คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการทบทวน GSP ประจำปีของสหรัฐฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ภูมิหลัง
สหรัฐฯ ได้ประกาศผลการทบทวน GSP ประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 ซึ่งมีรายการสินค้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ดังนี้
1.1 สินค้าไทยที่ขอผ่อนผันไม่ให้ตัดสิทธิ GSP กรณี De minimis Waiver 9 รายการ ปรากฏว่าได้รับการคืนสิทธิ 8 รายการ ถูกตัดสิทธิ 1 รายการ คือ ลิ้นจี่และลำไยกระป๋อง
1.2 สินค้าไทยที่สหรัฐฯ นำเข้าเกินเพดานที่กำหนด (Competitive Need Limit) จำนวน 3 รายการ คือ เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน เม็ดพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต และยางเรเดียล โดยไทยได้ขอยกเว้นเพดานการนำเข้า (CNL Waivers) ทั้ง 3 รายการ ผลการพิจารณาของสหรัฐฯ เป็นดังนี้
1.2.1 ยกเว้นเพดานการนำเข้าสำหรับสินค้ายางเรเดียล
1.2.2 ตัดสิทธิ GSP จำนวน 2 รายการ คือ เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบนและเม็ดพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต
1.3 สินค้าไทยที่ถูกตัดสิทธิตามหลักเกณฑ์ใหม่ คือ สินค้าที่ได้รับการผ่อนผันยกเว้นเพดานการนำเข้ามาแล้วเกิน 5 ปี และมูลค่านำเข้าเกิน 150% ของเพดานที่กำหนด ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ทำจากโลหะมีค่า
2. การใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ ของไทย
ภาวะการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง โดยในปี 2547 มีมูลค่า 15,487 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 22,345 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2549 และมีมูลค่าการใช้สิทธิ GSP 4,252.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ โดยประเทศไทยใช้สิทธิ GSP ในการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 จากผู้ใช้สิทธิทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.6 ของมูลค่าการใช้สิทธิ GSP ทั้งหมดรองจากแองโกล่า (สัดส่วนร้อยละ 20.7) และอินเดีย (สัดส่วนร้อยละ 17.8)
สินค้าสำคัญที่ใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า ยางเรเดียล เครื่องรับโทรทัศน์สี เม็ดพลาสติก และอาหารปรุงแต่ง
แม้ว่าสหรัฐฯ ได้ตัดสิทธิ GSP ในสินค้า 3 รายการ ได้แก่ เครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เครื่องรับโทรทัศน์สี และเม็ดพลาสติก ไปแล้วก็ตาม แต่ผู้ส่งออกของไทย ก็ยังสามารถส่งออกไปประเทศสหรัฐฯ ได้ตามปกติ โดยเสียภาษีนำเข้า เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับสิทธิ GSP ในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 ทั้งนี้ การถูกตัดสิทธิ GSP ทำให้ต้นทุนการจำหน่ายสินค้าทั้ง 3 รายการเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ และเมื่อเทียบจากมูลค่าการส่งออกในปี 2549 ภาษีนำเข้าที่ต้องชำระประมาณ 53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,800 ล้านบาท ซึ่งผู้นำเข้าอาจผลักภาระมายังผู้ส่งออกไทย
3. ผลจากการถูกตัดสิทธิ GSP
3.1 สินค้าเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สุดของไทย โดยมีมูลค่าส่งออก 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2549 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐอเมริการ้อยละ 10.5 ในขณะที่อินเดียมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 33.2 และไทยได้รับยกเว้นเพดานการส่งออกจากสหรัฐฯ มาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา นับเป็นระยะเวลา 9 ปี การพิจารณาตัดสิทธิ GSP ในครั้งนี้ เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขัน โดยพิจารณาจากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ในการพิจารณาทบทวน GSP ของสหรัฐฯ ปรากฏว่าทั้งอินเดียและไทยถูกตัดสิทธิ GSP สินค้าดังกล่าว ส่วนจีนไม่ได้รับสิทธิ GSP อยู่แล้ว ส่งผลให้สินค้าที่นำเข้าจากไทย อินเดียและจีน ต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ในอัตราที่เท่ากันคือร้อยละ 5.5 หากพิจารณาจากต้นทุนการผลิตแล้วจีนจะได้เปรียบ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ผู้ส่งออกรายย่อยจึงอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดบางส่วนให้กับจีน
3.2 สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน ขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 34.29 ซม. โอกาสการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐฯ จะลดลง อาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้ประเทศคู่แข่งได้ นอกจากผู้ส่งออกปรับตัว โดยลดต้นทุนการผลิตเพื่อชดเชยภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นก็จะสามารถส่งไปแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้ หรือหันไปผลิตสินค้าในพิกัดอื่น ๆ เช่น เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน ขนาดเส้นทะแยงมุม 34.29 ซม.หรือโทรทัศน์สีชนิด Non-high definition เส้นทะแยงมุมมากกว่า 35.56 ซม. ซึ่งปัจจุบันไทยสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ มีมูลค่าสูง โดยไม่ต้องพึ่งพาสิทธิ GSP แต่อย่างใด
