป่าระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาไฟป่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้ประโยชน์จากเศษสิ่งเหลือทางการเกษตรแทนการจุดไฟเผา เช่น การนำไปทำปุ๋ยหมัก ทำแท่งเชื้อเพลิง หรือทำสิ่งประดิษฐ์
1.4 กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท กำหนดมาตรการป้องกันการเกิดไฟป่าจากริมทางหลวงทุกสาย
1.5 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังการใช้ไฟในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไฟป่า เช่น ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในป่า ไม่ก่อกองไฟในป่า เป็นต้น
1.6 กระทรวงกลาโหม สนับสนุนกำลังพล และอากาศยานในการดับไฟป่า เมื่อได้รับการร้องขอ
1.7 กระทรวงศึกษาธิการ สอดแทรกความรู้เรื่องการป้องกันไฟป่าลงในหลักสูตรการเรียนการสอนของทุกระดับการศึกษากระทรวง และประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน นักศึกษาในทุกระดับการศึกษา ช่วยกันรณรงค์ป้องกันไฟป่า
2. สถานการณ์
2.1 Climate Prediction Center ของ National Weather Service ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตรวจติดตามการเกิดปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ โดยการตรวจวัดอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ได้รายงานทางเว็บไซท์ www.cpc.ncep.noaa.gov เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 คาดการณ์ว่าสภาวะการอุ่นตัวของน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก จะยังเกิดต่อเนื่องต่อไปในอีก 3 เดือนข้างหน้า
2.2 สถานการณ์การเกิดไฟป่าทั่วประเทศ (ระหว่าง 1 ต.ค.47 — 28 ก.พ.48) ดังนี้
2.2.1 ภาคกลาง จำนวน 747 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 28,929.5 ไร่
2.2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,165 ครั้ง พื้นที่เสียหาย
31,924 ไร่
2.2.3 ภาคเหนือ จำนวน 1,780 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 18,879 ไร่
2.2.4 ภาคใต้ จำนวน 137 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 4,858.25 ไร่
รวม จำนวน 3,829 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 84,890.75 ไร่
จากสถิติพบว่าขนาดพื้นที่ที่ถูกไฟป่าไหม้ในปี 2548 มีน้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547
2.3 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปตรวจสอบสถานการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้น ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในท้องที่ จ.นครสวรรค์ และจ.อุทัยธานี และได้สั่งการให้ทุกฝ่ายสนธิกำลังเข้าร่วมดำเนินการดับไฟป่าที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ได้เข้าไปปฏิบัติการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
เนื่องจากสถานการณ์ไฟป่าในปีนี้คาดว่าจะมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 6 ปี (ปี 2542-2547) เพราะว่า มีการสะสมของปริมาณเชื้อเพลิงที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนินโญ่ยังไม่อ่อนกำลังลง ฤดูไฟป่าจึงน่าจะขยายออกไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2548 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการควบคุมไฟป่า ดังนี้
1. ดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่า ปี 2548 โดยทำการประชาสัมพันธ์และประสานงานกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว
2. เตรียมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาไฟป่า ในเดือนมีนาคม 2548 โดยการระดมความคิดเห็นภาคจากประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าระยะยาวร่วมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 รับทราบมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่า ปี 2548ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้หน่วยงานต่าง ๆ ให้ความร่วมมือในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1. มาตรการ
1.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่าโดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์ไฟป่า ปีงบประมาณ 2548 โดยใช้งบปกติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่า โดยจัดฝึกอบรมและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่าทั่วประเทศ เร่งรัดแผนถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าทั่วประเทศ และเปิดสายด่วนรับแจ้งเหตุไฟป่าตลอด 24 ชั่วโมง ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1362
