แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงแรงงาน
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการประกอบอาชีพ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องการจัดตั้งกองทุนโดยเฉพาะ ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ที่เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนของส่วนราชการในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ (1) จัดตั้งกองทุนตามกฎหมายและรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี แล้วบริหารงานตามปกติจากงบประมาณ และ (2) จัดตั้งกองทุนโดยอาศัยงบประมาณบางส่วนกับขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ซึ่งที่ผ่านมา เมื่อจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ แล้ว จะมีปัญหาในการบริหารจัดการกองทุน จึงเป็นภาระของรัฐที่ต้องเข้ามารับภาระในเรื่องงบประมาณ จึงเห็นควรจัดตั้งคณะกรรมการมาศึกษาพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเป็นการเฉพาะ โดยมอบให้กระทรวงการคลังและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณากำหนดหลักการแนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นระบบ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. ปัจจุบันมีการขาดแคลนแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในหลายสาขาอาชีพ ไม่มีกรอบแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบอาชีพหรือปฏิบัติงาน และไม่มีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบอาชีพในหลายสาขาอาชีพ เป็นผลทำให้การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศในสาขาอาชีพต่าง ๆ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และการบริการ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ สร้างปัญหาในการบริโภคให้แก่ประชาชนผู้บริโภค และยังส่งผลต่อสภาพการจ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทนในภาคเอกชน
2. ได้มีนโยบายในการส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน ให้มีบทบาทควบคู่กับองค์กรภาคราชการในการพัฒนาศักยภาพของประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นบทบาทภาคเอกชนเป็นกลไกรากฐาน ผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐ ให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาคุณภาพแรงงานระดับต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้มีผลผลิตและรายได้ที่สูงขึ้น โดยการดูแลโอกาสในการเรียนรู้ การศึกษา ตลอดจนการฝึกอาชีพ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการบริหารจัดการในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภท รวมทั้งการท่องเที่ยว โดยการพัฒนาคนให้พร้อมก้าวสู่โลกของการแข่งขันและรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกาภิวัตน์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการประกอบอาชีพ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องการจัดตั้งกองทุนโดยเฉพาะ ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ที่เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนของส่วนราชการในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ (1) จัดตั้งกองทุนตามกฎหมายและรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี แล้วบริหารงานตามปกติจากงบประมาณ และ (2) จัดตั้งกองทุนโดยอาศัยงบประมาณบางส่วนกับขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ซึ่งที่ผ่านมา เมื่อจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ แล้ว จะมีปัญหาในการบริหารจัดการกองทุน จึงเป็นภาระของรัฐที่ต้องเข้ามารับภาระในเรื่องงบประมาณ จึงเห็นควรจัดตั้งคณะกรรมการมาศึกษาพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเป็นการเฉพาะ โดยมอบให้กระทรวงการคลังและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณากำหนดหลักการแนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นระบบ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. ปัจจุบันมีการขาดแคลนแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในหลายสาขาอาชีพ ไม่มีกรอบแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบอาชีพหรือปฏิบัติงาน และไม่มีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบอาชีพในหลายสาขาอาชีพ เป็นผลทำให้การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศในสาขาอาชีพต่าง ๆ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และการบริการ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ สร้างปัญหาในการบริโภคให้แก่ประชาชนผู้บริโภค และยังส่งผลต่อสภาพการจ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทนในภาคเอกชน
2. ได้มีนโยบายในการส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน ให้มีบทบาทควบคู่กับองค์กรภาคราชการในการพัฒนาศักยภาพของประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นบทบาทภาคเอกชนเป็นกลไกรากฐาน ผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐ ให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาคุณภาพแรงงานระดับต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้มีผลผลิตและรายได้ที่สูงขึ้น โดยการดูแลโอกาสในการเรียนรู้ การศึกษา ตลอดจนการฝึกอาชีพ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการบริหารจัดการในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภท รวมทั้งการท่องเที่ยว โดยการพัฒนาคนให้พร้อมก้าวสู่โลกของการแข่งขันและรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกาภิวัตน์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--