แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงอุตสาหกรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
นายกรัฐมนตรี
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปพิจารณาด้วยแล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย ที่ยังมีความคาบเกี่ยวซ้ำซ้อนกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จนทำให้ไม่มีความเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงานบางส่วนไปประสานงานกับกระทรวงคมนาคมต่อไป
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการของพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ 2535 ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการวัตถุอันตรายลดการออกประกาศซ้ำซ้อนระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการระบุวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพิ่มอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการแก้ไขปรับปรุงก่อนที่เหตุการณ์อันตรายจะเกิดขึ้น ยกเลิกอำนาจการจับกุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นต้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ดังต่อไปนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ วัตถุอันตราย
2. เพิ่มเติมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ เพื่อให้ภาครัฐสามารถควบคุมกำกับดูแลได้อย่างทั่วถึง
3. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอายุของใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ซึ่งเดิมนั้นไม่มีการกำหนดอายุไว้ทำให้มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเป็นจำนวนมากที่ไม่มีการประกอบการและข้อมูลไม่ทันสมัย
4. ยกเลิกอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจับกุมผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หรือมีเหตุอันสมควรสงสัยว่ากระทำเช่นนั้นส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เคยใช้อำนาจนั้น
5. แก้ไขการออกประกาศซ้ำซ้อนระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการระบุวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการของพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ 2535 ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการวัตถุอันตรายลดการออกประกาศซ้ำซ้อนระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการระบุวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพิ่มอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการแก้ไขปรับปรุงก่อนที่เหตุการณ์อันตรายจะเกิดขึ้น ยกเลิกอำนาจการจับกุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นต้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ดังต่อไปนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ วัตถุอันตราย
2. เพิ่มเติมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ เพื่อให้ภาครัฐสามารถควบคุมกำกับดูแลได้อย่างทั่วถึง
3. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอายุของใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ซึ่งเดิมนั้นไม่มีการกำหนดอายุไว้ทำให้มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเป็นจำนวนมากที่ไม่มีการประกอบการและข้อมูลไม่ทันสมัย
4. ยกเลิกอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจับกุมผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หรือมีเหตุอันสมควรสงสัยว่ากระทำเช่นนั้นส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เคยใช้อำนาจนั้น
5. แก้ไขการออกประกาศซ้ำซ้อนระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการระบุวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--