แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 4, 2010 15:40 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอดังนี้

1. เห็นชอบหลักการแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง

2. มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงไปปฏิบัติ ดังนี้

2.1 มาตรการฟื้นฟูระยะสั้น ดำเนินการภายใน 6 — 12 เดือน

ประเด็น                ข้อเสนอแนะ                                             หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์      1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนชาวกะเหรี่ยงในเรื่องอัตลักษณ์             วธ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
และวัฒนธรรม            ชาติพันธุ์ (Ethnic identity) และวัฒนธรรมกะเหรี่ยงว่าเป็น       กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
                      ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาติที่มีความหลากหลาย                     ความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
                      1.2 ส่งเสริมสังคมให้มีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันแบบพหุ           วธ. พม.

วัฒนธรรม โดยให้เรียนรู้อัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติ

พันธุ์กะเหรี่ยง

2. การจัดการ           2.1 ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติ              กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
ทรัพยากร               พันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อ                สิ่งแวดล้อม (ทส.)
                      พิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ดั้งเดิม                               กระทรวงมหาดไทย (มท.)
                      2.2 จัดตั้งคณะกรรมการ หรือกลไกการทำงานเพื่อกำหนด            ทส. มท.
                      เขตพื้นที่ในการทำกิน การอยู่อาศัย และการดำเนินวิถีชีวิต            คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                      ตามวัฒนธรรม (Demarcation Committee/Mechanism)          แห่งชาติ
                      เพื่อจัดการข้อพิพาทการใช้ประโยชน์หรือการถือครองพื้นที่             เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรม
                      ของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกับหน่วยงานรัฐซึ่งมี                 และสิ่งแวดล้อม
                      องค์ประกอบนอกเหนือจากองค์ประกอบของ                       กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)

คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ที่เน้น

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้มีส่วนได้เสีย นักวิชาการ

และ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านวิถีวัฒนธรรม และสิทธิ

มนุษยชน ตลอดจนนักมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดย

กำหนดอำนาจหน้าที่มุ่งเน้นการส่งเสริมแนวทางการจัดการ

ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ (Constructive Dialogue)

                      2.3 ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนบนพื้นที่             ทส. มท.
                      สูง เช่น การรักษาความหลากหลายของการสร้างพันธุ์พืช             กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)

การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างความสมดุลของ

นิเวศผ่านกระบวนการระบบไร่หมุนเวียน

3. สิทธิในสัญชาติ         3.1 มีมติคณะรัฐมนตรีให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับบัตร                  มท. สำนักงานสภาความมั่นคง
                      ประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรประจำตัวบุคคลบน              แห่งชาติ (สมช.)

พื้นที่สูงและบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูงเดิม) ที่อพยพเข้า

ตั้งแต่ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 สามารถขอเป็น

คนต่างด้าวมีถิ่นอยู่ถาวรในประเทศไทย และได้รับ

ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ส่วนบุตรที่เกิดในประเทศ

ไทยให้สามารถขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติ

มาตรา 7 ทวิได้ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายประมาณ 40,000 คน

                      3.2 เร่งรัดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา            รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

การขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยและ

ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวรวมทั้งบุตรที่เกิดใน

ประเทศไทยขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติ มาตรา

7 ทวิ ที่ได้ยื่นเรื่องขอเป็นเวลานานแล้ว

4. การสืบทอดมรดก       4.1 ส่งเสริมศูนย์วัฒนธรรมชุมชน โดยเชื่อมโยงและ                วธ. โดยสำนักงานวัฒนธรรม
ทางวัฒนธรรม            สอดคล้องกับวิถีชีวิตกับฐานคิดดั้งเดิม ให้เป็นศูนย์                   จังหวัด สำนักงานคณะกรรมการ
                      วัฒนธรรมที่มีชีวิต                                          วัฒนธรรมแห่งชาติ โดย ศูนย์บูรณา

การไทยสายใยชุมชน เครือข่าย

กะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและ

สิ่งแวดล้อม

                      4.2 สนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม                 วธ. พม.