1.2 ในส่วนของการดับไฟป่า ได้เตรียมความพร้อมของพนักงานดับไฟป่าทั่วประเทศ และเตรียมการดับไฟป่าในสถานการณ์รุนแรงและวิกฤติ โดยชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า (หน่วยเสือไฟ) และเตรียมกำลังสนับสนุนการดับไฟป่าจากเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่า
1.3 สำหรับในพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษได้จัดตั้งกองอำนวยการควบคุมไฟป่าขึ้นได้แก่ กองอำนวยการควบคุมไฟป่าพื้นที่รอบพระราชวังไกลกังวล กองอำนวยการควบคุมไฟป่า จ.เชียงใหม่ และกองอำนวยการควบคุมไฟป่า จ.แม่ฮ่องสอนกระทรวงมหาดไทย
- ออกประกาศจังหวัด กำหนดเขตควบคุมไฟป่า และกำหนดระเบียบตลอดจนมาตรการควบคุมไฟป่าในพื้นที่เขตควบคุมไฟป่า และกำกับดูแลให้มีการดำเนินการไปตามมาตรการที่กำหนด
- ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการไฟป่าระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาไฟป่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้ประโยชน์จากเศษสิ่งเหลือทางการเกษตรแทนการจุดไฟเผา เช่น การนำไปทำปุ๋ยหมัก ทำแท่งเชื้อเพลิง หรือทำสิ่งประดิษฐ์
1.4 กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท กำหนดมาตรการป้องกันการเกิดไฟป่าจากริมทางหลวงทุกสาย
1.5 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังการใช้ไฟในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไฟป่า เช่น ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในป่า ไม่ก่อกองไฟในป่า เป็นต้น
1.6 กระทรวงกลาโหม สนับสนุนกำลังพล และอากาศยานในการดับไฟป่า เมื่อได้รับการร้องขอ
1.7 กระทรวงศึกษาธิการ สอดแทรกความรู้เรื่องการป้องกันไฟป่าลงในหลักสูตรการเรียนการสอนของทุกระดับการศึกษากระทรวง และประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน นักศึกษาในทุกระดับการศึกษา ช่วยกันรณรงค์ป้องกันไฟป่า
2. สถานการณ์
2.1 Climate Prediction Center ของ National Weather Service ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตรวจติดตามการเกิดปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ โดยการตรวจวัดอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ได้รายงานทางเว็บไซท์ www.cpc.ncep.noaa.gov เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 คาดการณ์ว่าสภาวะการอุ่นตัวของน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก จะยังเกิดต่อเนื่องต่อไปในอีก 3 เดือนข้างหน้า
2.2 สถานการณ์การเกิดไฟป่าทั่วประเทศ (ระหว่าง 1 ต.ค.47 — 28 ก.พ.48) ดังนี้
2.2.1 ภาคกลาง จำนวน 747 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 28,929.5 ไร่
2.2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,165 ครั้ง พื้นที่เสียหาย
31,924 ไร่
2.2.3 ภาคเหนือ จำนวน 1,780 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 18,879 ไร่
2.2.4 ภาคใต้ จำนวน 137 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 4,858.25 ไร่
รวม จำนวน 3,829 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 84,890.75 ไร่
จากสถิติพบว่าขนาดพื้นที่ที่ถูกไฟป่าไหม้ในปี 2548 มีน้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547
2.3 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปตรวจสอบสถานการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้น ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในท้องที่ จ.นครสวรรค์ และจ.อุทัยธานี และได้สั่งการให้ทุกฝ่ายสนธิกำลังเข้าร่วมดำเนินการดับไฟป่าที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ได้เข้าไปปฏิบัติการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
เนื่องจากสถานการณ์ไฟป่าในปีนี้คาดว่าจะมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 6 ปี (ปี 2542-2547) เพราะว่า มีการสะสมของปริมาณเชื้อเพลิงที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนินโญ่ยังไม่อ่อนกำลังลง ฤดูไฟป่าจึงน่าจะขยายออกไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2548 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการควบคุมไฟป่า ดังนี้
1. ดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่า ปี 2548 โดยทำการประชาสัมพันธ์และประสานงานกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว
2. เตรียมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาไฟป่า ในเดือนมีนาคม 2548 โดยการระดมความคิดเห็นภาคจากประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าระยะยาวร่วมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--