สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 27

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 25, 2010 16:08 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 27 ของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

สถานการณ์อุทกภัย

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน จากนั้นในช่วงวันที่ 19-20 สิงหาคม 2553 คลื่นกระแสลมตะวันออกได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน และช่วงปลายสัปดาห์ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยพาดเข้าสู่พายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในหลายพื้นที่

ช่วงวันที่ 21-22 สิงหาคม 2553 มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่

1. จังหวัดเชียงราย

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2553 ฝนตกหนัก ทำให้น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมในพื้นที่ จำนวน 1 อำเภอ คือ อำเภอเวียงป่าเป้า ตำบลแม่เจดีย์ใหญ่ เนื่องจากยังมีฝนตกต่อเนื่องสถานการณ์ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ

2. จังหวัดลำพูน

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2553 ฝนตกหนักทำให้ลำน้ำแม่ทา และลำน้ำแม่กวงไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านธิ แม่ทา และป่าซาง เนื่องจากยังมีฝนตกต่อเนื่องสถานการณ์ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ

3. จังหวัดลำปาง

เมื่อวันที่ 21-22 ส.ค. 2553 ฝนตกหนักเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง เถิน เมืองปาน เกาะคา ห้างฉัตร แจ้ห่ม เนื่องจากยังมีฝนตกต่อเนื่องสถานการณ์ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ

จากปริมาณฝนดังกล่าว ทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำวังและลำน้ำสาขาเพิ่มปริมาณมากขึ้น ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าจะมีฝนตกหนักเหนือเขื่อนกิ่วลม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับน้ำจากน้ำตอนบนด้วยอัตราการระบาย 150 ลบ.ม./วินาที ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในเขตอำเภอเมืองลำปาง

วันที่ 23 ส.ค. 2553 เขื่อนกิ่วลม มีปริมาณน้ำ จำนวน 82 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุเก็บกัก (ความจุเก็บกัก 112 ล้าน ลบ.ม.) วันนี้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 14.61 ล้าน ลบ.ม.

4. จังหวัดแพร่

เมื่อวันที่ 21-22 ส.ค. 2553 ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ร้องกวาง ลอง วังชิ้น เนื่องจากยังมีฝนตกต่อเนื่องสถานการณ์ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (23 สิงหาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 37,802 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(35,803 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,999 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 13,961 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (47,424 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 64) จำนวน 9,622 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 35,753 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (23 สิงหาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 35,778 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (33,908 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,875 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 12,255 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (45,165 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 65) จำนวน 9,387 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 33,817 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักฯ

                                                                                    หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ม.ค.      ก.พ.      มี.ค.    เม.ย.      พ.ค.      มิ.ย.      ก.ค.    1-22 ส.ค.         รวม
ภูมิพล           52.09      1.74      4.95        0      15.6     34.06     146.2       650.07      904.71
สิริกิติ์          136.62     97.73     85.93    69.12    114.18    150.64    622.74     1,423.17    2,700.13
ภูมิพล+สิริกิติ์     188.71     99.47     90.88    69.12    129.78     184.7    768.94     2,073.24    3,604.84
แควน้อยฯ        42.49     25.69     31.19    14.35     19.65     33.36     75.36       118.09      360.18
ป่าสักชลสิทธิ์      41.06      5.51        19    10.18     17.44     27.91      5.72       198.64      325.46
รวม 4 อ่างฯ    272.26    130.67    141.07    93.65    166.87    245.97    850.02     2,389.97    4,290.48

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                              หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ        ปริมาตรน้ำ     ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
                ในอ่างปี52       ในอ่างปี 53     ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย      รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %    ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
ภูมิพล           6,176  46       4,575  34        775    6    44.25   45.08        2      2    8,887
สิริกิติ์           5,310  56       4,849  51      1,999   21    61.06   79.86     3.44   4.48    4,661
ภูมิพล+  สิริกิติ์   11,486  51       9,424  41      2,774   12   105.31  124.94     5.44   6.48   13,548
แควน้อยฯ          148  19         294  38        258   34     8.54    8.03        0   0.43      475
ป่าสักชลสิทธิ์        309  32         261  27        258   27    21.06   16.43        0      0      699

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 5 อ่าง ได้แก่ แม่กวง(28) มูลบน (28) ป่าสักฯ(27) แก่งกระจาน(27) และปราณบุรี(26) ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 3 อ่างฯ ได้แก่ น้ำอูน ลำตะคองทับเสลา

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง คือ หนองปลาไหล(88) รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 82.3 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 5.4 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 7) ปริมาณน้ำใช้การได้ 67 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ

จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 416.3 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 77.1 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23) ปริมาณน้ำใช้การได้ 388 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างฯ

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี P.81 บ้านโป่ง อำเภอสันกำแพง จังหวัดลำพูน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี P.7A บ้านท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก

แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย สถานี Y.33 บ้านคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม สถานี Y.16 บ้านบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก

แม่น้ำน่าน สถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก

แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสะตึก อำเภอสะตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี M.9 บ้านหนองหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย สถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ

แม่น้ำป่าสัก สถานี S.42 บ้านบ่อวัง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม

ภาคใต้ แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย

การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนผ่านศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด เรื่องการเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย ให้เกษตรกรเตรียมการรับสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา หรือ ที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและ ดินถล่มได้

2. สั่งการให้ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และหากเกิดสถานการณ์อุทกภัยให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรของแต่ละจังหวัด ตลอดจนรายงานสถานการณ์ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบ

3. การปฏิบัติการฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปรับแผนปฏิบัติการการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ปัจจุบันมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 5 ศูนย์ ประกอบด้วย หน่วยปฏิบัติการ จำนวน 11 หน่วย ได้แก่ หน่วยฯ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก พิษณุโลก ลพบุรี กาญจนบุรี ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์(หัวหิน) และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวง จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ แพร่ นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ระยอง นครศรีธรรมราช

ผลการปฏิบัติการฝนหลวงประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 13—19 สิงหาคม 2553 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 215 เที่ยวบิน มีจังหวัดที่มีรายงานฝนตก 61 จังหวัด วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ 125.4 มิลลิเมตร ที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ(21 อ่าง) รวม 1,594.25 ล้าน ลบ.ม.

ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ช่วงวันที่ 25 มกราคม — 19 สิงหาคม 2553 ขึ้นปฏิบัติการรวม 174 วัน จำนวน 5,041 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตกในปฏิบัติการ รวม 163 วัน จำนวน 688 สถานี วัดปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุดได้ 250.0 มิลลิเมตร จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 63 จังหวัด จากจำนวนจังหวัดที่อยู่ในเป้าหมายทั้งหมด 70 จังหวัด

4. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 452 เครื่อง ในพื้นที่ 48 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 168 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่(31) นครสวรรค์(4) เพชรบูรณ์(4) ลำปาง(33) น่าน(12) พิษณุโลก(1) แพร่(9) ตาก(15) ลำพูน(13) พะเยา(5) แม่ฮ่องสอน(18) เชียงราย(3) อุตรดิตถ์(5)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด จำนวน 135 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(5) ขอนแก่น(7) มหาสารคาม (4) ร้อยเอ็ด(11) กาฬสินธุ์(46) อุบลราชธานี(6) นครพนม(8) มุกดาหาร(5) อำนาจเจริญ(14) สุรินทร์(7) ศรีสะเกษ(11) อุดรธานี(2) สกลนคร(9)

ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 46 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(9) สิงห์บุรี(1) สระบุรี(1) พระนครศรีอยุธยา(2) นนทบุรี (5) ปทุมธานี (8) สุพรรณบุรี(9) สมุทรสาคร(2) ราชบุรี(1) อุทัยธานี (6) อ่างทอง(2)

ภาคตะวันออก 3 จังหวัด จำนวน 46 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(14) ปราจีนบุรี(15) ฉะเชิงเทรา(17)

ภาคใต้ 7 จังหวัด จำนวน 57 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(2) นครศรีธรรมราช(19) พังงา(1) สงขลา(17) ยะลา(6) พัทลุง(5) ปัตตานี(7)

5. สนับสนุนแร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 32 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 308 ตัว ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

ผลกระทบด้านการเกษตร

อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ 5 มิถุนายน.-15 สิงหาคม 2553(ข้อมูล ณ วันที่ 20 ส.ค. 2553)

ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก น่าน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ ฉะเชิงเทรา ตราด ระยอง กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ตรัง และสตูล เกษตรกร 40,226 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 207,594 ไร่ แบ่งเป็นข้าว 79,108 ไร่ พืชไร่ 116,631 ไร่ และพืชสวน 11,855 ไร่

ด้านประมง พื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ และเลย เกษตรกร 2,680 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 2,943 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 1,626 ไร่ 297 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 2,943 ตารางเมตร

ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน ลำปาง แพร่ พะเยา เชียงรายเกษตรกร 2,707 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 48,263 ตัว แยกเป็น โคและกระบือ 35 ตัว สุกร 28 ตัว สัตว์ปีก 48,200 ตัว

การดำเนินการ

  • ด้านประมง จ่ายเงินช่วยเหลือแล้วด้วยเงินทดรองราชการในอำนาจนายอำเภอ 2 จังหวัด คือจังหวัดเชียงราย และน่าน เป็นเงิน 780,479 บาท

ด้านพืชและด้านปศุสัตว์ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

ฝนทิ้งช่วง ช่วงภัยวันที่ 17 พฤษภาคม — 13 กรกฎาคม 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ส.ค.2553)

ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน พิจิตร แพร่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา อำนาจเจริญ สระบุรี ชุมพร เกษตรกร 48,898 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 327,452 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 164,616 ไร่ พืชไร่ 158,516 ไร่ และพืชสวน 4,320 ไร่

การดำเนินการ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

ภัยแล้ง ช่วงภัยวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มิถุนายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2553)

ด้านพืช พื้นที่การเกษตรเสียหาย 45 จังหวัด เกษตรกร 215,564 ราย พื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 1,528,614 ไร่ (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 6 ส.ค.53 จำนวน 102,661 ไร่) แบ่งเป็น ข้าว 96,511 ไร่ พืชไร่ 1,369,158 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 165,607 ไร่ คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 1,338.2449 ล้านบาท

การดำเนินการ

  • ช่วยเหลือแล้วด้วยงบจังหวัดและงบกลาง จำนวน 17 จังหวัด วงเงิน 62.4199 ล้านบาท
  • อยู่ระหว่างขอสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง (คปอล.) จำนวน 26 จังหวัด วงเงิน 497.8804 ล้านบาท
  • อยู่ระหว่างของบกลางของจังหวัด วงเงิน 777.9446 ล้านบาท

ด้านปศุสัตว์ พื้นที่เสียหาย 1 จังหวัด คือจังหวัดตาก เกษตรกร 98 ราย แปลงหญ้าเสียหาย 1,392 ไร่ วงเงิน 306,240 บาท อยู่ระหว่างขอสนับสนุนงบประมาณจาก คปอล.

ด้านประมง พื้นที่เสียหาย 1 จังหวัด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกษตรกร 5 ราย พื้นที่ 9 ไร่ วงเงิน 30,654 บาท อยู่ระหว่างขอสนับสนุนงบประมาณจาก คปอล.

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 สิงหาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