3.3 สินค้าเม็ดพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต เป็นเม็ดพลาสติกชนิดที่นำไปผลิตขวดน้ำดื่มชนิดใส และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุนค่อนข้างสูงมีผู้ประกอบการรายใหญ่ประมาณ 4-5 ราย และมีตลาด ส่งออกในทุกภูมิภาคทั่วโลก แม้จะถูกสหรัฐฯ ตัด GSP ธุรกิจดังกล่าว ก็ยังสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ มีความต้องการใช้เม็ดพลาสติก 1 ใน 4 ของโลกและยังคงมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคต
4. การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์
4.1 เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขันของไทย กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (สวอ.) กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก และได้จัดทำโครงการถนนสายอัญมณี (ถนนมเหศักดิ์ และถนนสีลม)
4.2 แสวงหาตลาดใหม่ในแถบตะวันออกกลาง จีน อินเดีย ทวีปแอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นต้น โดยจัดโครงการส่งเสริมและขยายตลาดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดหลักที่ให้ GSP ลง
4.3 สำหรับสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP ไปแล้ว ตามระบบของสหรัฐฯ จะเปิดโอกาสให้ทบทวนเป็นประจำทุกปี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้ยื่นคำร้องขอคืนสิทธิให้ตามแต่กรณี โดยพิจารณาจากมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ในปี 2550 เป็นเกณฑ์ โดยเมื่อสถิติครบ 10 เดือนแรก จะแจ้งเตือนผู้ประกอบการให้ทราบว่ามีสินค้ารายการใดที่มีแนวโน้มจะเกินเพดานที่กำหนด (ปี 2550 สหรัฐฯ กำหนดเพดานนำเข้า = 130 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อสหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องขอคืนสิทธิจะได้ดำเนินการได้ทันท่วงที
4.4 เชิญคณะผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา (US Trade Representative : USTR) และประธานคณะอนุกรรมการ GSP เป็นวิทยากรในการประชุมสัมมนา เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ GSP รวมทั้งหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อการใช้สิทธิ GSP ของสินค้าไทย โดยกำหนดจัดการสัมมนาขึ้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กรกฎาคม 2550--จบ--
1. ภูมิหลัง
สหรัฐฯ ได้ประกาศผลการทบทวน GSP ประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 ซึ่งมีรายการสินค้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ดังนี้
1.1 สินค้าไทยที่ขอผ่อนผันไม่ให้ตัดสิทธิ GSP กรณี De minimis Waiver 9 รายการ ปรากฏว่าได้รับการคืนสิทธิ 8 รายการ ถูกตัดสิทธิ 1 รายการ คือ ลิ้นจี่และลำไยกระป๋อง
1.2 สินค้าไทยที่สหรัฐฯ นำเข้าเกินเพดานที่กำหนด (Competitive Need Limit) จำนวน 3 รายการ คือ เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน เม็ดพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต และยางเรเดียล โดยไทยได้ขอยกเว้นเพดานการนำเข้า (CNL Waivers) ทั้ง 3 รายการ ผลการพิจารณาของสหรัฐฯ เป็นดังนี้
1.2.1 ยกเว้นเพดานการนำเข้าสำหรับสินค้ายางเรเดียล
1.2.2 ตัดสิทธิ GSP จำนวน 2 รายการ คือ เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบนและเม็ดพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต
1.3 สินค้าไทยที่ถูกตัดสิทธิตามหลักเกณฑ์ใหม่ คือ สินค้าที่ได้รับการผ่อนผันยกเว้นเพดานการนำเข้ามาแล้วเกิน 5 ปี และมูลค่านำเข้าเกิน 150% ของเพดานที่กำหนด ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ทำจากโลหะมีค่า
2. การใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ ของไทย
ภาวะการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง โดยในปี 2547 มีมูลค่า 15,487 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 22,345 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2549 และมีมูลค่าการใช้สิทธิ GSP 4,252.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ โดยประเทศไทยใช้สิทธิ GSP ในการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 จากผู้ใช้สิทธิทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.6 ของมูลค่าการใช้สิทธิ GSP ทั้งหมดรองจากแองโกล่า (สัดส่วนร้อยละ 20.7) และอินเดีย (สัดส่วนร้อยละ 17.8)
สินค้าสำคัญที่ใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า ยางเรเดียล เครื่องรับโทรทัศน์สี เม็ดพลาสติก และอาหารปรุงแต่ง
