แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่เห็นชอบหลักการโครงการครูสหกิจ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ ให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดำเนินการประเมินผลโครงการฯ ในสิ้นปีที่ 3 เพื่อนำผลการประเมินที่ได้มาประกอบการพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มค่าในการดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง ขยาย หรือยุติโครงการฯ นี้ ต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. การศึกษาของประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกือบทุกวิชา ปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนครูทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอันเป็นผลมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณและนโยบายจำกัดอัตรากำลังคนภาครัฐที่ทำให้กระทรวงศึกษาธิการถูกยุบอัตรากำลังจากการเกษียณอายุราชการตั้งแต่ปี 2543-2547 จำนวน 51,169 อัตรา แม้กระทรวงศึกษาธิการได้พยายามแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู คณาจารย์อย่างต่อเนื่อง แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการบริหารจัดการเพียงด้านเดียวยังมิอาจแก้ปัญหาสภาวะการขาดแคลนครู คณาจารย์ได้
2. กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูในสถานศึกษาในระยะเร่งด่วน โดยจัดทำ “โครงการครูสหกิจ” ซึ่งเป็นการนำรูปแบบสหกิจศึกษามาใช้กับการผลิตครูหลักสูตรที่ต้องมีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา โดยการให้นักศึกษาครูไปฝึกสอนในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู เพื่อให้นักศึกษาครูเรียนรู้ประสบการณ์จริงในโรงเรียน และมีการนิเทศการสอนเป็นระยะ ๆ รวมทั้งในโรงเรียนดังกล่าวจะมีครูอาวุโสเป็นครูพี่เลี้ยงให้คำแนะนำประสบการณ์ทั้งการสอนและการทำงานในโรงเรียนโดยมีค่าใช้จ่ายในส่วนของนักศึกษาและอาจารย์นิเทศการสอน ทั้งนี้ โครงการผลิตครูสหกิจดังกล่าว มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ขาดแคลนครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และวิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สกศ.) และสามารถผลิตครูได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
1.2 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและเพิ่มเติมประสบการณ์ด้านวิชาชีพครูและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาและบัณฑิตในรูปแบบที่มีคุณค่ามากขึ้นกว่าการฝึกงาน
1.3 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูกับสถานศึกษา โดยผ่านนักศึกษาครูที่ไปปฏิบัติงาน ณ สถานศึกษานั้น
1.4 เพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของนิสิตนักศึกษาที่จะสำเร็จเป็นบัณฑิตเพื่อประกอบวิชาชีพครูในสังคมต่อไป
2. เป้าหมาย
2.1 เชิงปริมาณ นักศึกษาครูในคณะ/สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่ต้องฝึกปฏิบัติการสอน 1 ปี ไปปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู 5,000 คนต่อภาคการศึกษา
2.2 คุณภาพ ได้นักศึกษาครูที่มีความรู้ในวิชาการและเชี่ยวชาญในวิชาชีพโดยผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์จริงในโรงเรียน และทำให้โรงเรียนที่ขาดแคลนครูมีการจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้น
3. ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553)
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สพฐ. สกศ. และคุรุสภา
5. แนวทางการดำเนินงาน
5.1 เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย/วิทยาลัยที่เป็นฝ่ายผลิตครู โรงเรียนที่มีความขาดแคลนครู และคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรดูแล กำกับ วิชาชีพครู
5.2 ดำเนินการในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งฝ่ายผู้ผลิต (ได้แก่ มหาวิทยาลัยในสังกัด สกอ. วิทยาลัยในสังกัด สกศ.) และฝ่ายผู้ใช้ (โรงเรียนในสังกัด สพฐ. และวิทยาลัยใน สกศ.)
5.3 การฝึกประสบการณ์จริงของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู ให้เป็นไปตามความสมัครใจของนักศึกษา โดยมีค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของนักศึกษาขณะที่ฝึกสอนในโรงเรียน ทั้งนี้ ค่าตอบแทนต้องไม่สูงกว่าอัตราเงินเดือนแรกเข้าของผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการครู
5.4 นักศึกษาครูที่จะเข้าร่วมโครงการ ได้แก่
(1) นักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 แบ่ง เป็น นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาในโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2,048 คน และนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี ที่ไม่ได้รับทุนการศึกษา
(2) นักศึกษาครูหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (หลักสูตร 4+1)
(3) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคโนโลยีชั้นสูง (ปทส.)
