คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานที่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาหลักการโดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีผลทำให้บุคคลมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผู้ทำให้เกิดภาวะอันตรายต่อสังคม ส่วนผู้ป่วยจิตเวชอีกจำนวนหนึ่งเร่ร่อน ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ทำให้กลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังเป็นภาระกับสังคม และอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งตัวผู้ป่วยและคนในสังคมประกอบกับกฎหมายที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อผู้ป่วยจิตเวช ตำรวจ แพทย์ ตลอดจนวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำผู้ป่วยจิตเวชเข้าบำบัดรักษา
รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ ก็กระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายอาญาหลายมาตราและยังไม่นำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดบริการที่ดีแก่ผู้จำเป็นที่จะต้องได้รับการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต คุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีภาวะอันตรายทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและคนในสังคม ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่ปฏิเสธการรักษา รวมทั้งผู้ป่วยจิตเวชที่ทำผิดกฎหมาย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพจิตโดยให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษา อนุกรรมการได้ และกำหนดองค์ประชุม อำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง (ร่างมาตรา 5 ถึงร่างมาตรา 12)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการเขต คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาโดยให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษา อนุกรรมการได้ และกำหนดองค์ประชุม อำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง (ร่างมาตรา 13 ถึง ร่างมาตรา 18)
3. กำหนดสิทธิของผู้ป่วย (ร่างมาตรา 19)
4. กำหนดการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตของผู้ป่วยจิตเวช (ร่างมาตรา 25 ถึงร่างมาตรา 38)
5. กำหนดการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตของผู้ป่วยคดี (ร่างมาตรา 39 ถึงร่างมาตรา 45)
6. กำหนดการอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา (ร่างมาตรา 48)
7. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 49 ถึงร่างมาตรา 52)
8. กำหนดบทลงโทษ (ร่างมาตรา 53 และร่างมาตรา 54)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีผลทำให้บุคคลมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผู้ทำให้เกิดภาวะอันตรายต่อสังคม ส่วนผู้ป่วยจิตเวชอีกจำนวนหนึ่งเร่ร่อน ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ทำให้กลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังเป็นภาระกับสังคม และอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งตัวผู้ป่วยและคนในสังคมประกอบกับกฎหมายที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อผู้ป่วยจิตเวช ตำรวจ แพทย์ ตลอดจนวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำผู้ป่วยจิตเวชเข้าบำบัดรักษา
รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ ก็กระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายอาญาหลายมาตราและยังไม่นำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดบริการที่ดีแก่ผู้จำเป็นที่จะต้องได้รับการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต คุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีภาวะอันตรายทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและคนในสังคม ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่ปฏิเสธการรักษา รวมทั้งผู้ป่วยจิตเวชที่ทำผิดกฎหมาย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพจิตโดยให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษา อนุกรรมการได้ และกำหนดองค์ประชุม อำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง (ร่างมาตรา 5 ถึงร่างมาตรา 12)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการเขต คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาโดยให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษา อนุกรรมการได้ และกำหนดองค์ประชุม อำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง (ร่างมาตรา 13 ถึง ร่างมาตรา 18)
3. กำหนดสิทธิของผู้ป่วย (ร่างมาตรา 19)
4. กำหนดการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตของผู้ป่วยจิตเวช (ร่างมาตรา 25 ถึงร่างมาตรา 38)
5. กำหนดการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตของผู้ป่วยคดี (ร่างมาตรา 39 ถึงร่างมาตรา 45)
6. กำหนดการอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา (ร่างมาตรา 48)
7. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 49 ถึงร่างมาตรา 52)
8. กำหนดบทลงโทษ (ร่างมาตรา 53 และร่างมาตรา 54)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--