สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 28

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 1, 2010 12:14 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 28 ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

สถานการณ์อุทกภัย

อิทธิพลของพายุโซนร้อน“มินดอนเล” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 24 สิงหาคม 2553 และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศลาวแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและภาคเหนือตอนบนในวันต่อมา และร่องมรสุมได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้มีฝนตกหนาแน่นและมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ในประเทศไทยตอนบน

ช่วงวันที่ 25-30 สิงหาคม 2553 มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สระบุรี

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี แพร่ พิจิตร สุโขทัย

1. จังหวัดสระบุรี

วันที่ 25 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท ทำให้น้ำในลำน้ำธรรมชาติเพิ่มขึ้นเอ่อล้นตลิ่ง และเกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหมอ จำนวน 2 ตำบล(หนองบัว บ้านครัว) อำเภอวิหารแดง จำนวน 1 ตำบล(บ้านลำ) อำเภอหนองแค จำนวน 9 ตำบล (หนองปลิง หนองแขม คชสิทธิ์ โพนทอง โคกตูม หนองไข่น้ำ กุ่มหัก หนองโรง และหนองแค) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.30-0.50 เมตร สถานการณ์ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มลดลง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 3-4 วัน

2. จังหวัดแพร่

วันที่ 30 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำแม่น้ำยมไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ บ้านร่องขี้ปลา ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.25 เมตร กรมชลประทานส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ จำนวน 9 เครื่อง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 1-2 วัน

วันที่ 28 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักที่อำเภอร้องกวาง วัดปริมาณฝนได้ 90.0 มม. ทำให้น้ำในลำห้วยแม่คำมี(สาขาแม่น้ำยม)เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่บ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ตำบลไผ่โทน สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้วตั้งแต่ 29 สิงหาคม 2553

3. จังหวัดพิจิตร

วันที่ 29 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากอำเภอวังโปร่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้าท่วมพื้นที่อำเภอดงเจริญ บ้านเกาะยิงลิง บ้านโคกสนั่น บ้านตลิ่งชัน บ้านวังเรือน ตำบลวังงิ้วเหนือ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 1.00 เมตร โครงการชลประทานจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายแล้ว หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 2-3 วัน

4. จังหวัดสุโขทัย

วันที่ 29 สิงหาคม 2553 เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำยมมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ(เป็นพื้นที่น้ำท่วมประจำ)ในเขต อำเภอเมือง(ตำบลปากแคว บ้านกล้วย ยางซ้าย ปากพระ และทุ่งหลวง ) และอำเภอกงไกรลาส(ตำบลท่าฉนวน และกง) แนวโน้มสถานการณ์น้ำเพิ่มขึ้น คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 5-6 วัน

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (30 สิงหาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 40,451 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (37,802 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,549 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 16,610 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (47,627 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 65) จำนวน 7,176 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 33,104 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (30 สิงหาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 38,204 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (35,778 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,426 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 14,681 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (45,351 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 65) จำนวน 7,147 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 31,391 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักฯ

                                                                                    หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ม.ค.      ก.พ.      มี.ค.    เม.ย.      พ.ค.      มิ.ย.      ก.ค.    1-30 ส.ค.         รวม
ภูมิพล           52.09      1.74      4.95        0      15.6     34.06     146.2     1,009.26    1,263.90
สิริกิติ์          136.62     97.73     85.93    69.12    114.18    150.64    622.74     2,075.91    3,352.87
ภูมิพล+สิริกิติ์     188.71     99.47     90.88    69.12    129.78     184.7    768.94     3,084.97    4,616.57
แควน้อยฯ        42.49     25.69     31.19    14.35     19.65     33.36     75.36       203.32      445.41
ป่าสักชลสิทธิ์      41.06      5.51        19    10.18     17.44     27.91      5.72       365.93      492.75
รวม 4 อ่างฯ    272.26    130.67    141.07    93.65    166.87    245.97    850.02     3,654.22    5,554.73

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                              หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ        ปริมาตรน้ำ     ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
                ในอ่างปี52       ในอ่างปี 53     ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย      รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %    ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
ภูมิพล           6,294  47       4,919  37      1,119    8    45.56   49.57      1.5     1.5   8,543
สิริกิติ์           5,363  56       5,495  58      2,645   28   156.09   93.87        0       0   4,015
ภูมิพล+สิริกิติ์     11,657  51      10,414  45      3,764   16   201.65  143.44      1.5     1.5  12,558
แควน้อยฯ          151  20         383  50        347   45    11.93   14.66        0       0     386
ป่าสักชลสิทธิ์        315  33         422  44        419   44    22.91   27.48     2.57     0.5     538

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 3 อ่าง ได้แก่ มูลบน(29) แก่งกระจาน(27) และปราณบุรี(25) ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 2 อ่างฯ ได้แก่ แม่กวง และป่าสักฯ

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่าง คือ หนองปลาไหล (89) และประแสร์(83)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 84.0 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 7) ปริมาณน้ำใช้การได้ 69 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ

จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 440.8 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 94.1 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 28) ปริมาณน้ำใช้การได้ 412 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 79 ของความจุอ่างฯ