5.5 ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกสอนของนักศึกษา ได้แก่ ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีการศึกษาที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ของชั้นปีการศึกษาที่ 5
5.6 การนิเทศการสอนของนักศึกษา เป็นการดำเนินงานร่วมกัน 3 ฝ่าย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่ และครูพี่เลี้ยงในโรงเรียน
5.7 การกำหนดให้นักศึกษาไปฝึกสอนในโรงเรียนขาดแคลนครู กำหนดตามเขตพื้นที่ (Area based) ของเครือข่ายสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยเป็นหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2550--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. การศึกษาของประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกือบทุกวิชา ปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนครูทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอันเป็นผลมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณและนโยบายจำกัดอัตรากำลังคนภาครัฐที่ทำให้กระทรวงศึกษาธิการถูกยุบอัตรากำลังจากการเกษียณอายุราชการตั้งแต่ปี 2543-2547 จำนวน 51,169 อัตรา แม้กระทรวงศึกษาธิการได้พยายามแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู คณาจารย์อย่างต่อเนื่อง แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการบริหารจัดการเพียงด้านเดียวยังมิอาจแก้ปัญหาสภาวะการขาดแคลนครู คณาจารย์ได้
2. กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูในสถานศึกษาในระยะเร่งด่วน โดยจัดทำ “โครงการครูสหกิจ” ซึ่งเป็นการนำรูปแบบสหกิจศึกษามาใช้กับการผลิตครูหลักสูตรที่ต้องมีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา โดยการให้นักศึกษาครูไปฝึกสอนในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู เพื่อให้นักศึกษาครูเรียนรู้ประสบการณ์จริงในโรงเรียน และมีการนิเทศการสอนเป็นระยะ ๆ รวมทั้งในโรงเรียนดังกล่าวจะมีครูอาวุโสเป็นครูพี่เลี้ยงให้คำแนะนำประสบการณ์ทั้งการสอนและการทำงานในโรงเรียนโดยมีค่าใช้จ่ายในส่วนของนักศึกษาและอาจารย์นิเทศการสอน ทั้งนี้ โครงการผลิตครูสหกิจดังกล่าว มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ขาดแคลนครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และวิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สกศ.) และสามารถผลิตครูได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
1.2 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและเพิ่มเติมประสบการณ์ด้านวิชาชีพครูและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาและบัณฑิตในรูปแบบที่มีคุณค่ามากขึ้นกว่าการฝึกงาน
1.3 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูกับสถานศึกษา โดยผ่านนักศึกษาครูที่ไปปฏิบัติงาน ณ สถานศึกษานั้น
1.4 เพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของนิสิตนักศึกษาที่จะสำเร็จเป็นบัณฑิตเพื่อประกอบวิชาชีพครูในสังคมต่อไป
2. เป้าหมาย
2.1 เชิงปริมาณ นักศึกษาครูในคณะ/สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่ต้องฝึกปฏิบัติการสอน 1 ปี ไปปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู 5,000 คนต่อภาคการศึกษา
2.2 คุณภาพ ได้นักศึกษาครูที่มีความรู้ในวิชาการและเชี่ยวชาญในวิชาชีพโดยผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์จริงในโรงเรียน และทำให้โรงเรียนที่ขาดแคลนครูมีการจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้น
3. ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553)
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สพฐ. สกศ. และคุรุสภา
5. แนวทางการดำเนินงาน
5.1 เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย/วิทยาลัยที่เป็นฝ่ายผลิตครู โรงเรียนที่มีความขาดแคลนครู และคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรดูแล กำกับ วิชาชีพครู
5.2 ดำเนินการในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งฝ่ายผู้ผลิต (ได้แก่ มหาวิทยาลัยในสังกัด สกอ. วิทยาลัยในสังกัด สกศ.) และฝ่ายผู้ใช้ (โรงเรียนในสังกัด สพฐ. และวิทยาลัยใน สกศ.)
5.3 การฝึกประสบการณ์จริงของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู ให้เป็นไปตามความสมัครใจของนักศึกษา โดยมีค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของนักศึกษาขณะที่ฝึกสอนในโรงเรียน ทั้งนี้ ค่าตอบแทนต้องไม่สูงกว่าอัตราเงินเดือนแรกเข้าของผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการครู
5.4 นักศึกษาครูที่จะเข้าร่วมโครงการ ได้แก่
(1) นักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 แบ่ง เป็น นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาในโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2,048 คน และนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี ที่ไม่ได้รับทุนการศึกษา
(2) นักศึกษาครูหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (หลักสูตร 4+1)
(3) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคโนโลยีชั้นสูง (ปทส.)
5.5 ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกสอนของนักศึกษา ได้แก่ ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีการศึกษาที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ของชั้นปีการศึกษาที่ 5
5.6 การนิเทศการสอนของนักศึกษา เป็นการดำเนินงานร่วมกัน 3 ฝ่าย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่ และครูพี่เลี้ยงในโรงเรียน
5.7 การกำหนดให้นักศึกษาไปฝึกสอนในโรงเรียนขาดแคลนครู กำหนดตามเขตพื้นที่ (Area based) ของเครือข่ายสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยเป็นหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2550--จบ--