แม้ว่าสหรัฐฯ ได้ตัดสิทธิ GSP ในสินค้า 3 รายการ ได้แก่ เครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เครื่องรับโทรทัศน์สี และเม็ดพลาสติก ไปแล้วก็ตาม แต่ผู้ส่งออกของไทย ก็ยังสามารถส่งออกไปประเทศสหรัฐฯ ได้ตามปกติ โดยเสียภาษีนำเข้า เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับสิทธิ GSP ในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 ทั้งนี้ การถูกตัดสิทธิ GSP ทำให้ต้นทุนการจำหน่ายสินค้าทั้ง 3 รายการเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ และเมื่อเทียบจากมูลค่าการส่งออกในปี 2549 ภาษีนำเข้าที่ต้องชำระประมาณ 53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,800 ล้านบาท ซึ่งผู้นำเข้าอาจผลักภาระมายังผู้ส่งออกไทย
3. ผลจากการถูกตัดสิทธิ GSP
3.1 สินค้าเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สุดของไทย โดยมีมูลค่าส่งออก 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2549 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐอเมริการ้อยละ 10.5 ในขณะที่อินเดียมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 33.2 และไทยได้รับยกเว้นเพดานการส่งออกจากสหรัฐฯ มาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา นับเป็นระยะเวลา 9 ปี การพิจารณาตัดสิทธิ GSP ในครั้งนี้ เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขัน โดยพิจารณาจากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ในการพิจารณาทบทวน GSP ของสหรัฐฯ ปรากฏว่าทั้งอินเดียและไทยถูกตัดสิทธิ GSP สินค้าดังกล่าว ส่วนจีนไม่ได้รับสิทธิ GSP อยู่แล้ว ส่งผลให้สินค้าที่นำเข้าจากไทย อินเดียและจีน ต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ในอัตราที่เท่ากันคือร้อยละ 5.5 หากพิจารณาจากต้นทุนการผลิตแล้วจีนจะได้เปรียบ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ผู้ส่งออกรายย่อยจึงอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดบางส่วนให้กับจีน
3.2 สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน ขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 34.29 ซม. โอกาสการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐฯ จะลดลง อาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้ประเทศคู่แข่งได้ นอกจากผู้ส่งออกปรับตัว โดยลดต้นทุนการผลิตเพื่อชดเชยภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นก็จะสามารถส่งไปแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้ หรือหันไปผลิตสินค้าในพิกัดอื่น ๆ เช่น เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน ขนาดเส้นทะแยงมุม 34.29 ซม.หรือโทรทัศน์สีชนิด Non-high definition เส้นทะแยงมุมมากกว่า 35.56 ซม. ซึ่งปัจจุบันไทยสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ มีมูลค่าสูง โดยไม่ต้องพึ่งพาสิทธิ GSP แต่อย่างใด
3.3 สินค้าเม็ดพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต เป็นเม็ดพลาสติกชนิดที่นำไปผลิตขวดน้ำดื่มชนิดใส และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุนค่อนข้างสูงมีผู้ประกอบการรายใหญ่ประมาณ 4-5 ราย และมีตลาด ส่งออกในทุกภูมิภาคทั่วโลก แม้จะถูกสหรัฐฯ ตัด GSP ธุรกิจดังกล่าว ก็ยังสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ มีความต้องการใช้เม็ดพลาสติก 1 ใน 4 ของโลกและยังคงมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคต
4. การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์
4.1 เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขันของไทย กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (สวอ.) กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก และได้จัดทำโครงการถนนสายอัญมณี (ถนนมเหศักดิ์ และถนนสีลม)
4.2 แสวงหาตลาดใหม่ในแถบตะวันออกกลาง จีน อินเดีย ทวีปแอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นต้น โดยจัดโครงการส่งเสริมและขยายตลาดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดหลักที่ให้ GSP ลง
4.3 สำหรับสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP ไปแล้ว ตามระบบของสหรัฐฯ จะเปิดโอกาสให้ทบทวนเป็นประจำทุกปี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้ยื่นคำร้องขอคืนสิทธิให้ตามแต่กรณี โดยพิจารณาจากมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ในปี 2550 เป็นเกณฑ์ โดยเมื่อสถิติครบ 10 เดือนแรก จะแจ้งเตือนผู้ประกอบการให้ทราบว่ามีสินค้ารายการใดที่มีแนวโน้มจะเกินเพดานที่กำหนด (ปี 2550 สหรัฐฯ กำหนดเพดานนำเข้า = 130 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อสหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องขอคืนสิทธิจะได้ดำเนินการได้ทันท่วงที
4.4 เชิญคณะผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา (US Trade Representative : USTR) และประธานคณะอนุกรรมการ GSP เป็นวิทยากรในการประชุมสัมมนา เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ GSP รวมทั้งหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อการใช้สิทธิ GSP ของสินค้าไทย โดยกำหนดจัดการสัมมนาขึ้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กรกฎาคม 2550--จบ--