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤติ สถานี P.7A สะพานบ้านห้วยยาง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำวัง สถานี W.10A ท้ายเขื่อนกิ่วลม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ สถานี W.1C สะพานเสตุวารี อ.เมือง จ.ลำปาง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ สถานี W.4A บ้านวังหมัน อ.สามเงา จ.ตาก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ้านห้วยสัก อ.สอง จ.แพร่ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อ.เมือง จ.แพร่ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม สถานี Y.33 บ้านคลองตาล อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม สถานี Y.16 บ้านบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม

แม่น้ำน่าน สถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ สถานี N.8A บ้านบางมูลนาก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก

แม่น้ำชี สถานี E.9 บ้านโจด อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก

แม่น้ำโขง สถานี Kh.58A บ้านฟากเลย อ.เมือง จ.เลย ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี Kh.1 วัดลำดวน อ.เมือง จ.หนองคาย ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก สถานี Kh.16B บ้านท่าควาย อ.เมือง จ.นครพนม ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก

แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ

แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ

แม่น้ำป่าสัก สถานี S.42 บ้านบ่อวัง อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม

แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย

การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนผ่านศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด เรื่อง พายุโซนร้อน“มินดอนเล ” (Mindulle) ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2553 ให้จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแจ้งเตือนให้เกษตรกรเตรียมการรับสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา หรือที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มได้

2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 577 เครื่อง ในพื้นที่ 52 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 172 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่(31) นครสวรรค์(4) เพชรบูรณ์(4) ลำปาง(34) น่าน(12) พิษณุโลก(2) แพร่(9) ตาก(15) ลำพูน(15) พะเยา(5) แม่ฮ่องสอน(18) เชียงราย(3) อุตรดิตถ์(5) สุโขทัย(5) กำแพงเพชร(10)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 201 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(42) ขอนแก่น(7) มหาสารคาม(4) ร้อยเอ็ด(11) กาฬสินธุ์(46) อุบลราชธานี(6) นครพนม(14) มุกดาหาร(11) อำนาจเจริญ(14) สุรินทร์(7) ศรีสะเกษ(7) อุดรธานี(2) สกลนคร(9) ยโสธร(12) บุรีรัมย์(9)

ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 70 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(13) พระนครศรีอยุธยา(2) สิงห์บุรี(1) นนทบุรี(7) ปทุมธานี(8) นครปฐม(4) สุพรรณบุรี(3) ราชบุรี(16) อุทัยธานี(12) อ่างทอง(12) กาญจนบุรี(2)

                ภาคตะวันออก 3 จังหวัด จำนวน 46 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(14) ปราจีนบุรี(15) ฉะเชิงเทรา         (17)
                ภาคใต้ 8 จังหวัด จำนวน 88 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(39) นครศรีธรรมราช(15) พังงา(1) สงขลา         (14) ยะลา(6) พัทลุง(2) ปัตตานี(3) ชุมพร(8)

3. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 12,200 กิโลกรัม แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 32 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 3,198 ตัว ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและอุตรดิตถ์

ผลกระทบด้านการเกษตร

อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ 20 มิถุนายน - 29 สิงหาคม 2553(ข้อมูล ณ วันที่ 30 ส.ค. 2553)

ประสบภัยด้านการเกษตร 31 จังหวัด ได้แก่

ภาคเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ พิจิตร พะเยา สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ หนองคาย เลย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี มุกดาหาร

ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี

ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ตราด ระยอง

ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง และสตูล

ภาค                   ด้านพืช                  ด้านประมง                       ด้านปศุสัตว์
               เกษตรกร     คาดว่าจะ    เกษตรกร    คาดว่าจะเสียหาย    เกษตรกร     สัตว์ได้รับ    แปลง
                            เสียหาย                                ผลกระทบ                 หญ้า
                   ราย          ไร่        ราย      ไร่     ตรม.        ราย          ตัว      ไร่
เหนือ            51,215     346,999      2,756   1,889    1,953      5,585     145,346      10
ต.อ.เฉียงเหนือ     5,206      32,956      1,446     856      875          -           -       -
กลาง             1,429      17,646          6      55    2,700          -           -       -
ตะวันออก            344       1,926          -       -        -          -           -       -
ใต้               1,149       4,232          -       -        -          -           -       -
รวม             59,343     403,759      4,208   2,800    5,528      5,585     145,346      10

การดำเนินการ

  • ด้านพืช ช่วยเหลือแล้ว 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน ลำปาง จ่ายเงินช่วยเหลือแล้วด้วยเงินทดรองราชการ
ในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 10.1861 ล้านบาท
  • ด้านประมง ช่วยเหลือแล้ว 1 จังหวัด คือจังหวัดน่าน จ่ายเงินช่วยเหลือแล้วด้วยเงินทดรองราชการใน
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 773,667 บาท
  • ด้านปศุสัตว์ ช่วยเหลือแล้ว 1 จังหวัด คือจังหวัดน่าน จ่ายเงินช่วยเหลือแล้วด้วยเงินทดรองราชการใน

อำนาจอำเภอ จำนวน 216,235 บาท

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 31 สิงหาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