คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกคำสั่งการยกเลิกคำสั่ง การทำและการยกเลิกเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ และการใช้ยานพาหนะในขณะที่มีเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงว่าด้วยแบบเครื่องหมาย การทำและการยกเลิกเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ พ.ศ. .... เสร็จแล้ว มีการแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงเพื่อให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงสำหรับประเด็นข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมในชั้นการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นควรเปลี่ยนถ้อยคำ “ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์” ที่บัญญัติไว้หลายแห่งของร่างกฎกระทรวงฯ เป็น “ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก” คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) เห็นว่าปัจจุบันร่างกฎหมายการขนส่งทางบก พ.ศ. .... ยังอยู่ในขั้นตอนการยกร่างซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการพอสมควร การแก้ไขถ้อยคำตามข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมจึงเป็นการอ้างกฎหมายที่ยังมิได้มีการประกาศใช้บังคับ ดังนั้นในการตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ จึงยังคงใช้ถ้อยคำว่า “ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์” เหมือนเดิม จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกคำสั่งการยกเลิกคำสั่ง การทำและการยกเลิกเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ และการใช้ยานพาหนะในขณะที่มีเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ พ.ศ. .... ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว มีดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราว และการใช้ยานพาหนะในขณะที่มีเครื่องหมายดังกล่าว โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่ง “ห้ามใช้ชั่วคราว” ไว้ที่ยานพาหนะนั้นเมื่อตรวจพบว่ามีการใช้ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษ
2. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราว โดยหากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่า ยานพาหนะที่นำไปแก้ไขปรับปรุงไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวและเอาเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว” ออกจากยานพาหนะนั้น
3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะเด็ดขาด โดยให้ยานพาหนะที่ถูกสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวที่ยังไม่สามารถแก้ไขจนพ้นกำหนดเวลาสามสิบวัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่ง “ห้ามใช้เด็ดขาด” ไว้ที่ยานพาหนะนั้นแทนเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว”
4. กำหนดให้การขออนุญาตเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่ถูกสั่งห้ามใช้ยานพาหนะเด็ดขาด โดยต้องเคลื่อนย้ายยานพาหนะออกจากสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบภายในหกชั่วโมง หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เคลื่อนย้ายยานพาหนะโดยวิธีการลากจูง หรือโดยวิธีการอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำหนดเท่านั้น
5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะเด็ดขาด หากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำการตรวจสอบแล้วพบว่า ยานพาหนะที่นำไปแก้ไขปรับปรุงไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะเด็ดขาดและเอาเครื่องหมาย “ห้ามใช้เด็ดขาด” ออกจากยานพาหนะ
6. คำสั่ง คำร้อง แบบเครื่องหมาย และหลักเกณฑ์การติดเครื่องหมาย กำหนดให้เป็นตามที่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7. บทเฉพาะกาล กำหนดให้คำร้อง คำสั่ง หรือเครื่องหมาย ที่ได้ยื่นสั่งการหรือดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้ถือเป็นคำร้องที่ยื่นตามกฎกระทรวงนี้หรือใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงว่าด้วยแบบเครื่องหมาย การทำและการยกเลิกเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ พ.ศ. .... เสร็จแล้ว มีการแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงเพื่อให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงสำหรับประเด็นข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมในชั้นการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นควรเปลี่ยนถ้อยคำ “ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์” ที่บัญญัติไว้หลายแห่งของร่างกฎกระทรวงฯ เป็น “ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก” คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) เห็นว่าปัจจุบันร่างกฎหมายการขนส่งทางบก พ.ศ. .... ยังอยู่ในขั้นตอนการยกร่างซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการพอสมควร การแก้ไขถ้อยคำตามข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมจึงเป็นการอ้างกฎหมายที่ยังมิได้มีการประกาศใช้บังคับ ดังนั้นในการตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ จึงยังคงใช้ถ้อยคำว่า “ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์” เหมือนเดิม จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกคำสั่งการยกเลิกคำสั่ง การทำและการยกเลิกเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ และการใช้ยานพาหนะในขณะที่มีเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ พ.ศ. .... ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว มีดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราว และการใช้ยานพาหนะในขณะที่มีเครื่องหมายดังกล่าว โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่ง “ห้ามใช้ชั่วคราว” ไว้ที่ยานพาหนะนั้นเมื่อตรวจพบว่ามีการใช้ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษ
2. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราว โดยหากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่า ยานพาหนะที่นำไปแก้ไขปรับปรุงไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวและเอาเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว” ออกจากยานพาหนะนั้น
3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะเด็ดขาด โดยให้ยานพาหนะที่ถูกสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวที่ยังไม่สามารถแก้ไขจนพ้นกำหนดเวลาสามสิบวัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่ง “ห้ามใช้เด็ดขาด” ไว้ที่ยานพาหนะนั้นแทนเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว”
4. กำหนดให้การขออนุญาตเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่ถูกสั่งห้ามใช้ยานพาหนะเด็ดขาด โดยต้องเคลื่อนย้ายยานพาหนะออกจากสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบภายในหกชั่วโมง หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เคลื่อนย้ายยานพาหนะโดยวิธีการลากจูง หรือโดยวิธีการอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำหนดเท่านั้น
5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะเด็ดขาด หากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำการตรวจสอบแล้วพบว่า ยานพาหนะที่นำไปแก้ไขปรับปรุงไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะเด็ดขาดและเอาเครื่องหมาย “ห้ามใช้เด็ดขาด” ออกจากยานพาหนะ
6. คำสั่ง คำร้อง แบบเครื่องหมาย และหลักเกณฑ์การติดเครื่องหมาย กำหนดให้เป็นตามที่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7. บทเฉพาะกาล กำหนดให้คำร้อง คำสั่ง หรือเครื่องหมาย ที่ได้ยื่นสั่งการหรือดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้ถือเป็นคำร้องที่ยื่นตามกฎกระทรวงนี้หรือใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--