คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการจัดสัมมนาโครงการรัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น ครั้งที่ 2 ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหาที่สื่อมวลชนท้องถิ่นภาคเหนือตอนบนได้นำเสนอในการสัมมนาไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของรัฐบาลให้สื่อมวลชนได้รับทราบอย่างถูกต้องชัดเจนและทั่วถึง เพื่อถ่ายทอดให้ประชาชนทราบและเกิดความเข้าใจต่อไป
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า สำนักโฆษกและกรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม 2500 ณ โรงแรมเซ็นทรัล ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการสัมมนา การจัดสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบแนวนโยบายของรัฐบาลเรื่อง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งชี้แจงทำความเข้าใจนโยบายการบริหารงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยสื่อมวลชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ๘ จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน และมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม) คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกกระทรวง ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าร่วมสัมมนาและร่วมชี้แจงสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ได้ถ่ายทอดการสัมมนาให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับชมและรับฟัง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ด้วย
สรุปผลการจัดสัมมนาภาคเช้า นายกรัฐมนตรีชี้แจงแนวทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ประกอบด้วยแผนงาน 5 แผนงาน ที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทุกด้านทั้งปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาสังคม มีเป้าหมายเพื่อสร้างความสมดุลในการดำรงชีวิต การมีชีวิตที่ดีมีความสุข โดยให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในชุมชนของตน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปกรอบแผนงานในยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข 5 แผนงานประกอบด้วย 1) แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน และครอบครัว การประกอบอาชีพทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่ 2) แผนงานพัฒนาสร้างโอกาสให้กับชุมชน โดยการสนับสนุนกิจกรรมตามศักยภาพของชุมชน 3)แผนงานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน เน้นการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติดินและป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ 4) แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ เน้นการสงเคราะห์ในระดับครอบครัว และ 5) แผนงานการให้บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ครอบคลุมทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลำพูน น่าน และรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สรุปงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและการดำเนินงานโครงการด้านต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการปรับปรุง ประเมินโครงการต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ในเบื้องต้น
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจงนโยบายและผลการดำเนินงานที่สนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามเป้าหมายด้วย
นอกจากนี้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้แสดงความคิดเห็นและซักถามปัญหาในหลายประเด็น เช่นการสร้างศูนย์ประชุมจังหวัดเชียงใหม่ นโยบายการบริหารจัดการสวนราชพฤกษ์ การจัดสรรที่ดินโครงการบ้านมั่นคงและปัญหาแบบแปลนบ้านโครงการบ้านเอื้ออาทร กรณีการก่อสิ่งปลูกสร้างที่สวนสัตว์เชียงใหม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการประกาศเขตอุบัติภัยและข้อเสนอแก้ไขกฎหมายเรื่องการประกาศเขตอุบัติภัย ปัญหาราคาลำไยตกต่ำ ปัญหากว้านพะเยาตื้นเขินและความชัดเจนโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น กรณีชุมชนตองเหลืองมลาบรี จังหวัดน่าน ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ เรื่องที่ดินทำกินและการสนับสนุนเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการคมนาคมจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความยากลำบากและปัญหาค่าโดยสารเครื่องบินการบินไทยมีราคาแพง ซึ่งคำถามส่วนใหญ่ได้มีการชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่สื่อมวลชนแล้ว มีเพียงประเด็นการสร้างศูนย์ประชุมจังหวัดเชียงใหม่ และปัญหาการคมนาคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่รัฐบาลรับจะนำมาพิจารณาและชี้แจงให้สื่อมวลชนทราบต่อไป
สรุปผลการสัมมนาภาคบ่าย สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม” จำนวน 7 กลุ่ม สื่อมวลชนให้ความสนใจ.แสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี และเสนอแนะแนวทางการทำงานร่วมกัน ระหว่างสื่อมวลชนกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อร่วมกันสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม โดยผลการสัมมนาเป็นไปในแนวทางที่สร้างสรรค์ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมโดยรวมได้ต่อไป เช่น สื่อควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการนำเสนอความคิดเห็นส่วนตัวในเชิงชี้นำความคิด และคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ตกเป็นข่าว เสนอให้รัฐบาลจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลข่าวสารระหว่างสื่อแต่ละแขนง เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อดำเนินการให้ข้อมูลความรู้แก่สื่อมวลชนและนักจัดรายการในท้องถิ่นทุกจังหวัด รวมทั้งเสนอให้แต่ละจังหวัดมีตำแหน่งโฆษกประจำจังหวัด เพื่อตอบข้อสงสัยและ. นำเสนอข้อเท็จจริงภายในจังหวัด นอกจากนี้สื่อยังมีความเห็นว่าควรมีการดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง และควรเพิ่มเวลาพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนายกรัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูงกับสื่อมวลชนให้มากขึ้นด้วยความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการจัดสัมมนา จากการสำรวจโดยแบบสอบถามพบว่า สื่อมวลชนเห็นว่าการสัมมนาในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูล และแนวคิดที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปเผยแพร่สร้างความสมานฉันท์ในสังคม และเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของสื่อในการสร้างความสมานฉันท์มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีและความเข้าใจกรอบการประชาสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า สำนักโฆษกและกรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม 2500 ณ โรงแรมเซ็นทรัล ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการสัมมนา การจัดสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบแนวนโยบายของรัฐบาลเรื่อง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งชี้แจงทำความเข้าใจนโยบายการบริหารงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยสื่อมวลชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ๘ จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน และมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม) คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกกระทรวง ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าร่วมสัมมนาและร่วมชี้แจงสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ได้ถ่ายทอดการสัมมนาให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับชมและรับฟัง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ด้วย
สรุปผลการจัดสัมมนาภาคเช้า นายกรัฐมนตรีชี้แจงแนวทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ประกอบด้วยแผนงาน 5 แผนงาน ที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทุกด้านทั้งปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาสังคม มีเป้าหมายเพื่อสร้างความสมดุลในการดำรงชีวิต การมีชีวิตที่ดีมีความสุข โดยให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในชุมชนของตน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปกรอบแผนงานในยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข 5 แผนงานประกอบด้วย 1) แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน และครอบครัว การประกอบอาชีพทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่ 2) แผนงานพัฒนาสร้างโอกาสให้กับชุมชน โดยการสนับสนุนกิจกรรมตามศักยภาพของชุมชน 3)แผนงานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน เน้นการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติดินและป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ 4) แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ เน้นการสงเคราะห์ในระดับครอบครัว และ 5) แผนงานการให้บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ครอบคลุมทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลำพูน น่าน และรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สรุปงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและการดำเนินงานโครงการด้านต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการปรับปรุง ประเมินโครงการต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ในเบื้องต้น
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจงนโยบายและผลการดำเนินงานที่สนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามเป้าหมายด้วย
นอกจากนี้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้แสดงความคิดเห็นและซักถามปัญหาในหลายประเด็น เช่นการสร้างศูนย์ประชุมจังหวัดเชียงใหม่ นโยบายการบริหารจัดการสวนราชพฤกษ์ การจัดสรรที่ดินโครงการบ้านมั่นคงและปัญหาแบบแปลนบ้านโครงการบ้านเอื้ออาทร กรณีการก่อสิ่งปลูกสร้างที่สวนสัตว์เชียงใหม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการประกาศเขตอุบัติภัยและข้อเสนอแก้ไขกฎหมายเรื่องการประกาศเขตอุบัติภัย ปัญหาราคาลำไยตกต่ำ ปัญหากว้านพะเยาตื้นเขินและความชัดเจนโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น กรณีชุมชนตองเหลืองมลาบรี จังหวัดน่าน ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ เรื่องที่ดินทำกินและการสนับสนุนเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการคมนาคมจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความยากลำบากและปัญหาค่าโดยสารเครื่องบินการบินไทยมีราคาแพง ซึ่งคำถามส่วนใหญ่ได้มีการชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่สื่อมวลชนแล้ว มีเพียงประเด็นการสร้างศูนย์ประชุมจังหวัดเชียงใหม่ และปัญหาการคมนาคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่รัฐบาลรับจะนำมาพิจารณาและชี้แจงให้สื่อมวลชนทราบต่อไป
สรุปผลการสัมมนาภาคบ่าย สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม” จำนวน 7 กลุ่ม สื่อมวลชนให้ความสนใจ.แสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี และเสนอแนะแนวทางการทำงานร่วมกัน ระหว่างสื่อมวลชนกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อร่วมกันสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม โดยผลการสัมมนาเป็นไปในแนวทางที่สร้างสรรค์ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมโดยรวมได้ต่อไป เช่น สื่อควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการนำเสนอความคิดเห็นส่วนตัวในเชิงชี้นำความคิด และคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ตกเป็นข่าว เสนอให้รัฐบาลจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลข่าวสารระหว่างสื่อแต่ละแขนง เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อดำเนินการให้ข้อมูลความรู้แก่สื่อมวลชนและนักจัดรายการในท้องถิ่นทุกจังหวัด รวมทั้งเสนอให้แต่ละจังหวัดมีตำแหน่งโฆษกประจำจังหวัด เพื่อตอบข้อสงสัยและ. นำเสนอข้อเท็จจริงภายในจังหวัด นอกจากนี้สื่อยังมีความเห็นว่าควรมีการดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง และควรเพิ่มเวลาพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนายกรัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูงกับสื่อมวลชนให้มากขึ้นด้วยความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการจัดสัมมนา จากการสำรวจโดยแบบสอบถามพบว่า สื่อมวลชนเห็นว่าการสัมมนาในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูล และแนวคิดที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปเผยแพร่สร้างความสมานฉันท์ในสังคม และเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของสื่อในการสร้างความสมานฉันท์มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีและความเข้าใจกรอบการประชาสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--