แท็ก
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สมาคมพ่อครัวไทย
กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรี
ซีพีเอฟ
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนิการตามแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปผลการดำเนินงานดังนี้
1. ภาพรวมการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (วันที่ 28 ธันวาคม 2549 — 3 มกราคม 2550 รวม 7 วัน) ดังนี้
(1) อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น 4,456 ครั้ง ต่ำว่าประมาณการอุบัติเหตุ 7 วัน ปี 2550 (4,707 ครั้ง) จำนวน 251 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 5.33 เปรียบเทียบกับปี 2549 สะสม 7 วัน รวม 4,194 ครั้ง สูงกว่าจำนวน 262 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.25
(2) ผู้เสียชีวิต จำนวน 449 คน ต่ำกว่าประมาณการเสียชีวิต 7 วัน ปี 2550 (482 คน) จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 6.85 เปรียบเทียบกับปี 2549 สะสม 7 วัน รวม 441 คน สูงกว่าจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 1.81
(3) ผู้บาดเจ็บ (Admit) จำนวน 4,943 คน ต่ำกว่าประมาณการบาดเจ็บ 7 วัน ปี 2550 (5,359 คน) จำนวน 416 คน คิดเป็นร้อยละ 7.76 เปรียบเทียบกับปี 2549 สะสม 7 วัน รวม 4,772 คน สูงกว่าจำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 3.58
(4) จังหวัดที่มียอดการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 141 ครั้ง จังหวัดเชียงราย 139 ครั้ง
(5) จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร ผู้เสียชีวิต จังหวัดละ 18 คน
(6) จังหวัดที่มียอดผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 157 คน จังหวัดเชียงราย 150 คน
(7) ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 86.53
(8) สาเหตุพฤติกรรมเสี่ยงของอุบัติเหตุที่สำคัญ ได้แก่ เมาสุรา 41.97% ขับรถเร็วเกินกำหนด 22.46%
(9) ประเภทถนนที่เกิดอุบัติเหตุ นอกเขตทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 66.01 ในเขตทางหลวง ร้อยละ 33.99
(10) บริเวณจุดเกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นทางตรงร้อยละ 57.84 ทางโค้ง ร้อยละ 19.33
(11) ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ ส่วนใหญ่ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.20 ช่วงเวลา 12.01- 16.00 น. ร้อยละ 21.12
(12) ช่วงอายุผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ กลุ่มอายุต่ำกว่า 19 ปี ร้อยละ 30.29 % กลุ่มอายุ 20-49 ปี ร้อยละ 57.75
(13) ผลการดำเนินการตามมาตรการ 3ม 2ข 1ร ยานพาหนะถูกเรียกตรวจ 12,562,745 คัน ถูกดำเนินคดี 252,516 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.01
2. จังหวัดที่สามารถลดอุบัติเหตุได้ตามเป้าหมายที่กำหนด (ลดได้ตั้งแต่ 15% ของประมาณการขึ้นไป ทั้ง จำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ) จำนวน 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธร สมุทรปราการ นนทบุรี ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี นครราชสีมา นครนายก ชลบุรี ยะลา เลย แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี เชียงใหม่ สุพรรณบุรี และจังหวัดมหาสารคาม
3. การตรวจติดตามของผู้บริหารศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการจราจรในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งให้ทราบถึงสถานการณ์และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ร่วมกับจังหวัด และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตลอดจนอำนวยการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ในระดับพื้นที่ แบ่งเป็น 5 คณะ คือ
(1) รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองผู้อำนวยการศูนย์ ฯ คนที่ 1 รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รองผู้อำนวยการศูนย์ ฯ คนที่ 2 รับผิดชอบพื้นที่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ณ คนที่ 3 รับผิดชอบพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ คนที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่ ภาคเหนือ
(5) รัฐมตรีช่วงว่าการกระทรวงมหาดไทย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ คนที่ 5 รับผิดชอบพื้นที่ ภาคใต้
4. การดำเนินงานตามแผน/มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2549 — 3 มกราคม 2550) นี้ เป็นการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนในทุกระดับ โดยมีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน มีบุคลากรเพื่อการนี้เกือบ 300,000 คน ประกอบด้วย จุดตรวจหลักในพื้นที่ 877 อำเภอ กิ่งอำเภอ ทั่วประเทศ มีผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 90,881 คน จุดตรวจ/จุดสกัด และจุดบริการขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น มีผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 208,917 คน นอกจากนี้ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาล กระทรวง กรม ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ ผู้กำกับการ เจ้าหน้าที่ ตำรวจ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคม เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร/พลเรือน ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน มูลนิธิ สมาคม อาสาสมัคร นักเรียนนักศึกษา ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่ต่างได้เสียสละเวลาและความสุขส่วนตัวในการปฏิบัติงานเพื่อเทศกาลนี้ เพื่อลดอุบัติเหตุและให้ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น
ข้อสรุปแนวทางแก้ไขเบื้องต้น
(1) การปรับปรุงเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน ทั้งในช่วงปกติและเทศกาลสำคัญๆ
(2) การปรับปรุง/แก้ไข ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
(3) การป้องกันและควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุตามถนนสายรอง โดยกระบวนการ ภาคประชาสังคม มุ่งเน้นผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สถาบันครอบครัวและชุมชนในการสร้างความปลอดภัยในระดับพื้นที่
(4) การสร้างจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยโดยใช้กระบวนการและหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งการให้ความรู้และการศึกษาที่ไม่เป็นทางการผ่านสื่อมวลชนหรือกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ
(5) การส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาและสังคมมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--
1. ภาพรวมการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (วันที่ 28 ธันวาคม 2549 — 3 มกราคม 2550 รวม 7 วัน) ดังนี้
(1) อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น 4,456 ครั้ง ต่ำว่าประมาณการอุบัติเหตุ 7 วัน ปี 2550 (4,707 ครั้ง) จำนวน 251 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 5.33 เปรียบเทียบกับปี 2549 สะสม 7 วัน รวม 4,194 ครั้ง สูงกว่าจำนวน 262 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.25
(2) ผู้เสียชีวิต จำนวน 449 คน ต่ำกว่าประมาณการเสียชีวิต 7 วัน ปี 2550 (482 คน) จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 6.85 เปรียบเทียบกับปี 2549 สะสม 7 วัน รวม 441 คน สูงกว่าจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 1.81
(3) ผู้บาดเจ็บ (Admit) จำนวน 4,943 คน ต่ำกว่าประมาณการบาดเจ็บ 7 วัน ปี 2550 (5,359 คน) จำนวน 416 คน คิดเป็นร้อยละ 7.76 เปรียบเทียบกับปี 2549 สะสม 7 วัน รวม 4,772 คน สูงกว่าจำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 3.58
(4) จังหวัดที่มียอดการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 141 ครั้ง จังหวัดเชียงราย 139 ครั้ง
(5) จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร ผู้เสียชีวิต จังหวัดละ 18 คน
(6) จังหวัดที่มียอดผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 157 คน จังหวัดเชียงราย 150 คน
(7) ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 86.53
(8) สาเหตุพฤติกรรมเสี่ยงของอุบัติเหตุที่สำคัญ ได้แก่ เมาสุรา 41.97% ขับรถเร็วเกินกำหนด 22.46%
(9) ประเภทถนนที่เกิดอุบัติเหตุ นอกเขตทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 66.01 ในเขตทางหลวง ร้อยละ 33.99
(10) บริเวณจุดเกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นทางตรงร้อยละ 57.84 ทางโค้ง ร้อยละ 19.33
(11) ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ ส่วนใหญ่ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.20 ช่วงเวลา 12.01- 16.00 น. ร้อยละ 21.12
(12) ช่วงอายุผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ กลุ่มอายุต่ำกว่า 19 ปี ร้อยละ 30.29 % กลุ่มอายุ 20-49 ปี ร้อยละ 57.75
(13) ผลการดำเนินการตามมาตรการ 3ม 2ข 1ร ยานพาหนะถูกเรียกตรวจ 12,562,745 คัน ถูกดำเนินคดี 252,516 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.01
2. จังหวัดที่สามารถลดอุบัติเหตุได้ตามเป้าหมายที่กำหนด (ลดได้ตั้งแต่ 15% ของประมาณการขึ้นไป ทั้ง จำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ) จำนวน 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธร สมุทรปราการ นนทบุรี ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี นครราชสีมา นครนายก ชลบุรี ยะลา เลย แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี เชียงใหม่ สุพรรณบุรี และจังหวัดมหาสารคาม
3. การตรวจติดตามของผู้บริหารศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการจราจรในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งให้ทราบถึงสถานการณ์และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ร่วมกับจังหวัด และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตลอดจนอำนวยการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ในระดับพื้นที่ แบ่งเป็น 5 คณะ คือ
(1) รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองผู้อำนวยการศูนย์ ฯ คนที่ 1 รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รองผู้อำนวยการศูนย์ ฯ คนที่ 2 รับผิดชอบพื้นที่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ณ คนที่ 3 รับผิดชอบพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ คนที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่ ภาคเหนือ
(5) รัฐมตรีช่วงว่าการกระทรวงมหาดไทย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ คนที่ 5 รับผิดชอบพื้นที่ ภาคใต้
4. การดำเนินงานตามแผน/มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2549 — 3 มกราคม 2550) นี้ เป็นการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนในทุกระดับ โดยมีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน มีบุคลากรเพื่อการนี้เกือบ 300,000 คน ประกอบด้วย จุดตรวจหลักในพื้นที่ 877 อำเภอ กิ่งอำเภอ ทั่วประเทศ มีผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 90,881 คน จุดตรวจ/จุดสกัด และจุดบริการขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น มีผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 208,917 คน นอกจากนี้ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาล กระทรวง กรม ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ ผู้กำกับการ เจ้าหน้าที่ ตำรวจ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคม เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร/พลเรือน ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน มูลนิธิ สมาคม อาสาสมัคร นักเรียนนักศึกษา ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่ต่างได้เสียสละเวลาและความสุขส่วนตัวในการปฏิบัติงานเพื่อเทศกาลนี้ เพื่อลดอุบัติเหตุและให้ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น
ข้อสรุปแนวทางแก้ไขเบื้องต้น
(1) การปรับปรุงเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน ทั้งในช่วงปกติและเทศกาลสำคัญๆ
(2) การปรับปรุง/แก้ไข ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
(3) การป้องกันและควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุตามถนนสายรอง โดยกระบวนการ ภาคประชาสังคม มุ่งเน้นผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สถาบันครอบครัวและชุมชนในการสร้างความปลอดภัยในระดับพื้นที่
(4) การสร้างจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยโดยใช้กระบวนการและหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งการให้ความรู้และการศึกษาที่ไม่เป็นทางการผ่านสื่อมวลชนหรือกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ
(5) การส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาและสังคมมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--