แท็ก
ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข้าราชการพลเรือน
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ... ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... รวม 3 ฉบับที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
1. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยกำหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสามปี รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. ให้มีอำนาจหน้าที่หลักในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรภาครัฐ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทาง และให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ รวมทั้งวางกฎเกณฑ์และมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล ตลอดจนกำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการเพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐาน (ร่างมาตรา 6 ถึงมาตรา 8)
1.2 ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่า กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.พ. แจ้งกระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ดำเนินการแก้ไข ยกเลิก หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยการดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษในกรณีดังกล่าวให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. (ร่างมาตรา 9)
1.3 กำหนดให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างผู้แทน ก.พ. ผู้แทน ก.พ.ร. และผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน หรือกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบให้ใช้บังคับกรณีดังกล่าวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภท (ร่างมาตรา 10)
1.4 กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุม ก.พ. โดยอนุโลม (ร่างมาตรา 11)
1.5 กำหนดให้ ก.พ. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.พ.วิสามัญ) ซึ่งจำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ.วิสามัญ ตลอดจนวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (ร่างมาตรา 12)
1.6 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. (ร่างมาตรา 13)
1.7 กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการสามัญเพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ และกำหนดให้มี อ.ก.พ.กระทรวง อ.ก.พ.กรม อ.ก.พ.จังหวัด รวมทั้งองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 14 ถึงมาตรา 23)
1.8 กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) โดยกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วิธีการคัดเลือก วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ และการประชุมของ ก.พ.ค. (ร่างมาตรา 24 ถึงมาตรา 33)
1.9 กำหนดประเภทข้าราชการพลเรือนให้มี 3 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์ โดยกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การจ่ายเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม วันเวลาทำงานและการลาหยุดราชการ เครื่องแบบและการแต่งเครื่องแบบ รวมทั้งบำเหน็จบำนาญของข้าราชการพลเรือน (ร่างมาตรา 35 ถึงมาตรา 41)
1.10 กำหนดให้การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญให้คำนึงถึงระบบคุณธรรม โดยกำหนดให้การรับบุคคลเข้ารับราชการต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค และเป็นธรรม การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน การพิจารณาความดีความชอบและการให้ประโยชน์อื่นต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม การดำเนินการทางวินัยต้องเป็นไปโดยยุติธรรมและปราศจากอคติ และการบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง (ร่างมาตรา 42)
1.11 กำหนดตำแหน่งและระดับข้าราชการพลเรือนสามัญดังนี้
(1) ตำแหน่งประเภทบริหาร แบ่งออกเป็นระดับต้นและระดับสูง
(2) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ แบ่งออกเป็นระดับต้น และระดับสูง
(3) ตำแหน่งประเภทวิชาการ แบ่งออกเป็นระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ตำแหน่งประเภททั่วไป แบ่งออกเป็นระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ
ทั้งนี้ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. (ร่างมาตรา 44 และมาตรา 45)
1.12 กำหนดให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใดจำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ปลัดกระทรวงหรืออธิบดีกำหนด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งซึ่ง ก.พ.เป็นผู้จัดทำ โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน และในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย (ร่างมาตรา 46 และมาตรา 47)
1.13 กำหนดหลักเกณฑ์การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (ร่างมาตรา 51 ถึงมาตรา 69)
1.14 กำหนดหลักเกณฑ์การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ (ร่างมาตรา 70 ถึงมาตรา 75)
1.15 กำหนดจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนสามัญ และหากข้าราชการผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา (ร่างมาตรา 76 และมาตรา 77)
1.16 กำหนดให้มีวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญ หากข้าราชการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อห้าม ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย และกำหนดลักษณะของการกระทำผิดวินัยที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง รวมทั้งกำหนดโทษทางวินัย (ร่างมาตรา 78 ถึงมาตรา 87)
1.17 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการทางวินัย (ร่างมาตรา 88 ถึงมาตรา 104)
1.18 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ (ร่างมาตรา 105 ถึงมาตรา 111)
1.19 กำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ในกรณีข้าราชการถูกสั่งลงโทษตามมาตรา 108 (1) (3) (5) — (8) (ร่างมาตรา 112 ถึงมาตรา 119)
1.20 กำหนดให้มีหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตนต่อของผู้บังคับบัญชา (ร่างมาตรา 120 ถึงมาตรา 123)
1.21 กำหนดให้มีการคุ้มครองระบบคุณธรรม โดยหาก ก.พ.ค.เห็นว่ากฎ ระเบียบ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรม ให้แจ้งให้หน่วยงานผู้ออกกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งทราบเพื่อแก้ไขหรือยกเลิก (ร่างมาตรา 124)
1.22 กำหนดหลักเกณฑ์การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ และการออกจากราชการของข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ (ร่างมาตรา 125 ถึงมาตรา 127)
1.23 กำหนดให้การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (ร่างมาตรา 128)
1.24 กำหนดให้มีบทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา 129 ถึงมาตรา 139)
2. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ยกเลิกการกำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่กำหนดไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้ (แก้ไขร่างมาตรา 11 และมาตรา 12 (ร่างมาตรา 3 และมาตรา 4))
2.2 ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 5)
3. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 กำหนดให้การพ้นจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสหรือระดับทักษะพิเศษ ให้เป็นไปตามมาตรา 19 สัตต (เพิ่มเติมวรรคเจ็ดของมาตรา 19 (ร่างมาตรา 3))
3.2 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสหรือระดับทักษะพิเศษอาจให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินห้าปี (เพิ่มเติมมาตรา 19 สัตต และแก้ไขมาตรา 21 (ร่างมาตรา 4 และมาตรา 5))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มิถุนายน 2550--จบ--
1. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยกำหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสามปี รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. ให้มีอำนาจหน้าที่หลักในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรภาครัฐ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทาง และให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ รวมทั้งวางกฎเกณฑ์และมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล ตลอดจนกำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการเพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐาน (ร่างมาตรา 6 ถึงมาตรา 8)
1.2 ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่า กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.พ. แจ้งกระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ดำเนินการแก้ไข ยกเลิก หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยการดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษในกรณีดังกล่าวให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. (ร่างมาตรา 9)
1.3 กำหนดให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างผู้แทน ก.พ. ผู้แทน ก.พ.ร. และผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน หรือกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบให้ใช้บังคับกรณีดังกล่าวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภท (ร่างมาตรา 10)
1.4 กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุม ก.พ. โดยอนุโลม (ร่างมาตรา 11)
1.5 กำหนดให้ ก.พ. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.พ.วิสามัญ) ซึ่งจำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ.วิสามัญ ตลอดจนวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (ร่างมาตรา 12)
1.6 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. (ร่างมาตรา 13)
1.7 กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการสามัญเพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ และกำหนดให้มี อ.ก.พ.กระทรวง อ.ก.พ.กรม อ.ก.พ.จังหวัด รวมทั้งองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 14 ถึงมาตรา 23)
1.8 กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) โดยกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วิธีการคัดเลือก วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ และการประชุมของ ก.พ.ค. (ร่างมาตรา 24 ถึงมาตรา 33)
1.9 กำหนดประเภทข้าราชการพลเรือนให้มี 3 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์ โดยกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การจ่ายเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม วันเวลาทำงานและการลาหยุดราชการ เครื่องแบบและการแต่งเครื่องแบบ รวมทั้งบำเหน็จบำนาญของข้าราชการพลเรือน (ร่างมาตรา 35 ถึงมาตรา 41)
1.10 กำหนดให้การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญให้คำนึงถึงระบบคุณธรรม โดยกำหนดให้การรับบุคคลเข้ารับราชการต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค และเป็นธรรม การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน การพิจารณาความดีความชอบและการให้ประโยชน์อื่นต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม การดำเนินการทางวินัยต้องเป็นไปโดยยุติธรรมและปราศจากอคติ และการบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง (ร่างมาตรา 42)
1.11 กำหนดตำแหน่งและระดับข้าราชการพลเรือนสามัญดังนี้
(1) ตำแหน่งประเภทบริหาร แบ่งออกเป็นระดับต้นและระดับสูง
(2) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ แบ่งออกเป็นระดับต้น และระดับสูง
(3) ตำแหน่งประเภทวิชาการ แบ่งออกเป็นระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ตำแหน่งประเภททั่วไป แบ่งออกเป็นระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ
ทั้งนี้ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. (ร่างมาตรา 44 และมาตรา 45)
1.12 กำหนดให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใดจำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ปลัดกระทรวงหรืออธิบดีกำหนด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งซึ่ง ก.พ.เป็นผู้จัดทำ โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน และในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย (ร่างมาตรา 46 และมาตรา 47)
1.13 กำหนดหลักเกณฑ์การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (ร่างมาตรา 51 ถึงมาตรา 69)
1.14 กำหนดหลักเกณฑ์การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ (ร่างมาตรา 70 ถึงมาตรา 75)
1.15 กำหนดจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนสามัญ และหากข้าราชการผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา (ร่างมาตรา 76 และมาตรา 77)
1.16 กำหนดให้มีวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญ หากข้าราชการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อห้าม ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย และกำหนดลักษณะของการกระทำผิดวินัยที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง รวมทั้งกำหนดโทษทางวินัย (ร่างมาตรา 78 ถึงมาตรา 87)
1.17 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการทางวินัย (ร่างมาตรา 88 ถึงมาตรา 104)
1.18 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ (ร่างมาตรา 105 ถึงมาตรา 111)
1.19 กำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ในกรณีข้าราชการถูกสั่งลงโทษตามมาตรา 108 (1) (3) (5) — (8) (ร่างมาตรา 112 ถึงมาตรา 119)
1.20 กำหนดให้มีหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตนต่อของผู้บังคับบัญชา (ร่างมาตรา 120 ถึงมาตรา 123)
1.21 กำหนดให้มีการคุ้มครองระบบคุณธรรม โดยหาก ก.พ.ค.เห็นว่ากฎ ระเบียบ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรม ให้แจ้งให้หน่วยงานผู้ออกกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งทราบเพื่อแก้ไขหรือยกเลิก (ร่างมาตรา 124)
1.22 กำหนดหลักเกณฑ์การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ และการออกจากราชการของข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ (ร่างมาตรา 125 ถึงมาตรา 127)
1.23 กำหนดให้การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (ร่างมาตรา 128)
1.24 กำหนดให้มีบทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา 129 ถึงมาตรา 139)
2. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ยกเลิกการกำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่กำหนดไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้ (แก้ไขร่างมาตรา 11 และมาตรา 12 (ร่างมาตรา 3 และมาตรา 4))
2.2 ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 5)
3. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 กำหนดให้การพ้นจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสหรือระดับทักษะพิเศษ ให้เป็นไปตามมาตรา 19 สัตต (เพิ่มเติมวรรคเจ็ดของมาตรา 19 (ร่างมาตรา 3))
3.2 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสหรือระดับทักษะพิเศษอาจให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินห้าปี (เพิ่มเติมมาตรา 19 สัตต และแก้ไขมาตรา 21 (ร่างมาตรา 4 และมาตรา 5))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มิถุนายน 2550--จบ--