ชุมชน และการทำกิจกรรมของกลุ่มเครือข่ายทางวัฒนธรรม

ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

5. การศึกษา            5.1 ให้ชุมชนมีส่วนในการกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่                ศธ.

สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถจัด

การศึกษาได้ด้วยตนเอง และส่งเสริมการจัดการศึกษาโดย

ท้องถิ่น เช่น งบประมาณ

                      5.2 พัฒนาศักยภาพผู้บริหารการศึกษา ครู คนในท้องถิ่น              ศธ.

เช่น กรรมการโรงเรียนให้สามารถจัดการศึกษาได้ด้วย

ตนเอง โดยการฝึกฝนอบรมและศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

และปรับระบบการบริหารของโรงเรียนให้เกิดความ

เหมาะสมกับชุมชน

                      5.3 สนับสนุนทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะ             มท. ศธ.
                      อย่างยิ่งสาขาที่จำเป็นในการพัฒนาชุมชน เช่น ด้าน                 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

สาธารณสุข

2.2 มาตรการฟื้นฟูระยะยาว ดำเนินการภายใน 1 — 3 ปี

ประเด็น              ข้อเสนอแนะ                                              หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. การจัดการ         1.1 เพิกถอนพื้นที่ที่รัฐประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ อนุรักษ์ป่า               ทส.
ทรัพยากร             สงวนซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติ

พันธุ์กะเหรี่ยงที่มีข้อเท็จจริงจากการพิสูจน์อย่างเป็นที่

ประจักษ์แล้วว่าได้อยู่อาศัย ดำเนินชีวิตและใช้ประโยชน์ใน

ที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน หรือก่อนที่รัฐจะประกาศ

กฎหมาย หรือนโยบายทับซ้อนพื้นที่ดังกล่าว

                    1.2 ส่งเสริมและยอมรับระบบไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถี                 ทส. กษ. วธ.

วัฒนธรรมของกะเหรี่ยงที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรอย่าง

ยั่งยืนและวิถีชีวิตพอเพียง รวมทั้งผลักดันให้ระบบไร่

หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

                    1.3 ส่งเสริมเกษตรพอเพียงหรือเกษตรทางเลือกที่ไม่ใช่              กษ. ทส. มท.

เกษตรเชิงเดี่ยวหรือเกษตรเชิงอุตสาหกรรม

                    1.4 ส่งเสริมสนับสนุนและยอมรับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่              มท. ทส.

และการจัดการของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม เช่น การออกโฉนด

ชุมชน

2. สิทธิสัญชาติ         จัดสรรงบประมาณรายหัวตามหลักประกันสุขภาพถ้วน                  สำนักงานหลักประกันสุขภาพ
                    หน้าให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้จัดทำประวัติและมีสิทธิอาศัยใน               ถ้วนหน้าแห่งชาติ (สปสช.)

ประเทศไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป

3. การสืบทอดมรดก     กำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์                   ทส. มท. พม. ศธ. วธ.
ทางวัฒนธรรม          กะเหรี่ยงโดยมีพื้นที่นำร่อง เช่น

3.1 บ้านห้วยหินลาดใน ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า

จังหวัดเชียงราย

3.2 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

3.3 บ้านหนองมณฑา (มอวาคี) ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

จังหวัดเชียงใหม่

3.4 บ้านเลตองคุ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

4. การศึกษา          4.1 ปรับระบบการสอบบุคลากรครู โดยการส่งเสริมให้ทุน             ศธ.

แก่กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มกะเหรี่ยงใหม่มากขึ้น เพื่อให้

สามารถกลับไปทำงานยังชุมชนของตนเอง หากเป็นครูกลุ่ม

ชาติพันธุ์อื่นจะต้องสามารถพูดภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์

นั้น ๆ ได้ หรือพร้อมที่จะเรียนรู้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น

                    4.2 รัฐจะต้องผ่อนปรนเงื่อนไขกำหนดคุณวุฒิด้าน                    ศธ. วธ.

