แท็ก
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
สำนักงาน ก.พ.
กระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า ได้นำร่างกฎ ก.ค.ศ. ดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ตรวจพิจารณา สำหรับประเด็นข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. เรื่อง สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และรวมทั้งข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีซึ่งเกี่ยวเนื่องกันนั้นเห็นว่า การกำหนดให้สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งเป็นการกำหนดสิทธิเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่แตกต่างจากสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นข้าราชการพลเรือน แม้ว่าการให้สิทธิในการคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะเป็นการคัดค้านอำนาจการบังคับบัญชาในระบบราชการ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความเป็นธรรมและความถูกต้องในการดำเนินการทางวินัยจึงสามารถกำหนดให้มีการคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไว้ได้ นอกจากนี้ยังได้กำหนดระยะเวลาการคัดค้านผู้พิจารณาสั่งสำนวนการสอบสวนแทนผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ถูกคัดค้าน และกำหนดให้การคัดค้านดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคณะกรรมการสอบสวนและการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว รวมทั้งได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาและสั่งการ จึงได้เสนอร่างกฎ ก.ค.ศ. ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนพิจารณาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ดังนี้
1. กำหนดเหตุในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและวางระบบในการดำเนินการทางวินัย โดยกำหนดให้ต้องดำเนินการสอบสวนโดยคณะกรรมการ (ร่างข้อ 2)
2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทั้งในด้านคุณสมบัติและองค์ประกอบของคณะกรรมการที่ได้มาตรฐาน ทั้งการดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงและไม่ร้ายแรง (ร่างข้อ 3)
3. กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาและพยาน (ร่างข้อ 7 — ร่างข้อ 13)
4. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มีกระบวนการดำเนินการที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ (ร่างข้อ 14-ร่างข้อ 19)
5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน ทั้งในด้านการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหา เช่น การรับฟังพยานหลักฐาน การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและการใช้ดุลพินิจให้เป็นไปโดยรวดเร็วต่อเนื่องและเกิดความเที่ยงธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา (ร่างข้อ 20 — ร่างข้อ 37)
6. กำหนดวิธีการทำรายงานการสอบสวนอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามกฎหมาย (ร่างข้อ 38 — ร่างข้อ 39)
7. กำหนดแนวทางในการสั่งสำนวนการสอบสวน การจัดทำคำสั่งลงโทษทางวินัยและการให้เหตุผลประกอบคำสั่งลงโทษทางวินัยให้เป็นไปตามหลักกฎหมายรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการสอบสวนเพิ่มเติม ตามที่ผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนเห็นสมควร (ร่างข้อ 40- ร่างข้อ 42)
8. กำหนดหลักเกณฑ์ในการเยียวยาแก้ไข เมื่อปรากฏว่าการดำเนินการสอบสวนมิชอบหรือบกพร่อง โดยกำหนดให้การสอบสวนในกรณีที่ปรากฏว่าการตั้งกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องเป็นอันเสียไปทั้งหมด และกำหนดให้การสอบสวนในกรณีที่องค์ประชุมของคณะกรรมการสอบสวนไม่ครบตามกำหนด และการสอบปากคำบุคคลดำเนินการไม่ถูกต้องตามที่กำหนดเป็นอันเสียไปเฉพาะกรณีและสามารถดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียใหม่ได้ (ร่างข้อ 43- ร่างข้อ 46)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า ได้นำร่างกฎ ก.ค.ศ. ดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ตรวจพิจารณา สำหรับประเด็นข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. เรื่อง สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และรวมทั้งข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีซึ่งเกี่ยวเนื่องกันนั้นเห็นว่า การกำหนดให้สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งเป็นการกำหนดสิทธิเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่แตกต่างจากสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นข้าราชการพลเรือน แม้ว่าการให้สิทธิในการคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะเป็นการคัดค้านอำนาจการบังคับบัญชาในระบบราชการ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความเป็นธรรมและความถูกต้องในการดำเนินการทางวินัยจึงสามารถกำหนดให้มีการคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไว้ได้ นอกจากนี้ยังได้กำหนดระยะเวลาการคัดค้านผู้พิจารณาสั่งสำนวนการสอบสวนแทนผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ถูกคัดค้าน และกำหนดให้การคัดค้านดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคณะกรรมการสอบสวนและการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว รวมทั้งได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาและสั่งการ จึงได้เสนอร่างกฎ ก.ค.ศ. ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนพิจารณาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ดังนี้
1. กำหนดเหตุในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและวางระบบในการดำเนินการทางวินัย โดยกำหนดให้ต้องดำเนินการสอบสวนโดยคณะกรรมการ (ร่างข้อ 2)
2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทั้งในด้านคุณสมบัติและองค์ประกอบของคณะกรรมการที่ได้มาตรฐาน ทั้งการดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงและไม่ร้ายแรง (ร่างข้อ 3)
3. กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาและพยาน (ร่างข้อ 7 — ร่างข้อ 13)
4. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มีกระบวนการดำเนินการที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ (ร่างข้อ 14-ร่างข้อ 19)
5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน ทั้งในด้านการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหา เช่น การรับฟังพยานหลักฐาน การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและการใช้ดุลพินิจให้เป็นไปโดยรวดเร็วต่อเนื่องและเกิดความเที่ยงธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา (ร่างข้อ 20 — ร่างข้อ 37)
6. กำหนดวิธีการทำรายงานการสอบสวนอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามกฎหมาย (ร่างข้อ 38 — ร่างข้อ 39)
7. กำหนดแนวทางในการสั่งสำนวนการสอบสวน การจัดทำคำสั่งลงโทษทางวินัยและการให้เหตุผลประกอบคำสั่งลงโทษทางวินัยให้เป็นไปตามหลักกฎหมายรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการสอบสวนเพิ่มเติม ตามที่ผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนเห็นสมควร (ร่างข้อ 40- ร่างข้อ 42)
8. กำหนดหลักเกณฑ์ในการเยียวยาแก้ไข เมื่อปรากฏว่าการดำเนินการสอบสวนมิชอบหรือบกพร่อง โดยกำหนดให้การสอบสวนในกรณีที่ปรากฏว่าการตั้งกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องเป็นอันเสียไปทั้งหมด และกำหนดให้การสอบสวนในกรณีที่องค์ประชุมของคณะกรรมการสอบสวนไม่ครบตามกำหนด และการสอบปากคำบุคคลดำเนินการไม่ถูกต้องตามที่กำหนดเป็นอันเสียไปเฉพาะกรณีและสามารถดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียใหม่ได้ (ร่างข้อ 43- ร่างข้อ 46)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--