คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แผนการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2548 ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับคณะกรรมการ ชุดต่าง ๆ ที่รับผิดชอบในแต่ละส่วน และได้สั่งการดังนี้
1. ให้มีการค้นหาศพผู้ประสบธรณีพิบัติภัยอย่างต่อเนื่อง
2. ให้เร่งรัดการระบุศพทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อให้สามารถส่งกลับได้โดยเร็ว ในกรณีของศพคนไทย ขอให้ดำเนินการโดยประสานกับญาติพี่น้อง โดยอำนวยความสะดวกทุกด้าน และในกรณีของศพผู้เคราะห์ร้ายชาวต่างชาติ ขอให้กระทรวงการต่างประเทศประสานกับประเทศเจ้าของสัญชาติ
3. การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ขอให้ใช้หลักมนุษยธรรม โดยบนพื้นฐานของความเป็นจริง ทั้งนี้ให้เร่งรัดดำเนินการเรื่องสำคัญที่ประชาชนร้องเรียนดังนี้
3.1 มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางในการประสานรับการร้องเรียนและให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ
3.2 มอบหมายให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยรับไปพิจารณาผ่อนปรนการดำเนินการด้านการปล่อยสินเชื่อและการค้ำประกัน ให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ
3.3 มอบหมายให้กรมประมงพิจารณาผ่อนปรนกฎ ระเบียบ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือชาวประมงขนาดเล็กและขนาดกลางได้อย่างพอเพียงที่จะประกอบอาชีพต่อไป
4. ให้ดำเนินการซ่อมและสร้างบ้านอยู่อาศัยให้กับครอบครัวที่ประสบภัยโดยรวดเร็ว
5. พิจารณาให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้างอันเนื่องจากเหตุธรณีพิบัติภัยด้วยความเป็นธรรม
6. ให้พิจารณาช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับผลกระทบ โดยให้ได้รับความช่วยเหลือทั้งในส่วนที่ผู้ประสบภัยและครอบครัวจะต้องได้รับตามปกติ และเสริมด้วยความช่วยเหลือตามสวัสดิการของทางราชการ
7. การจัดระเบียบพื้นที่จะต้องดำเนินการโดยไม่ละเมิดกฎหมาย ดังนี้
7.1 การจัดระเบียบพื้นที่ ให้มีการยอมรับความหลากหลายได้ในระดับหนึ่ง โดยเป็นไปภายใต้การดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน โดยคำนึงถึงเอกลักษณ์ของเมืองท่องเที่ยวบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว
7.2 การของบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาภูมิทัศน์ ต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลในการจัดรูปแบบและภูมิทัศน์ ซึ่งจะต้องคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่
7.3 ให้มีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดสำหรับการบุกรุกพื้นที่โดยมิชอบ รวมทั้งผู้แอบอ้างสิทธิ์เพื่อแสวงหาประโยชน์และเอารัดเอาเปรียบ
8. การฟื้นฟูบูรณะให้ดำเนินการตามแผนการที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาเพิ่มเติมดังนี้
8.1 ให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาศักยภาพและความเป็นไปได้ของการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ บนเกาะคอเขา
8.2 ให้กระทรวงวัฒนธรรมศึกษาศักยภาพด้านทุนทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว
9. การพัฒนาระบบเตือนภัยธรรมชาติให้ดำเนินการตามลำดับขั้นที่วางไว้ โดยเฉพาะการติดตั้งระบบเตือนภัยธรรมชาติ (Early Warning System) ระยะแรก ในวงเงิน 10 ล้านบาท ให้เสร็จสิ้นภายใน 2 เดือน
10. ให้หน่วยราชการทำงานเชิงรุกโดยจัดคาราวานเข้าพื้นที่สอบถามความต้องการของประชาชนให้ทั่วถึง รวมทั้งผู้ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือและดูแลจากหน่วยงานของรัฐ เช่น ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างรายย่อย โดยให้มีการพิจารณาค่าตอบแทนตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. ให้มีการค้นหาศพผู้ประสบธรณีพิบัติภัยอย่างต่อเนื่อง
2. ให้เร่งรัดการระบุศพทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อให้สามารถส่งกลับได้โดยเร็ว ในกรณีของศพคนไทย ขอให้ดำเนินการโดยประสานกับญาติพี่น้อง โดยอำนวยความสะดวกทุกด้าน และในกรณีของศพผู้เคราะห์ร้ายชาวต่างชาติ ขอให้กระทรวงการต่างประเทศประสานกับประเทศเจ้าของสัญชาติ
3. การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ขอให้ใช้หลักมนุษยธรรม โดยบนพื้นฐานของความเป็นจริง ทั้งนี้ให้เร่งรัดดำเนินการเรื่องสำคัญที่ประชาชนร้องเรียนดังนี้
3.1 มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางในการประสานรับการร้องเรียนและให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ
3.2 มอบหมายให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยรับไปพิจารณาผ่อนปรนการดำเนินการด้านการปล่อยสินเชื่อและการค้ำประกัน ให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ
3.3 มอบหมายให้กรมประมงพิจารณาผ่อนปรนกฎ ระเบียบ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือชาวประมงขนาดเล็กและขนาดกลางได้อย่างพอเพียงที่จะประกอบอาชีพต่อไป
4. ให้ดำเนินการซ่อมและสร้างบ้านอยู่อาศัยให้กับครอบครัวที่ประสบภัยโดยรวดเร็ว
5. พิจารณาให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้างอันเนื่องจากเหตุธรณีพิบัติภัยด้วยความเป็นธรรม
6. ให้พิจารณาช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับผลกระทบ โดยให้ได้รับความช่วยเหลือทั้งในส่วนที่ผู้ประสบภัยและครอบครัวจะต้องได้รับตามปกติ และเสริมด้วยความช่วยเหลือตามสวัสดิการของทางราชการ
7. การจัดระเบียบพื้นที่จะต้องดำเนินการโดยไม่ละเมิดกฎหมาย ดังนี้
7.1 การจัดระเบียบพื้นที่ ให้มีการยอมรับความหลากหลายได้ในระดับหนึ่ง โดยเป็นไปภายใต้การดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน โดยคำนึงถึงเอกลักษณ์ของเมืองท่องเที่ยวบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว
7.2 การของบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาภูมิทัศน์ ต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลในการจัดรูปแบบและภูมิทัศน์ ซึ่งจะต้องคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่
7.3 ให้มีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดสำหรับการบุกรุกพื้นที่โดยมิชอบ รวมทั้งผู้แอบอ้างสิทธิ์เพื่อแสวงหาประโยชน์และเอารัดเอาเปรียบ
8. การฟื้นฟูบูรณะให้ดำเนินการตามแผนการที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาเพิ่มเติมดังนี้
8.1 ให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาศักยภาพและความเป็นไปได้ของการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ บนเกาะคอเขา
8.2 ให้กระทรวงวัฒนธรรมศึกษาศักยภาพด้านทุนทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว
9. การพัฒนาระบบเตือนภัยธรรมชาติให้ดำเนินการตามลำดับขั้นที่วางไว้ โดยเฉพาะการติดตั้งระบบเตือนภัยธรรมชาติ (Early Warning System) ระยะแรก ในวงเงิน 10 ล้านบาท ให้เสร็จสิ้นภายใน 2 เดือน
10. ให้หน่วยราชการทำงานเชิงรุกโดยจัดคาราวานเข้าพื้นที่สอบถามความต้องการของประชาชนให้ทั่วถึง รวมทั้งผู้ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือและดูแลจากหน่วยงานของรัฐ เช่น ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างรายย่อย โดยให้มีการพิจารณาค่าตอบแทนตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--