การศึกษาเพื่อประโยชน์ในการการสอนและถ่ายทอด

วัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ และภาษาของท้องถิ่น

นั้น โดยเฉพาะครูที่สอนในระดับเด็กเล็กจนถึงชั้น

ประถมศึกษา

                    4.3 ส่งเสริมนโยบาย “พหุภาษา” เพื่อให้เกิดการยอมรับ             ศธ. วธ.

และเข้าใจในภาษาพูดและภาษาเขียนของกลุ่มชาติพันธุ์

กะเหรี่ยง เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างทาง

ชาติพันธุ์

                    4.4 ปรับเปลี่ยนรูปแบบของโรงเรียนให้เกิดความเหมาะสม            ศธ.

กับชุมชน เช่น ปรับเป็นโรงเรียนสาขาโดยไม่ยุบโรงเรียน ไม่

ว่าชุมชนแห่งนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ และส่งเสริม

ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาท้องถิ่นผ่านการร่วมมือ

ระหว่างโรงเรียน ชุมชน นักวิชาการ องค์กรอิสระ เพื่อ

พัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการทั้งทางด้านภาษาและ

วัฒนธรรม

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงวัฒนธรรมรายงานว่า

1. ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอนลงมาถึงจังหวัดราชบุรีต่างได้รับความเดือดร้อนในปัญหาต่างๆ ที่สะสมมายาวนานเกี่ยวกับความไม่เข้าใจในวิถีชีวิตแบบกะเหรี่ยงซึ่งครอบคลุมถึงการจัดการทรัพยากรแบบธรรมชาติด้วยการทำไร่หมุนเวียน การผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง กาให้คุณค่ากับป่าวิธีคิดในเรื่องสิทธิ (ที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์) และการที่รัฐไทยยังไม่เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมและภาษาของชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยต่างๆ (ซึ่งรวมกะเหรี่ยงด้วย) ที่มีอยู่ในประเทศในการจัดการระบบการศึกษาของท้องถิ่นต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาประเทศในแบบทุนนิยมที่เน้นการเกษตรสมัยใหม่ซึ่งลงทุนสูง และเน้นพืชพาณิชย์เชิงเดี่ยว กีดกันทางเลือกอื่น ๆ เช่น การทำไร่หมุนเวียน ที่ผ่านมากะเหรี่ยงบางส่วนจำต้องยอมรับวิถีชีวิตแบบใหม่และหลายส่วนยังเห็นว่า “อยู่อย่างกะเหรี่ยงมีคุณค่า ต่อชีวิตมากกว่า”

2. กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงให้ยั่งยืนด้วยการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชุมชนและรากฐานทางวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยงมีความเข้มแข็งทั้งในการดำรงชีวิตและการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมเกิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน ผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการและ เลขานุการ

3. คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน จำนวน 2 คณะ ประกอบด้วย

3.1 คณะอนุกรรมการฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีนายชูพินิจ เกษมณี เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ และนางขวัญชีวัน บัวแดง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสรุปปัญหาด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงในประเทศไทย จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการ

3.2 คณะอนุกรรมการฝ่ายทรัพยากรและสิทธิเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีนายสุรพงษ์ กองจันทึก เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ และนางมาลี สิทธิเกรียงไกร เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสรุปปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิของชุมชนกะเหรี่ยงในประเทศไทย จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการ

3.3 คณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริง ปัญหา และจัดทำ แนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงและได้เสนอมาตรการต่างๆ ให้คณะกรรมการอำนวยการฯ เสนอกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

4. คณะกรรมการอำนวยการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2553 ได้พิจารณาร่างแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ ได้กำหนดแนวนโยบายในการสนับสนุนฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงระยะสั้นและระยะยาวในประเด็นปัญหา 5 ประการ คือ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรสิทธิในสัญชาติ การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มีมติให้ฝ่ายเลขานุการนำข้อเสนอแนะของที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ไปปรับปรุง และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

5. ศูนย์มานุษยสิรินธร (องค์การมหาชน) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงได้รับมอบหมายให้นำร่างแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยงไปปรับแก้ร่างตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ โดยได้ปรับแก้ไขและจัดทำเอกสารแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยงแล้ว และเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอคณะคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 สิงหาคม 2553--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